ข้าพเจ้านางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านบริหารชนบทตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่า ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้การทำมาค้าขายลำบาก จึงส่งผลให้ชาวบ้านไม่มีรายรับในการเลี้ยงชีพคนในครอบครัว มีภาระหนี้สิน ผู้นำชุมชนมีมาตรการในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเข้มงวด มีการตั้งด่านสกัดตรวจสอบการเข้า-ออกชุมชนอย่างจริงจัง มีการจัดอาสาสมัครสาธารณสุขลงพื้นที่ตรวจสุขอนามัยของสมาชิกทุกคนในหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้พยายามจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้านเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยเน้นการปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดอย่างเคร่งครัด

ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ในโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์: ข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำให้กับชาวบ้านได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

-เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านบริหารชนบทเพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 คน ได้แก่

1.นางอุทัย ทองทา บ้านบริหารชนบท หมู่ที่ 6

2.นางสังวาล คุชิตา บ้านบริหารชนบท หมู่ที่ 6

3.นางกัณหา กุตาวัน บ้านบริหารชนบท หมู่ที่ 6

กลุ่มจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้เข้ารับการอบรม เรื่อง แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์: ข้าวหมากและข้าวแต๋น ณ เทศบาลตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 29-30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์

2.การฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์: ข้าวหมากและข้าวแต๋น ดังนี้

วิธีการทำข้าวหมาก

ส่วนผสมการทำข้าวหมาก

​          1.ข้าวสุก 3 ขีด
​          2.​​​แป้งข้าวหมาก 1 ลูก
​​      ​    3.ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว 3 ขีด

วิธีการทำข้าวหมาก

1.นำข้าวเหนียวนึ่งสุกไปแช่น้ำ ใช้มือประกบแบบประนมมือถูเบา ๆ เพื่อล้างยางข้าวออก ล้างหลาย ๆ น้ำจนหมดยางเป็นใช้ได้

2.​เมื่อล้างเสร็จแล้วเทใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำหรือใช้ผ้าขาวบางปูแล้วแบข้าวออกผึ่งพัดลมให้หมาดก็ได้

3.​บี้ลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียดเพื่อที่จะนำไปคลุกข้าวเหนียวที่ล้างแล้ว

4.​เทข้าวที่ล้างแล้วใส่กะละมัง หรือถ้วยที่ใหญ่พอที่สามารถคลุกเคล้าข้าวกับแป้งเชื้อ

5.​นำใส่กล่อง หรือภาชนะที่ปิดฝาได้

6.ทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นเก็บเข้าตู้เย็นเพื่อหยุดการทำงานของเชื้อ รอแช่ให้เย็นค่อยตักออกมาชิม

ประโยชน์ของข้าวหมาก

1.กระตุ้นให้มีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ

2.ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานเป็นปกติ ทำให้การดูดซึมวิตามินและอาหารได้ดีขึ้นทำให้ มีผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้น

3.ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค กระตุ้น การผลิตเอนไซม์แลคเตสซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการ ท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมดีขึ้น

4.รักษาแผลในลำไส้จากการอักเสบเรื้อรัง

วิธีการทำข้าวแต๋น

ส่วนผสมข้าวแต๋น

1.น้ำแตงโมคั้น 200 มิลลิลิตร

2.น้ำตาลทราย 40 กรัม

3.เกลือป่น 3/4 ช้อนชา

4.ข้าวเหนียว (นึ่งแล้ว) 1 กิโลกรัม

5.กะทิ 50 มิลลิลิตร (หรือจะแทนด้วยน้ำแตงโมทั้งหมดก็ได้ค่ะ)

6.งาดำ

ส่วนผสมน้ำตาลราดข้าวแต๋น

1.น้ำตาลมะพร้าว 400 กรัม

2.น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม (ถ้าไม่อยากให้น้ำตาลสีเข้ม ใช้น้ำตาลมะพร้าวก็ได้ค่ะ ป้าทำสีเข้มเพราะเวลาถ่ายรูปสีจะได้จัดเข้ากับขนมจ้า)

3.เกลือป่น 1/2 ช้อนชา

4.น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม

1.ทำแผ่นข้าวแต๋นโดยผสมเกลือกับน้ำตาลทรายลงไปในน้ำแตงโม คนผสมจนละลาย

2.เทน้ำแตงโมลงไปในชามข้าวเหนียว คลุกเคล้าให้ทั่ว ใส่กะทิลงไป พักให้ข้าวดูดน้ำประมาณ 2-3 นาที จากนั้นใส่งาดำลงไป

3.นำพิมพ์จุ่มน้ำค่ะ ตักข้าวเหนียวใส่ลงไป กดให้เสมอกัน ไม่ต้องกดแน่นมากนะคะ แค่พอจับตัวกันไม่หลุดค่ะ จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 1 วัน

4.พอแห้งดีแล้วนำไปทอดด้วยไฟแรงจ้า พอข้าวแต๋นพองสุกเหลืองแล้วรีบตักขึ้นเลยค่ะ พักให้สะเด็ดน้ำมัน

5.ทำน้ำตาลราดโดยใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไปในหม้อ ตามด้วยน้ำตาลทรายแดงกับเกลือป่น เติมน้ำลงไปเล็กน้อย ต้มด้วยไฟอ่อนจนน้ำตาลละลาย

6.ตักน้ำตาลราดบนขนม พักจนน้ำตาลเซตตัว

ประโยชน์ของข้าวแต๋น

1.ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง

2.ช่วยบำรุงเลือดลม ช่วยขับลมในร่างกาย

3.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนกระจ่างใสขึ้น

4.ให้พลังงานสูงช่วยให้อิ่มท้อง ไม่หิวง่าย

ข้าพเจ้าได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบลโดยรับผิดชอบบ้านบริหารชนบท มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

1.สำนักสงฆ์บ้านบริหารชนบท เป็นที่อยู่ของพระภิกษุและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

2.เสาหลักกลางบ้านบริหารชนบท เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพบูชาประจำปี

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ยังไม่ดีขึ้นจึงทำให้การฝึกอบรมอาชีพเป็นไปได้ค่อนข้างลำบาก ชาวบ้านจึงหวาดระแวงและลังเลในการที่จะให้ความร่วมมือในการเข้ารับการฝึกอบรม จึงได้แก้ไขปัญหาโดยการแบ่งการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่ม เพื่อที่จะไม่ให้จำนวนคนมากเกินไปตามมาตรการป้องกันของรัฐบาล

การฝึกอบรมในครั้งนี้ ดิฉันหวังว่าเป็นการสร้างอาชีพให้กับชุมชนในระยะยาว เพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด

ภาพประกอบ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู