โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน ธันวาคม 2564
นายรุจิรงค์ เรืองคง
ข้าพเจ้านายรุจิรงค์ เรืองคง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ (HS08) รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ในการลงพื้นที่ติดตามผลการทำข้าวหมากของชุมชุนบ้านบุแปบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นให้แก่ชุมชน สร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน
กิจกรรมประชุมออนไลน์และออนไซต์
ประชุมออนไลน์ 20/11/2564
1.เพิ่มเติมในหัวข้อปัญหาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น
-รสชาติยังไม่มีความหลากหลาย จึงต้องทดลองทำให้มีรสชาติที่หลากหลายขึ้น โดยการทำน้ำราดบนหน้าข้าวแต๋น เช่น ใส่ผงปาปิก้า เป็นต้น
-ชาวบ้านปั้นข้าวแต๋นในตัวแม่พิมพ์แน่นเกินไป จึงทำให้เวลาทอดเนื้อตรงกลางไม่กรอบฟู
-บางชุมชนยังไม่มีการจดบันทึกรายรับ – รายจ่ายที่ชัดเจน
-บางชุมชนไม่มีเวลารวมกลุ่มอย่างเต็มที่
-บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบันยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีความชื้นจากอากาศเข้าไป ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมีความกรอบน้อยลง
-ปัญหาการใช้น้ำมันในการทอดข้าวแต๋นยังมีความเหม็นหืนอยู่เล็กน้อย
2.นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น คือการแปรรูปจากข้าวอินทรีย์เป็นขนมทานเล่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์ และเกิดการสร้างกลุ่มและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนเกิด
ประชุมออนไลน์ 21/11/64 เรื่องที่ 1 กำหนดการเคลียร์งานให้เสร็จภายในวันที่ 9/12/640จากกำหนดการเดิมคือวันที่ 13/12/64 เนื่องมาจากสัปดาห์นั้นจะเป็นวันหยุดยาว เรื่องที่ 2 การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น ให้แล้วเสร็จภายใน 9/12/64 เรื่องที่ 3 การจัดทำเล่มรายงานโครงการ ภายใน 9/12/64 (และจะมีการแบ่งหน้าที่กันดำเนินงานต่อไป) เรื่องที่ 4 การจัดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้า และจำหน่ายงาน BRICC festival ในวันที่13 ,14 ,15/12/64 เรื่องที่ 5 การลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะชุมชนต้นแบบผลิตภัณฑ์ในวันที่ 5 ธ.ค. 64 ให้จัดเตรียมสถานที่และความพร้อมสำหรับกิจกรรมข้าวหมากข้าวแต๋น จุดสำคัญ วันที่ 5 ช่วงเช้าจะมีการตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำ
ประชุมออนไลน์ 23/11/64 เรื่องที่m1 สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน – แบ่งบทกันทำ โดยให้ผู้ปฏิบัติงานเดิม ทำบทที่2 ในแต่ละบทใส่ภาพประกอบ บทที่ 3 ส่งเสริมการตลาด ให้เอาหน้าเพจลง พร้อมรีวิวการขายได้ของแต่ละชุมชน บทที่ 4 การประเมินผล กระแสตอบรับของข้าวหมากว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์หรือไม่ ความสม่ำเสมอในการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ แบ่งทีมงานเดิมเป็น 3 กลุ่ม บทที่ 2,3,4 ส่วนบทที่ 5 อาจารย์จะเป็นผู้สรุป เรื่องที่ 2 การทำหลักสูตรระยะสั้น ให้ทีมผู้ปฏิบัติงานใหม่ทำตามแบบฟอร์ม ต้องมีวิดีโอแสดงวิธีทำประกอบด้วย กำหนดการณ์ให้เสร็จภายในวันที่ 9/11/64
ประชุมออนไลน์ 29/11/64 เรื่องข้อมูล TSI ให้เสร็จภายในวันที่5/12/64 การทำกิจกรรมวันที่5/12/64 มีกิจกรรมการตรวจเยี่ยมผลิตภัณฑ์ในโครงการ คือ วิทยากรจะเข้าให้คำแนะนำและตรวจเยี่ยมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้งข้าวหมากและข้าวแต๋น ให้ทางชุมชนเตรียมผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น ที่ทำเสร็จแล้วไว้โชว์สีสัน และแพคเกจจิ้ง ที่ทางชุมชนพัฒนาแล้วมานำเสนอ จัดกิจกรรมที่บ้านแม่สำรวย ณ บ้านหนองตาด ตำบลทะเมนชัย โดยให้มีผลิตภัณฑ์ทั้งข้าวหมากและข้าวแต๋น และกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี บ้านหนองตาด ตำบลทะเมนชัย การทำกิจกรรม เช่น การทำความสะอาด,เก็บขยะในชุมชน,การพัฒนาแหล่งน้ำ,หรือกิจกรรมดีดีที่จะลงไปช่วยชุมชนได้,หรือจะแจกสเปรย์กันยุง สบู่ล้างมือแจกชาวบ้าน
ประชุมออนไซต์ 5/12/2564 เรื่อง การแบ่งงานทำกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 โดยมีกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมปลูกต้นไม้สร้างความสวยงามให้วัด และล้างห้องน้ำ เรื่องแนวทางการเขียนบทความประจำเดือนธันวาคม
กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำโดยวิทยากร (ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น) เป็นกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำผลิตภัณฑ์ ข้าวหมากและข้าวแต๋น ที่ได้ดำเนินการจัดทำตลอดโครงการที่ผ่านมา โดยวิทยากรได้แก่ อาจารย์จิรายุ มุสิกา และอาจารย์ธนวรรณ มุสิกา วิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ให้คำแนะนำดังนี้
ข้าวแต๋น บ้านน้อยพัฒนา
เพิ่มสีใช้สีธรรมชาติร่วมกับสีผสมอาหาร ใช้สีจากธรรมชาติ+ใช้สีผสมอาหาร เพิ่มสีให้ได้หลายสี ทำหน้าหมูหย็องพริกเผา เพิ่มความหลากหลาย เช่น ช้อกโกแลตโรยหน้า โกโก้ผสมน้ำตาล อาจจะมีการจะต่อยอดโครงการไวน์โกโก้
สอบถามถึงยอดขาย
– แนะนำช่องทางการขาย เพิ่มข่องทางการตลาด ทำหน้าแปลกๆขึ้นเพจ เทคนิคการทอดโอเคแล้ว ต้องเพิ่มส่วนของรสชาติที่หลากหลาย
– ออกแบบโลโก้ให้ชัดเจน (มีคิวอาโค้ด สตอรี่ของที่มาของข้าวแต่น)
– เพิ่มมูลค่าถ้ามีสตอรี่
– ข้าวจิ๊บ ไปหาข้อมูลมา มีสารต้านอนุมูลอิสระ มะลิดำ
– ใบรับรองสินค้า เมือ่วางจำหน่าง มีใบรับรองข้าวอินทรีย์ปลอดสาร จะได้เพิ่มมูลค่า
– แนะนำให้ไปยื่นทะเบียนขอรัฐวิสาหกิจ ก่อนอื่นต้องมีโรงเรือน
– แนะนำเอากัญชาผสมกับข้าวแต๋นน้ำแตงโม
– โนริสาหร่าย
ข้าวหมาก หนองตาด
– จดวิสาหกิจ จะขอ อย.ได้ (ทำโรงเรือนก่อน)
– การทำไอศกรีม น้ำดื่ม ต้องพาสเจอไรซ์ก่อน
– เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ทำไปพาสเจอไรซ์ อุณหภูมิต่ำ ลองศึกษาสูตรของไอศกรีมข้าวหมาก เพิ่มนมเข้าไป เช่น น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง จะมีสารเพิ่มความคงตัว หาซื้อได้ในอินเตอร์เน็ต ต้องมีเครื่องทำไอศกรีม
– มีการแนะนำการทำบัญชีครัวเรือน แนะนำให้จดลงระบบคอมพิวเตอร์
– แนะนำทำแอปพลิเคชั่น ทำกลุ่มเกษตรขายผลิตภัณฑ์
– สอบถามถึงปัญหา
– แป้งข้าวหมากเปรี้ยว เชื้อรา จะค้นหาสูตรวิธีทำแป้งให้
– หน้าหนาวเป็นยากกว่าหน้าร้อน แนะนำหมีกใส่ถังโฟมแลัเอาผ้าชุบน้ำอุ่นๆปกไว้ จำลองสภาพอากาศ อุ่นๆไม่มีแสง อุณหภูมิต้องอุ่น
– ดูแพคเกจจิ้ง วิเคราะห์ผลต่อได้
– ทำตลาดหลายๆระดับ
– มีการชิมข้าวหมาก
– รสชาติดี
– ต่อยอดแพคเกจจิ้ง บรรจุภัณฑ์แบบ”ไม้ไผ่” ทำเป็นของฝาก
กิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ลงพื้นที่ ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อถวายแด่ในหลวงในรัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินมหาภูมิพลอดุลยเดช) กิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อปฏิบัติงานดังนี้ กลุ่มที่1 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการปลูกต้นไม้บริเวณสวนย่อมของศาลาวัดจากนั้นได้ทำความสะอาดรอบวัด กลุ่มที่2 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ความสะอาดห้องน้ำทุกห้องของวัดจากนั้นได้ทำความสะอาดรอบวัด กิจกรรมในครั้งนี้ได้ผ่านไปด้วยดี โดยได้รับงบสนับสนุนค่าต้นไม้และค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องน้ำจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมจัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ U2T) กิจกรรมการจัดทำรายงานการดำเนินงาน โครงการในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานที่แบ่งกลุ่มกันไว้ได้รับผิดชอบบทที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในครั้งนี้ ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย ร่วมกันระดมความคิดวิเคราะห์ศักยภาพของตำบลทะเมนชัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) พบว่าตำบลทะเมนชัย มีจุดแข็ง จุดอ่อน รวมทั้งโอกาสและอุปสรรค ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ดังนี้
จุดแข็ง (Strength)
1) มีกลุ่มทุน (กองทุนหมู่บ้าน) ที่เข้มแข็งเป็นแหล่งทุนให้กับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ในชุมชนได้
2) มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
3) ประชาชนมีความรักและสามัคคีร่วมใจกัน
4) มีวัดประจำหมู่บ้านและเป็นศูนย์กลางของชุมชน
5) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยและมัน เลี้ยงสัตว์
6) ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
7) ภูมิปัญญาชุมชน แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี
ท้องถิ่น งานฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ หัตถกรรม จักสาน ทอผ้า
จุดอ่อน (Weakness)
1) เยาวชนคนรุ่นใหม่ยังไม่เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับชุมชนเท่าที่ควร
2) ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม 3) ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง
4) ขาดสถานศึกษาระดับฝึกอาชีพ ขาดแหล่งงานรองรับแรงงานว่างงานนอกฤดูกาล
5) การส่งเสริมการฝึกอาชีพไม่ต่อเนื่อง
6) ขาดความรู้ในด้านทำการตลาดออนไลน์ (marketing online)
โอกาส (Opportunity)
1) นโยบายรัฐให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
2) โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ของรัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3) สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน
4) สร้างชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่
5) มีแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ และป่าของชุมชน
6) มีโครงการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจรายตำบล (U2T) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้ชุมชนสร้างอาชีพมีรายได้เสริม
7) มีแหล่งขายสินค้าทางการเกษตรอยู่ในพื้นที่
อุปสรรค (Threat)
1) ภาคีการพัฒนาที่เข้าไปในพื้นที่หมู่บ้าน ขาดการเชื่อมประสานหรือบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน
2) การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง
3) ราคาพืชผลและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ 4) มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ดินเค็ม น้ำท่วม ภัยแล้ง ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ
5) ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย ภัยแล้ง อากาศร้อน ทำให้ผลผลิตได้น้อย
6) เกิดโรคระบาด (COVID-19)
7) ประชาชนมีพื้นฐานความรู้และพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน
8) ชาวบ้านในชุมชนยังขาดความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้รับมอบหมาย ให้เข้าไปไปถ่ายคลิปวีดีโอ เพื่อจัดทำวิดีโอประกอบการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ณ บ้านน้อยพัฒนา ม.16 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เนื่องจากบ้านน้อยพัฒนามีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง จึงยกให้เป็นชุมชนต้นแบบของการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่ เพื่อศึกษาวิธีการทำข้าวแต๋นสูตรน้ำแตงโม จากสมาชิกกลุ่มชุนชนบ้านน้อยพัฒนา ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้จากวิยากรในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
สูตรข้าวแต๋นน้ำแตงโม สำหรับข้าว 1 กิโลกรัม
1.น้ำแตงโม 400 มิลลิตร
2.ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
3.น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
4.น้ำมัน
5.งา
6.เกลือ 1 ช้อนชา
7.น้ำปูนใส 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.แช่ข้าวเหนียวในน้ำเปล่าประมาณ 1คืน แล้วนำข้าวมานึ่ง
2.นึ่งข้าวเสดแล้วพึ่งไว้ให้ข้าวคลายร้อน แล้วนำส่วนผสมมาคลุกกับข้าวเหนียวแล้วทิ้งให้ข้าวเหนียวซึมซับส่วนผสม
3.เมื่อเสดแล้วนำข้าวเหนียวมาใส่พิมพ์แล้วนำไปพึ่งแดด ประมาณ 2-3 วันให้ข้าวแห้งสนิท
4.เมื่อข้าวแห้งสนิทนำมาทอดในน้ำมันที่ร้อน (ก่อนนำข้าวแต๋นมาทอดให้นำใบเตยมาทอดในน้ำมันก่อนเพื่อทำให้น้ำมันมีกลิ่นหอม และเวลาทอดข้าวแต๋นให้คนน้ำมันกระทะบ่อยๆ เพื่อกระจายความร้อนในกระทะ)
น้ำราดข้าวแต๋น
1.น้ำตาลมะพร้าว
2.งา
3.น้ำเปล่า
วิธีทำ
1.นำน้ำตาลมะพร้าวละลายในหม้อด้วยไฟอ่อน เติมน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อลดความหนืดของน้ำตาล ต้มจนเดือนให้มีฟองขนาดใหญ่ต้มจนน้ำตาลมีฟองขนาดเล็ก รอให้น้ำตาลคลายร้อนจัด นำมาราดข้าวแต๋นและรอยงา
ปัจจุบันบ้านน้อยพัฒนามีราดน้ำข้าวแต๋น 2 รสชาติ ได้แก่ รสน้ำตาลและรสพริกเผา
ปัญหาการพัฒนา ด้านการบรรจุภัณฑ์ช่วงแรกใช้ยางรัดถุงข้าวแต๋น ทำให้ระยะเวลาในการจัดเก็บเก็บไว้ได้ไม่นาน
กิจกรรมจัดทำสรุป TSI เป็นอินโฟกราฟิกรายงานมหาวิทยาลัย ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย 17 หมู่บ้าน 2,477 หลังคาเรือน เขตการปกครองมี 2 เขต ได้แก่เทศบาลตำบล 7 หมู่บ้าน อบต. 10 หมู่บ้าน สภาพภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่มและโล่งกว้างเหมาะแก่การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมเจดีย์คู่เมือง ศาลเจ้าพ่อลือเลื่อง คันคู่เมืองโบราณ ถิ่นฐานวัฒนธรรม
โจทย์การพัฒนาพื้นที่ การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เสริม การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะข้าวอินทรีย์ และการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยังยืน
กิจกรรมพัฒนาพื้นที่ การส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ข้าวหมากและข้าวแต๋น การจัดการสิ่งแวดล้อมการทำเกษตรปลอดสาร การสร้างเครือข่ายเรียนรู้จัดทำคู่มือการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์การจัดการท่องเที่ยวจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เชื่อมโยงสถานที่สำคัญในชุมชน
ผลลัพธ์ เกิดการจ้างงานชาวบ้านในชุมชน มีอาชีพมีรายได้หลังจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตรโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น การพัฒนาทักษะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ การออกแบบสีสันและบรรจุภัณฑ์ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การอบรมทักษะด้านการตลาดออนไลน์เกิด การจะทำข้อมูลขนาดใหญ่ Community big data ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
เชิงเศรษฐกิจทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ภายในชุมชนจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์รายได้ที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มผลผลิต
เชิงสังคม มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบูรณาการกับการผลิตชาวบ้านสามารถใช้เวลาว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมได้ ทำให้ชาวบ้านเกิดความสามัคคีช่วยเหลือแบ่งปันพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองได้ ชุมชนและลูกค้าผู้บริโภคเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์จากข้าว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เกิดแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนที่เป็นต้นแบบได้จำนวน 4 ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนในชุมชน
กิจกรรมการทำตลาดออนไลน์ช่วยชุมชน ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันสร้างเพจเฟสบุ๊คของตำบลและเพจเฟสบุ๊คของแต่ละชุมชนเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์”ของดีตำบลทะเมนชัย”และเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีเพจหลักชื่อ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย ทำให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตำบลทะเมนชัย มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ผ้าไหม งานจักสาน และผลผลิตทางการเกษตร และผลผลิตทางภูมิปัญญาของชุมชน เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่พอใจอย่างมาก เนื่องจากมีการสั่งซื้อสินค้าได้จริงผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งยังสามารถจัดส่งสินค้าได้ทั่วประเทศโดยผ่านระบบขนส่งของเอกชน
วิดิโอประกอบ