การลงพื้นที่ปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการแปรรูผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ข้าวหมาก บ้านหนองหญ้าปล้องตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน กรกฎาคม 2564
ข้าพเจ้า นางสาวรุ่งอรุณ ศรีสวัสดิ์ ประเภท ประชาชน ตำบลทะเมนชัยหลักสูตร: ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ดิฉันและทีมงานพร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดอบรมการทำสเปรย์แอลกอฮอล์ เพิ่มเติมหลักสูตร เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ชาวบ้านจากการนำพืชสมุนไพรมาทำ สเปรย์และเจลกันยุง
ดิฉันและทีมงานได้เข้าฝึกอบรมเสริมทักษะอาชีพในชุมชนในเดือนที่ผ่านมา ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 5 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จากการฝึกอบรมการทำข้าวหมากโดยตัวแทนของชุมชน โดยตัวแทนชุมชนได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับชุมชน และได้ฝึกการทำข้าวหมากและใช้วัสดุจากใบตองกล้วยมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ จนมีความเข้าใจและมี ความชำนาญในการทำข้าวหมาก
ต่อมาได้มีการปรับปรุงรสชาติให้มีความหวานที่ไม่ผิดเพี้ยน และเพิ่มสีสันจากธรรมชาติ เช่น การนำใบเตยและ ดอกอัญชัญมาทำสีข้าวหมาก นอกจากนี้ยังมีการนำข้าวเหนียวดำที่มีความหอมมาทดลองทำข้าวหมาก จนสามารถนำข้าวหมากมาจำหน่ายขายได้จริงในชุมชน นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากใบตองกล้วยมาเป็นกระปุกพลาสติกใส เพื่อลดการแตกของใบตอง ได้ง่ายต่อการจำหน่าย
ในการปฏิบัติงานของทีมงานและตัวแทนของชุมได้มีปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ค่ะ
– ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม: เนื่องจากช่วงนี้มีโรคโควิด19 ระบาดทำให้การดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นไปค่อนข้างยากในการรวมกลุ่มใหญ่ จึงมีการส่งตัวแทนกลุ่มเข้ามารับการอบรม
แนวทางแก้ปัญหา : คือ การตรวจวัดไข้และการสแกนไข้ก่อนเข้าร่วมอบรม
– ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม ในการจัดกิจกรรมอบรอมให้ความรู้อาจใช้เวลาที่รวบรัดและใช้เวลาไม่นาน จึงทำให้ชาวบ้านได้รับความรู้ไม่เต็มที่เท่าไหร่ เพราะมีการจำกัดเวลา
แนวทางแก้ปัญหา : โดยมีการจัดให้ตัวแทนที่ได้รับการอบรม ทดลองทำและปฏิบัติจริง
– ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม ในการทดลองทำข้าวหมากแรกๆ จะเห็นว่าข้าวหมากนั้นมีรสชาติเพี้ยนไม่คงที่ และที่ไม่ค่อยหวาน
แนวทางแก้ปัญหา : คือมีการปรับปรุงสูตรการทำข้าวหมากจนได้รสชาติที่หวานคงที่
จากปัญหาที่พบและได้มีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแล้ว ทางดิฉันจึงเสนอการพัฒนากลุ่มในชุมชนโดยให้ตัวแทนที่ได้รับความรู้เป็นจุดศูนย์กลางในการให้ความรู้ของชาวบ้านในชุมชนเพื่อขยายเครือข่าย และจัดตั้งชาวบ้านในชุมชนที่มีความรู้ในการนำนวัฒกรรมทางเทคโนโลยี มาช่วยเป็นแนวทางในยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก