1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS08การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)เดือนกรกฎาคม2564ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

HS08การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)เดือนกรกฎาคม2564ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานในโครงการ (เดือนกรกฎาคม)

การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

(HS08)

นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

              ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์ ”ข้าวหมากและข้าวแต๋น” พบว่า กลุ่มตัวแทนจิตอาสา มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝึกฝน ทักษะ และกระบวนการทำข้าวหมากและข้าวแต๋นอย่างดีมาก มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทดลองทำ การคิดค้นหาสูตรใหม่ๆ การปรับปรุงรสชาติและสีสันของผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ใส่ผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย มีรวมกลุ่มกันทำเองที่บ้านของตัวแทนจิตอาสา ช่วยกันคิดค้นวิธีที่จะแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์รสชาติไม่เป็นไปตามที่ต้องการ การแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้คอยติดตามและให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ให้การจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนวัตถุดิบในการจัดทำ และช่วยหาช่องทางการจำหน่ายเพื่อเพิ่มยอดขาย การสร้างเพจออนไลน์ และอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลการสร้างเว็บไซต์สำหรับขยายเครือข่ายองค์ความรู้

ภาพประกอบ :

 

ได้สืบค้นข้อมูลและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดังต่อไปนี้

  1. บรรจุภัณฑ์ข้าวหมาก เป็นการใช้ถ้วยใส่เซฟตี้มีฝาปิดมิดชิด  เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรักษาและการขนส่งในพื้นที่ต่างจังหวัด แต่ในการจัดจำหน่ายตามพื้นที่ในชุมชนยังมีการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใบตองกล้วย เพื่อเป็นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และช่วยลดต้นทุนในการผลิต
  2. บรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋น ใช้เป็นถุงซิปล๊อก เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานและการเก็บไว้รับประทานในครั้งต่อๆไปได้

ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการติดตามผลการอบรม บ้านหนองตาด หมู่ที่3 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น”ชุมชนต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก” ตัวแทนจิตอาสาบ้านหนองตาด มีความรู้และทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างดีมาก จนสามารถเป็นวิทยากรจิตอาสาถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะและกระบวนการ ให้กับคนในชุมชนอื่นๆได้  มีการปรับปรุงและพัฒนาสูตร รสชาติ สีสัน ของข้าวหมากอยู่เสมอ และได้มีการจัดจำหน่ายนอกเขตพื้นที่ไปแล้ว เช่น ในพื้นที่ต่างจังหวัดและจังหวัดที่ใกล้เคียงก็ยังมีการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ มียอดขายเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ และกลุ่มตัวแทนยังมีการจัดทำ”บัญชีรายรับ-รายจ่าย” เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลตอบรับที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก และในอนาคตจะมีการขยายตลาดให้มากขึ้น และจะมีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ปรับปรุงพัฒนาสีสัน รสชาติที่โดดเด่นและมีความแปลกใหม่ และมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น

ภาพประกอบ :

 

ข้าพเจ้าได้คิดและออกแบบรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการพัฒนาและต่อยอด เพิ่มยอดขายให้กับ”ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก”ของบ้านหนองตาด หมู่ที่3 ดังต่อไปนี้

1.บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกเซฟตี้ : ใช้เป็นถ้วยเซฟตี้ เพื่อความแน่นหนาของตัวบรรจุภัณฑ์ ป้องกันการการเด้งหรือดีดออกของฝาบรรจุภัณฑ์เมื่อเกิดแก๊สในผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ป้องกันน้ำข้าวหมากรั่วไหลในระหว่างการขนส่ง(เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บรักษาและการขนส่งในพื้นที่ต่างจังหวัด)

ภาพประกอบ :

ภาพจาก : http://www.kccfood.com/product/998/rw1659

รูปแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก

  • ต้องมีรูปภาพข้าวหมากภาพสีสวยๆ ใช้กระดาษเงา (เป็นสติ้กเกอร์)
  • มีชื่อของผลิตภัณฑ์ชัดเจน
  • มีช่องทางการติดต่อชัดเจน(เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเพจ เฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม)
  • มีวันเดือนปีที่ผลิตชัดเจน

2. บรรจุภัณฑ์แบบชะลอมไม้ไผ่ สำหรับเป็นของฝาก : นำข้าวหมากตวงใส่ถ้วยเซฟตี้ โดยน้ำหนัก เท่าๆ กัน ประมาณ1-2ขีดทุกถ้วย แปะโลโก้ให้เรียบร้อย แล้วแพคใส่ถุงซิปล็อค เรียงกันให้เป็นระเบียบสวยงาม และนำแพคใส่ชะลอมไม้ไผ่

ภาพประกอบ :

ภาพจาก : https://www.eef.or.th/communities/ontheway-42/

ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์

  • ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม

ชาวบ้านในบางชุมชนยังไม่ให้ความร่วมมือในการรวมกลุ่ม เนื่องจากชาวบ้านยังไม่มีความเชื่อมั่นในโครงการและยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

  • แนวทางแก้ไข

สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านโดยการลงพื้นที่สำรวจความต้องการการพัฒนาของคนในชุมชนโดยการทำแบบสำรวจสอบถามความต้องการเป็นรายบุคคล และนำมาสังเคราะห์ข้อมูลรวมกันกับทางทีมผู้ปฏิบัติงาน จัดกิจกรรมการอบรมโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการ และจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนค่าวัตถุดิบ

  • ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม

เนื่องจากเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคcovid-19 จึงทำให้มีอุปสรรคต่อการลงพื้นที่จัดกิจกรรมการอบรมชาวบ้านไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ในบางกิจกรรม

  • แนวทางแก้ไข

จัดสรรงบประมาณ ค่าวัตถุดิบในการฝึกอบรมให้กับกลุ่มตัวแทนของแต่ละชุมชน เพื่อให้ทำการฝึกฝนด้วยตนเองที่บ้าน โดยจะมีทีมผู้ปฏิบัติงานคอยให้คำแนะนำ คอยช่วยเหลือและคอยติดตามผลการอบรมอยู่เสมอ

  • ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม

ชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องการใช้สื่อออนไลน์ ในการขยายสู่ตลาดออนไลน์

  • แนวทางแก้ไข

ควรจัดอบรมการใช้สื่อออนไลน์ให้กับกลุ่มตัวแทนจิตอาสาเพิ่มเติ่ม

การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 

  • จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพให้กับคนในชุมชนกลุ่มอื่นๆด้วยโดยมีวิทยากรตัวแทนจิตอาสา เป็นผู้ถ่ายทอดกระบวนการ ทักษะ และความรู้สู่คนในชุมชน เพื่อคนในชุมชนจะได้มีความรู้และทักษะในการไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆของตนเองได้
  • จัดทำเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ขั้นตอนและวิธีการทำผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นพร้อมระบุถึงประโยชน์จากการรับประทาน เพื่อให้บุคคลอื่นๆได้รู้จักผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นมากยิ่งขึ้น

แนวทางการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์

  • คิดค้นสูตรวิธีการทำรสชาติที่โดดเด่นและมีความแปลกใหม่ ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ และพัฒนาต่อยอด”ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก” แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น “ข้าวหมากเย็นหรือไอศกรีมข้าวหมาก” เป็นต้น
  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกต่อการรับประทานและการเก็บรักษา ป้องกันผลิตภัณฑ์เสียหายระหว่างการขนส่ง เช่น บรรจุภัณฑ์ของ”ข้าวหมาก”จากถ้วยพลาสติกใสเป็นกระปุกเซฟตี้ที่มีฝาปิดมิดชิด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย และรักษ์โลก และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา เช่น บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบของ “ถ้วยกระบอกไม้ไผ่” มีฝาปิดเป็นงานจักรสาน และยังจะช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อขยายตลาดสู่นักท่องเที่ยว และบรรจุภัณฑ์ของ”ข้าวแต๋น”จากถุงแก้วพลาสติกใสธรรมดา เป็น ถุงแก้วซิปล็อก เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทาน การขนส่งและการเก็บรักษา เป็นต้น
  • การใช้สีสันของวัตถุดิบจากธรรมชาติ ทำให้เกิดสีสันที่หลากหลาย น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความโดดเด่น ความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์”ข้าวหมากและข้าวแต๋น”

นอกจากนี้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการอบรมอาชีพ(กิจกรรมย่อย) คือการทำ “สเปรย์และโลชั่นกันยุง” ที่ศาลาประชาคมบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 มีตัวแทนจิตอาสากลุ่มข้าวหมากเข้าร่วมรับการอบรมในครั้งนี้ โดยมี คุณภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วนิช กรรมการผู้จัดการบริษัท บ้านเธอแอง กรุ๊ป จำกัด เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการทำ ซึ่งกลุ่มตัวแทนจิตอาสา ให้ความร่วมมือและตั้งใจ ในการอบรมเป็นอย่างดีมาก

โดยการทำสเปรย์และโลชั่นกันยุงมีสูตรและวิธีการทำดังต่อไปนี้

“สเปรย์กันยุง”

ส่วนประกอบ

  1. แอลกอฮอล์ 1 ปอนด์(1ปอนด์=16ออนซ์)
  2. น้ำมันตะไคร้ 1 ออนซ์
  3. การบูร 100 กรัม

วิธีการทำ

  • นำ1+3 เขย่าให้เข้ากัน
  • เติม 2 คนให้เข้ากันแล้วนำบรรจุใส่ภาชนะ

“โลชั่นกันยุง”

ส่วนประกอบ

  1. แอลกอฮอล์ 1,000 มิลลิลิตร
  2. น้ำมันตะไคร้ 50 มิลลิลิตร
  3. โพรไพลีนไกลคอล 200 มิลลิลิตร
  4. น้ำแร่ 200 มิลลิลิตร
  5. การบูร 50 มิลลิลิตร

วิธีการทำ

  • นำ 1+5 เขย่าให้เข้ากัน
  • เติมน้ำมัน 2,3 และ 4 คนให้เข้ากัน แล้วนำบรรจุภาชนะ

ภาพประกอบ :

 

วิดีโอประกอบ :

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู