การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

(HS08)

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

         ข้าพเจ้านางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของบ้านหนองตาด หมู่ที่ 3 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ แต่มีบางส่วนที่ประกอบอาชีพรับจ้างนอกเขตพื้นที่ ค้าขายและรับราชการ ฐานะและรายได้ของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง รายได้ส่วนใหญ่มาจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ประชาชนมีความตระหนักถึงการป้องกันและดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคระบาด covid-19 และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่(Covid-19)นี้ได้เป็นอย่างดี

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ “ข้าวหมากและข้าวแต๋น”  โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนโดยได้เชิญชวนสมาชิกใน ชุมชนบ้านหนองตาด หมู่ที่ 3 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน ได้แก่

  1. นางสุคนธ์                   ซอยรัมย์         บ้านหนองตาด             หมู่ที่ 3
  2. นางสำรวย                  เชิญรัมย์          บ้านหนองตาด            หมู่ที่ 3
  3. นางวิชนี                      แกล้วกล้า        บ้านหนองตาด           หมู่ที่ 3
  4. นางม้วย                       เภสัชชา          บ้านหนองตาด           หมู่ที่ 3
  5. นางลำไย                     แสนพงษ์         บ้านหนองตาด           หมู่ที่ 3
  6.  นางพัชรี                      เภสัชชา          บ้านหนองตาด           หมู่ที่ 3

นอกจากนั้นยังได้เข้ารับการอบรม เรื่อง แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ” ข้าวหมากและข้าวแต๋น “ ณ เทศบาลตำบลทะเมนชัย  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 29-30  เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

  1. กิจกรรมเปิดโครงการโดย ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการแนะนำโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์
  2. การฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ”ข้าวหมากและข้าวแต๋น” โดยได้รับองค์ความรู้ในการผลิตระยะที่ 1 จากคุณธาริณี วงศ์ศิริศักดิ์ เป็นวิทยากรบรรยาย และพัฒนาผลผลิต

ในกิจกรรมครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานได้ร่วมกันสังเคราะห์บทเรียน ถอดองค์ความรู้จากการฝึกอบรม และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสารสนเทศ พอสรุปองค์ความรู้จากการทำข้าวหมากได้ดังนี้

วิธีการทำ”ข้าวหมาก”

  1. เตรียมข้าวเหนียวดิบ (ปริมาณจะขึ้นกับลูกแป้งข้าวหมาก โดยใช้ข้าวเหนียวดิบ 2 กก.ต่อ 1ลูกแป้ง) ใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ใช้ข้าวกลางปี ดูเมล็ดข้าวอวบ ๆ แตกหักน้อยและดูว่าไม่มีเมล็ดข้าวอื่นปนมาก
  2. ทำการล้างข้าวเหนียวดิบให้สะอาด เพื่อเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกออกประมาณ 2-5 ครั้ง
  3. เมื่อล้างเสร็จแล้วเอาข้าวเหนียวดิบแช่น้ำ โดยใช้น้ำสะอาด แช่ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ข้ามคืน
  4. เตรียมนึ่งข้าวเหนียว ตั้งน้ำให้เดือด นำข้าวเหนียวดิบที่แช่ทิ้งไว้ใส่ซึ้ง หรือหวด ใช้เวลานึ่งข้าวเหนียวประมาณ 30 -40 นาที ดูว่าให้สุกทั่วกันและไม่เป็นไตแข็ง
  5. นำข้าวเหนียวที่สุกแล้วใส่ภาชนะ เช่น ถาด ผึ่งให้เย็น หรือพลิกข้าวเหนียวกลับไปกลับมา สังเกตจากไอของข้าวเหนียวว่าไม่มีแล้ว
  6. นำข้าวเหนียวสุกที่เย็นแล้วไปล้างให้หมดยางข้าว ประมาณ 2 – 4 ครั้ง โดยใช้น้ำสะอาดผ่านการบำบัดคลอรีนและเชื้อโรค หรือน้ำที่ผ่านจากเครื่องกรองน้ำ
  7. นำข้าวเหนียวสุกที่ล้างจนหมดยางข้าวขึ้นสะเด็ดน้ำ จากนั้นบดลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียด
  8. นำข้าวเหนียวสุกที่สะเด็ดน้ำแล้วไปคลุกลูกแป้งข้าวหมากที่บดละเอียด (ค่อย ๆ โรยลูกแป้งข้าวหมากที่ละนิดให้ทั่วแล้วคลุกเคล้าไปทีละนิด จะใช้มือหรือไม้พายในการคลุกไปมาให้ทั่วก็ได้)
  9. เมื่อคลุกเคล้าให้ทั่วแล้ว ทำการเตรียมบรรจุลงภาชนะตามต้องการ จะเป็นถ้วย ใบตอง ในที่นี้จะนำใส่กระปุกปิดฝามิดชิด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยีสต์ซึ่งจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกว่าน้ำต้อย ใช้เวลา 3 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นอาจใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ก็ได้ข้าวหมาก หลังจากข้าวหมากได้ที่แล้วนำใส่ตู้เย็นสามารถเก็บได้เป็นเดือน (การใส่ในตู้เย็นเพื่อลดการทำงานของยีสต์ไม่ให้เป็นแอลกอฮอล์มากเกินไป)

แหล่งที่มา : สูตรข้าวหมากแบบ ง่ายๆ (ออนไลน์). (2561). สืบค้นจาก : https://www.smartsme.co.th/content/94867  [15 พฤษภาคม 2564]

ประโยชน์ของ “ข้าวหมาก”

นอกจากข้าวหมากจะรับประทานเพื่อเพิ่มความสดชื่นแล้ว ยังสามารถบำบัดอาการของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย  บำรุงธาตุ ต้านโรคอัมพฤกษ์ ต้านมะเร็ง ต้านโรคหัวใจ ต้านความดันโลหิต แก้ปัญหาวัยทอง ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณดี ผิวใส อีกด้วย

ในกิจกรรมครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานได้ร่วมกันสังเคราะห์บทเรียน ถอดองค์ความรู้จากการฝึกอบรม และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสารสนเทศ พอสรุปองค์ความรู้จากการทำข้าวแต๋นได้ดังนี้

วิธีการทำ ”ข้าวแต๋น”

  1. นึ่งข้าวเหนียว รอให้สุก ตักขึ้นมาพักให้เย็น
  2. คั้นน้ำแตงโม เอาแต่น้ำ ใส่น้ำเปล่า เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว อย่างละนิด เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
  3. นำข้าวเหนียวที่พักไว้คลุกกับน้ำแตงโมที่ได้ ปั้นข้าวเหนียวให้เป็นรูปทรงกลมรีๆ ความหนาบางแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน
  4. นำข้าวเหนียวนึ่งที่ผ่านการปั้นแล้วไปตากแดดประมาณ 2 วัน
  5. จากนั้นทำการตั้งกระทะ ใส่น้ำมันให้ร้อน รอจนน้ำมันเดือด นำข้าวที่แห้งลงไปทอด ใช้เวลาประมาณ 30-40 วินาที รอจนข้าวลอยสุกขึ้นมาสีเหลืองน่ารับประทาน
  6. นำน้ำตาลปี๊บมาเคี่ยวไฟจนละลาย และนำมาราดบนข้าวแต๋น ก็จะได้ข้าวแต๋นที่น่ารับประทานและนำไปจำหน่ายได้

แหล่งที่มา : วิธีการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโมทานเล่นด้วยวิธีง่ายๆ (ออนไลน์). (2558). สืบค้นจาก : https://www.smartsme.co.th/content/18444  [15 พฤษภาคม 2564]

ประโยชน์ของ ”ข้าวแต๋น”

คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวแต๋นเป็นขนมที่ให้ทั้งความอร่อยและประโยชน์ที่มากไม่น้อย ส่วนผสมที่ให้ประโยชน์ของของแต๋นมีดังต่อไปนี้
ข้าวเหนียว
– มีฤทธิ์อุ่น ช่วยในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายจากอากาศที่หนาวเย็นได้ดีเยี่ยม
– ช่วยชะลอความแก่ก่อนวัย ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่เสื่อมถอยไปก่อนเวลาอันควร
– ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาสมดุลและให้ความชุ่มชื้นภายในกระเพาะอาหาร
– ข้าวเหนียวมีโปรตีนเช่นเดียวกับข้าวเจ้า ซึ่งช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
– ช่วยคลายเครียด ช่วยทำให้จิตใจสงบ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆในระหว่างวันได้อย่างสดใสร่าเริง
– ในข้าวเหนียวมีวิตามินอี ที่ช่วยในการบำรุงการทำงานของระบบประสาทกับสมอง

แหล่งที่มา : ประโยชน์ของข้าวแต๋น-ข้าวแต๋นตี๋ใหญ่ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.sites.google.com/site/khawtanteeyai/benefitkhawtan  [15 พฤษภาคม 2564]

นอกจากนั้น  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบลทะเมนชัย โดยรับผิดชอบบ้านหนองตาด มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

1. วัดด่านทองประชาสามัคคี

2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น(งานจักสาน) ของนายหนุน แกล้วกล้า

3. ตลาดนัดหน้าเทศบาลทะเมนชัย

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่พัฒนาชุมชน จึงทำให้การพัฒนาค่อนข้างล่าช้าและไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ แต่ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้เข้ากับสถานการณ์สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

อยากให้มีการสนับสนุนให้ธุรกิจอื่น ๆ แบ่งปันช่วยเหลือกันในเรื่องวัตถุดิบอุปกรณ์และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตลาด ผลิตภัณฑ์และการใช้บริการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งหวังการสร้าผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภคและชุมชนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน

ภาพประกอบการลงพื้นที่

วิดีโอประกอบการลงพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู