รายงานผลการปฏิบัติงานในโครงการ (เดือนมิถุนายน)
การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
(HS08)
นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่
พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ของบ้านหนองตาด หมู่ที่ 3 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พบว่า พื้นที่โดยรอบในชุมชนบ้านหนองตาดเป็นที่โล่งกว้าง เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ แต่มีบางส่วนที่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างและรับราชการ สภาพภูมิศาสตร์ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นที่ลุ่มน้ำขัง ซึ่งกำลังเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม การเตรียมพื้นที่ทำนา การไถนา การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว (เกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ “ข้าวจ้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105”) และข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่สำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ Covid-19 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ตระหนักถึงการดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากCovid-19เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของโรคCovid-19เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกเขตพื้นที่ จึงทำให้มีประชาชนบางส่วนมีความวิตกกังวลอย่างมากเพราะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขาย
ภาพประกอบ
ภาพที่ 1. พื้นที่ลุ่มน้ำขังที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม(ปลูกข้าว)ในช่วงฤดูฝน
ภาพที่2. การไถ หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
ภาพที่3. การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานจึงได้ทำการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคCovid-19 โดยได้เดินรณรงค์เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนรับวัคซีนและเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคCovid-19มากยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
Step1 ทำความสะอาดบริเวณสถานที่สาธารณะและที่มีประชาชนรวมกันจำนวนมาก เช่น
เนื่องในเป็นวันสำคัญทางศาสนา(วันวิสาขบูชา)ที่วัดด่านทองประชาสามัคคี จึงมีประชาชนเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาจำนวนมาก ข้าพเจ้าจึงได้ประสานงานและขอความร่วมมือจาก นายมนตรี ซอยรัมย์(ผู้ใหญ่บ้านหนองตาด หมู่ที่3) และอสม.ประจำหมู่เพื่อดำเนินงานดังนี้
-ทำความสะอาดรอบๆบริเวณจัดพิธีกรรมโดยการฉีดพ้นสเปรย์แอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อ ตามพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่เป็นจุดสัมผัสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
-มีจุดคัดกรองผู้เข้าร่วมพิธีกรรม หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณภูมิได้ตั้งแต่ 37.5องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหายใจเร็ว ลิ้นไม่รับรส เหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีท้องเสียร่วมด้วย จะแจ้งงดเข้าร่วมพิธีกรรมและแนะนำไปพบแพทย์
-กำหนดให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ต้องสวมหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-จัดให้มีเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไว้บริการบริเวณต่างๆ อย่างเพียงพอ
-มีมาตรการหรือสัญลักษณ์เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และจํากัดจำนวนผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ตามขนาดพื้นที่เพื่อลดความแออัด
Step2 การจัดทำวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคCovid-19 เช่น การทำเจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่วัด ตลาดและที่พักอาศัย
Step3 การเดินรณรงค์เชิญชวนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด เช่น ติดป้ายประชาสัมพันธ์การดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคCovid-19 การติดป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนลงทะเบียนรับวัคซัน และจัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อติดบริเวณวัด ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
ภาพประกอบ
ภาพที่4. การติดป้ายเพื่อรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคCovid-19
ภาพที่5. การเดินรณรงค์และแจกวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันCovid-19
ภาพที่6. จุดคัดกรองก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
ภาพที่7. การตรวจวัดอุณหภูมิการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
จัดอบรมให้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์(ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก) โดยได้จัดอบรมที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า หมู่ที่13 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 31 พ.ค.64 ที่ผ่านมา โดยมี ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมการอบรม และมีกลุ่มตัวแทนบ้านหนองตาด หมู่ที่3 ซึ่งมีความรู้เรื่องการทำข้าวหมากอยู่แล้ว เป็นวิทยากร สาธิตขั้นตอนและวิธีการทำ โดยตัวแทนบ้านหนองตาด หมู่ที่3 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 6 คน ดังนี้
- นางสุคนธ์ ซอยรัมย์ บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3 (หัวหน้ากลุ่ม)
- นางสำรวย เชิญรัมย์ บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3
- นางวิชนี แกล้วกล้า บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3
- นางม้วย เภสัชชา บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3
- นางลำไย แสนพงษ์ บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3
- นางพัชรี เภสัชชา บ้านหนองตาด หมู่ที่ 3
ข้าพเจ้าได้ติดตามผลการฝึกอบรมโดยสอบถามความคิดเห็นจาก นางสุคนธ์ ซอยรัมย์ (หัวหน้ากลุ่ม) พบว่า ตัวแทนบ้านหนองตาด หมู่ที่3 ให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการฝึกอบรมเป็นอย่างดี และได้ฝึกทำและคอยพัฒนาสูตรของผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอยู่เสมอ ได้ลองผิดลองถูกและคิดค้นหาวิธีการต่างๆ ในการพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้วอยู่เรื่อยๆ เช่น การใช้สีธรรมชาติของดอกอัญชันและการนำข้าวเหนียวดำ(ข้าวก่ำ)มาเป็นส่วนประกอบทำให้เกิดสีสันสวยงามน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
แต่ทางกลุ่มแจ้งว่าค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการตลาดและการหาช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ เนื่องจากทางกลุ่มยังไม่มีความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีมากนัก จึงอยากให้ทางทีมผู้ดำเนินงานของโครงการเข้ามาช่วยเหลือในด้านนี้
ภาพประกอบ
ภาพที่8. กิจกรรมการอบรมข้าวหมาก
ภาพที่9. กิจกรรมการอบรมข้าวหมาก(ให้ตัวแทนลองฝึกปฏิบัติ)
ภาพที่10. การลองฝึกปฏิบัติทำข้าวหมากด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.64 ได้จัดกิจกรรมการอบรมอาชีพ(ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น)ให้กับตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน ที่ศาลากองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านน้อยพัฒนา หมู่ที่16 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมี ผศ.จิรเดช ประเสริฐศรี ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมการอบรม และมีอาจารย์ธารินี วงศ์ศิริศักดิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้กับตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านเพื่อให้ตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านนำไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนต่อไป และเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.64 ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น(รอบพิเศษ) ที่ศาลากองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านน้อยพัฒนา หมู่ที่16 โดยมีตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมอบรมในรอบแรกเป็นผู้ถ่ายทอดและสาธิตวิธีการทำให้กับกลุ่มตัวแทนที่ต้องการฝึกอบรมเพิ่มเติม
อาชีพที่จัดอบรมในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
1. ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้
1.1)เตรียมข้าวเหนียวดิบ (ปริมาณจะขึ้นกับลูกแป้งข้าวหมาก โดยใช้ข้าวเหนียวดิบ 2 กก.ต่อ 1ลูกแป้ง) 1.2)ทำการล้างข้าวเหนียวดิบให้สะอาด เพื่อเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกออกประมาณ 2-5 ครั้ง1.3)เมื่อล้างเสร็จแล้วเอาข้าวเหนียวดิบแช่น้ำ โดยใช้น้ำสะอาด แช่ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ข้ามคืน1.4)เตรียมนึ่งข้าวเหนียว ตั้งน้ำให้เดือด นำข้าวเหนียวดิบที่แช่ทิ้งไว้ใส่ซึ้ง หรือหวด ใช้เวลานึ่งข้าวเหนียวประมาณ 30 -40 นาที ดูว่าให้สุกทั่วกันและไม่เป็นไตแข็ง 1.5)นำข้าวเหนียวที่สุกแล้วใส่ภาชนะ เช่น ถาด ผึ่งให้เย็น หรือพลิกข้าวเหนียวกลับไปกลับมา สังเกตจากไอของข้าวเหนียวว่าไม่มีแล้ว 1.6)นำข้าวเหนียวสุกที่เย็นแล้วไปล้างให้หมดยางข้าว ประมาณ 2 – 4 ครั้ง โดยใช้น้ำสะอาดผ่านการบำบัดคลอรีนและเชื้อโรค หรือน้ำที่ผ่านจากเครื่องกรองน้ำ 1.7)นำข้าวเหนียวสุกที่ล้างจนหมดยางข้าวขึ้นสะเด็ดน้ำ จากนั้นบดลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียด 1.8)นำข้าวเหนียวสุกที่สะเด็ดน้ำแล้วไปคลุกลูกแป้งข้าวหมากที่บดละเอียด (ค่อยๆโรยลูกแป้งข้าวหมากที่ละนิดให้ทั่วแล้วคลุกเคล้าไปทีละนิด จะใช้มือหรือไม้พายในการคลุกไปมาให้ทั่วก็ได้) 1.9)เมื่อคลุกเคล้าให้ทั่วแล้ว ทำการเตรียมบรรจุลงภาชนะตามต้องการ จะเป็นถ้วย ใบตอง ในที่นี้จะนำใส่กระปุกปิดฝามิดชิด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยีสต์ซึ่งจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกว่าน้ำต้อย ใช้เวลา 3 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นอาจใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ก็จะได้ข้าวหมาก หลังจากข้าวหมากได้ที่แล้วนำใส่ตู้เย็นสามารถเก็บได้เป็นเดือน (การใส่ในตู้เย็นเพื่อลดการทำงานของยีสต์ไม่ให้เป็นแอลกอฮอล์มากเกินไป)
แหล่งที่มา : สูตรข้าวหมากแบบ ง่ายๆ (ออนไลน์). (2561). สืบค้นจาก : https://www.smartsme.co.th/content/94867 [15มิถุนายน2564]
ภาพประกอบ
ภาพที่11. การผสมแป้งข้าวหมาก
ภาพที่12. การนำผลิตภัณฑ์ข้าวหมากใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์
ภาพที่13. การติดโลโก้สินค้าบนบรรจุภัณฑ์
2.ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้
2.1)นึ่งข้าวเหนียวรอให้สุกตักขึ้นมาพักให้เย็น 2.2)คั้นน้ำใบเตยหรือน้ำดอกอัญชัน เอาแต่น้ำ ใส่น้ำเปล่า เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว อย่างละนิด เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ 2.3)นำข้าวเหนียวที่พักไว้คลุกกับน้ำใบเตยหรือน้ำดอกอัญชัน (โดยต้องคลุกให้เกิดสีทั่วกันทุกเม็ดข้าว) ปั้นข้าวเหนียวให้เป็นรูปทรงกลมรีๆ ความหนาบางแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน(แต่ในการอบรมใช้แม่พิมพ์ทำข้าวแต๋นในการทำ) 2.4)นำข้าวเหนียวนึ่งที่ผ่านการปั้นแล้วไปตากแดดประมาณ 2 วัน 2.5)จากนั้นทำการตั้งกระทะ ใส่น้ำมันให้ร้อน รอจนน้ำมันเดือด นำข้าวที่แห้งลงไปทอด ใช้เวลาประมาณ 30-40 วินาที รอจนข้าวลอยสุกขึ้นมาสีเหลืองน่ารับประทาน 2.6)นำน้ำตาลปี๊บหรือผงโกโก้มาเคี่ยวไฟจนละลาย และนำมาราดบนข้าวแต๋น ก็จะได้ข้าวแต๋นที่น่ารับประทานและนำไปจำหน่ายได้
ภาพประกอบ
ภาพที่14. ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น
ภาพที่15. การอบรมผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น
ภาพที่16. การสาธิตวิธีการทำข้าวแต๋นโดยตัวแทนที่ผ่านการฝึกอบรมจากวิทยากรมาแล้ว
ภาพที่17. การปั้นขึ้นรูปข้าวแต๋นโดยใช้แม่พิมพ์
ภาพที่18. การทอดข้าวแต๋น
ภาพที่19. การราดน้ำตาลปี๊บหรือน้ำโกโก้ที่ผ่านการเคี่ยวจนละลายแล้วลงบนหน้าข้าวแต๋น
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมการอบรมอาชีพ
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดCovid-19 จึงทำให้การดำเนินงานไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เท่าไรนัก วิทยากรผู้ที่จะถ่ายทอดการอบรมอาชีพให้กับตัวแทนกลุ่มข้าวหมากไม่สามารถเดินทางมาได้ แต่ทางทีมผู้ปฏิบัติงานและคณะได้ประสานงานกับกลุ่มบ้านหนองตาดผู้ซึ่งมีความรู้เรื่องการทำข้าวหมากอยู่แล้วมาเป็นวิทยากรในการสาธิตวิธีการทำให้กับกลุ่มตัวแทนหมู่บ้านอื่นๆแทน และทำให้การดำเนินกิจกรรมการอบรมในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพ
ข้าพเจ้าได้ติดตามผลการอบรมมาซักระยะแล้ว มีความคิดเห็นว่า ควรจัดให้มีการอบรมอาชีพอื่นๆร่วมด้วยเพื่อตอบสนองต่อความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคลหรือแต่ละหมู่บ้านนั้นๆ ควรจัดหาช่องทางการจำหน่ายออนไลน์อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการขยายตลาด และปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
วิดีโอประกอบการลงพื้นที่