โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ “ ข้าวหมากและข้าวแต๋น” ประจำเดือนกรกฎาคม
นายวีระชน จันทะนาม
จากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ข้าวหมาก และข้าวแต๋น ของตำบลทะเมนชัย ได้มีการจัดอบรมและฝึกปฎิบัติ แบ่งการอบรมและฝึกปฏิบัติเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ 1 เป็นการอบรมการพัฒนาและออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก เป็นการพัฒนาสูตรในการเพิ่มสีของข้าวหมาก เช่น สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง เป็นต้น โดยสีที่ผสมนั้น เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีเขียวได้จากใบเตย สีฟ้าได้จากอัญชัน สีเหลืองได้จากดาวเรือง และการนำข้าวชนิดอื่น นำมาทำข้าวหมาก เช่น ข้าวเหนียวดำ เพื่อให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และเป็นที่หน้าสนใจให้กับผู้บริโภค
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายเน้นใช้วัสดุจากธรรมชาติ ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกกลุ่ม และให้ได้มาตรฐานของสินค้าหรือโอท็อป เช่น กระปุกที่มีฝาปิดใช้ขนส่งที่อยู่ไกล หรือต่างจังหวัด ใช้ใบตองเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมแบบเดิม เน้นอนุรักษ์ธรรมชาติให้มากที่สุด
การอบรมพัฒนาสูตรและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋น ได้เชิญวิทยากรภายนอกฝึกอบรมและพัฒนาสูตร เช่น การเพิ่มสีและรสชาติของน้ำตาลราดข้าวแต๋น เช่น การเพิ่มผงช็อคโกแลต หรือผงโกโก้ลงในน้ำตาลราดข้าวแต๋น และการใส่สีในข้าวที่ทำข้าวแต๋นให้ข้าวแต๋นมีหลายสี โดยเน้นสีที่มาจากธรรมชาติ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้คงความสะอาด ความกรอบของข้าวแต๋น และความสวยงามและช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า
การอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ “ข้าวแต๋น” ของบ้านบุตาวงศ์ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านได้มีการฝึกทำข้าวแต๋น ตามที่ได้รับการฝึกอบรมจากวิทยากรและกลุ่มทำข้าวแต๋นบ้านน้อยพัฒนา และได้นำวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ และมีอยู่ในท้องถิ่นเข้ามาดัดแปลงรูปร่างและสีของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มี หลากหลาย แปลกใหม่ ที่ต่างจากเดิม และเน้นเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มและชุมชน
ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.ปัญหาก่อนการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำการอบรมร่วมกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทำได้ยาก ไม่สะดวก และไม่มีสถานที่ในการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ แนวทางการแก้ไขโดยให้มีการจัดอบรมและทำกิจกรรมแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ เชิญตัวแทนของกลุ่มสมาชิกเข้ามารับการฝึกอบรมในสถานที่เหมาะสมหรือจัดอบรมโดยผ่านระบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่เข้าอบรมให้สมาชิกได้มีความรู้และเข้าใจให้ประโยชน์ได้มากที่สุด
2.ปัญหาระหว่างการดำเนินกิจกรรม วิธีการหาและขั้นตอนการหายังไม่ได้มาตรฐาน และสูตรการทำที่ชัดเจน เวลาทอดข้าวแต๋นจะแตก ไม่เป็นรูปร่างที่กำหนด เวลาทอดนานก็จะไหม้จนดำ แนวทางการแก้ไขอยากให้มีการทำกิจกรรมอบรมอีกให้มากที่สุด เพื่อให้กลุ่มสมาชิกได้เข้าใจในวิธีการทำจนเกิดความชำนาญและจดจำสูตรให้ดีกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
3.ปัญหาหลังจากการดำเนินการ เรื่องการจำหน่ายสินค้า ตลาดถูกปิดเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้สินค้าไม่สามารถผลิตและออกมาจำหน่ายได้ แนวทางการแก้ไข หาบุคลากรที่มีความรู้ในเรื่องการขายแบบออนไลน์ มาอบรมให้กับสมาชิกได้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าได้เอง เป็นต้น
การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ หลังจากที่มีการจัดอบรมเรื่อง การแปรรูปข้าวอินทรีย์ เป็นข้าวแต๋นทำการเผยแพร่ลงสู่ออนไลน์ เช่น Facebook, Line, Twitter, Youtube และมีเครือข่ายชุมชนในตำบลทะเมนชัย การทำข้าวแต๋น สามารถจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ประจำตำบลได้ เพราะมีวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และผู้นำชุมชนให้การสนับสนุน
แนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในการยกระดับคุณภาพข้าวแต๋นให้ได้มาตรฐานชุมชน มีขั้นตอนกระบวนการสถานที่ชัดเจน มีรสชาติ กลิ่น สี รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นกลุ่ม หรือชุมชนที่ชัดเจน เพื่อใบรับรองมาตราฐานผลิตภัณฑ์และใบรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เป็นสินค้า OTOP ต่อไป
การแข่งขัน Hackaton
เป็นกิจกรรมการพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริง เพื่อได้มาซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านวัตกรรมภายใต้โจทย์ แนวทางการแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่ทะเมนชัยได้เข้าร่วมแข่งขัน การแปรรูปเพิ่มมูลค่า ข้าวอินทรีย์เป็นข้าวหมาก และมีตัวแทนของกลุ่มเข้าร่วมแข่งขัน 6 คน และได้แบ่งหน้าที่กันได้แก่ ผู้ประสานงาน, ผู้จัดหาวัตถุดิบและค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประกอบและจัดทำวิดีโอ, ฝ่ายตัดต่อเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการในการแข่งขันในครั้งนี้
รูปภาพประกอบ