ข้าพเจ้า นายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูล CBD ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นการแบ่งกลุ่มของข้าพเจ้ามีทั้งหมด 5 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 บ้านโบย หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ และหมู่ 10 บ้านแก่นเจริญ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี โดยได้รับข้อมูลและการต้อนรับที่ดีจากชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้าน แต่ด้วยสถานการณ์ covid-19 จึงต้องมีความระมัดระวังในการเข้าสอบถามข้อมูลจึงต้องมีการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย การลงพื้นที่เก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลมีทั้งหมด 10 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2.แหล่งท่องเที่ยว
3. ที่พักโรงแรม
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6. เกษตรกรในท้องถิ่น
7. พืชในท้องถิ่น
8. สัตว์ในท้องถิ่น
9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ และทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลพระครู ได้ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการที่บ้าน แม่ลำดวน แสนสมบัติ บ้านหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการย้อมสีเส้นไหมมัดหมี่ โดยการย้อมสีลายผ้าไหมมัดหมี่ อัตลักษณ์ชุมชนตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ออกแบบโดย วิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญโดย คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้มีกลุ่มแม่บ้านจากทั้งหมด 3 หมู่บ้านเข้าร่วม ได้แก่ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย ได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์(นาคล้อมตะวัน) หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ ได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์(ช่อดอกแต้) และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนาได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์ (ชุมทองระย้า)
บ้านหนองขวางน้อย ได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์ (นาคล้อมตะวัน)
บ้านหนองมะค่าแต้ ได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์ (ช่อดอกแต้)
บ้านชุมทองพัฒนา ได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์ (ชุมทองระย้า)
วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ และทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลพระครู ได้ร่วมกิจกรรมในการลงพื้นที่อบรมการพัฒนาผ้าไหมมัดหมี่เอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนตำบลพระครู ณ วัดบ้านหนองมะค่าแต้ตำบลพระครูอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ โดยในช่วงเช้าของการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ในการทำ marketing ออนไลน์ โดยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับหลักการตลาดคือ 4P หรือ Marketing Mix หรือรู้จักกันในภาษาไทยว่า “ส่วนผสมทางการตลาด” เป็นทฤษฎีที่ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมและเป็นพื้นฐานที่สุด โดยแบ่งการวิเคราะห์องค์ประกอบเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1.Product (ผลิตภัณฑ์)
2.Price (ราคา)
3.Place (ช่องทางจัดจำหน่าย)
4.Promotion (การส่งเสริมการขาย)
เพื่อที่จะได้นำมาวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง เหมาะสม และดึงดูดลูกค้าเพื่อสร้างยอดขายให้ได้มากที่สุด ซึ่งเนื้อหาที่พูดถึงช่องทางการเพิ่มรายได้ ยอดการขายให้กับกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ ด้วยวิธีการขายออนไลน์ เนื่องจากทุกวันนี้บุคคลประชาชนทั่วไปในประเทศนิยมการเล่นสื่อโซเชียลเพิ่มมากขึ้นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลนี้จึงเห็นความสำคัญว่าควรมีแนวทางในการขายผ้าไหมด้วยวิธีการขายออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มทอผ้าไหมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในการบรรยายกลุ่มทอผ้าไหมยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร ทั้งอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับวิทยากรฟัง และร่วมกันแก้ปัญหาหาทางออกให้ดียิ่งขึ้น
ในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายเพิ่มเติมจากวิทยากร นายกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ได้มาพูดถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการทอผ้าไหม ปัญหาเกี่ยวกับสีจางบนผ้าไหมของบ้านหนองมะค้าแต้ และได้มอบไหม สีย้อมต่างๆ ยังได้เสนอไอเดียการแปลรูปผ้าไหมให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และให้ผ้าไหมน่าดึงดูดและน่าสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่เพิ่มเติม เช่น ผ้าคลุมไหล่ ที่สามารถต่อยอดนำไปตัดเป็นชุดหรือเสื้อผ้าสตรี เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ในช่วงสุดท้ายของการอบรมท่านวิทยากรและคณะอาจารย์ได้ทำการแบ่งเส้นไหมและสีย้อมผ้าให้กับกลุ่มแม่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้านเพื่อนำไปสู่การผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในขั้นต่อไป