1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS09 - ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. HS09 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

HS09 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

ข้าพเจ้า นางสาวสุกัญญา เชยรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร :  HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

 

 

 

 

 

ในวันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ 2564  ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานพร้อมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการทอผ้าไหมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 7บ้านหนองขวาง หมู่ 9บ้านหนองมะค่าแต้  13 บ้านชุมทองพัฒนา

                 

             

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้ ได้ทำการทอผ้าไหมมัดหมี่ โดยมีชื่อลายผ้าไหมอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองมะค่าแต้คือ (ช่อดอกแต้)  เสร็จเรียบร้อย   แล้ว ทั้งสิ้น 5 ผืน โดยมีอุปสรรคคือสีที่ได้มาจากการย้อม เมื่อนำมาทอแล้วทำให้ลายผ้าไหมไม่ชัด

            

                                                          บ้านชุมทองพัฒนาได้ทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์ (ชุมทองระย้า) ใกล้เสร็จเครือแล้ว

                   

                   

                                                            และบ้านหนองขวางน้อย กำลังเริ่มการทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์(นาคล้อมตะวัน)

 

 

 

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่สำรวจและบันทึกข้อมูล CBD ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองยาง  บ้านหนองกก  บ้านหนองขวาง  และบ้านศรีปทุม การลงพื้นที่เก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลมีทั้งหมด 10 หัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์ covid-19
  2. ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
  3. ข้อมูลที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. ข้อมูลอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  6. ข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น
  7. ข้อมูลพืชในท้องถิ่น
  8. ข้อมูลสัตว์ในท้องถิ่น
  9. ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
  10. ข้อมูลแหล่งน้ำในท้องถิ่น

 

       

        

     

                      

     

 

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรลงพื้นที่โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมมัดหมี่ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ณ วัดบ้านหนองมะค่าแต้  ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในช่วงเช้าของการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ในการทำ marketing ออนไลน์  โดยนายปํณณทัต สระอุบล (โค้ชเอส) เป็นการบรรยายเกี่ยวกับหลักการตลาดคือ 4P หรือ Marketing Mix หรือรู้จักกันในภาษาไทยว่า “ส่วนผสมทางการตลาด” เป็นทฤษฎีที่ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมและเป็นพื้นฐานที่สุด โดยแบ่งการวิเคราะห์องค์ประกอบเป็น 4 ส่วน ได้แก่

Product (ผลิตภัณฑ์)

Price (ราคา)

Place (ช่องทางจัดจำหน่าย)

Promotion (การส่งเสริมการขาย)

 

เพื่อนำมาวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง เหมาะสม และดึงดูดลูกค้าเพื่อสร้างยอดขายให้ได้มากที่สุด เป็นการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรคในการทำการตลาดในยุคที่การขายออนไลน์เป็นช่องทางที่มีผู้คนให้ความสนใจมากที่สุด  ด้วยเหตุผลนี้จึงเห็นความสำคัญว่าควรมีแนวทางในการขายผ้าไหมด้วยวิธีการขายออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มทอผ้าไหมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในการบรรยายกลุ่มทอผ้าไหมยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร ทั้งอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับวิทยากรฟัง และร่วมกันแก้ปัญหาหาทางออกให้ดียิ่งขึ้นลำดับต่อมาคุณกฤษกร แก้วโบราณ วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่เพิ่มเติม ได้มีการเสนอไอเดียการแปลรูปผ้าไหมให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และให้ผ้าไหมน่าดึงดูดและน่าสนใจยิ่งขึ้นยกตัวอย่างแปลรูปสินค้าให้เป็น ผ้าคลุมไหล่ หรือตัดชุดเสื้อผ้าสตรี เป็นต้น  การอบรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มทอผ้าไหมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้เป็นอย่างดี

                           

และช่วงต่อมาเป็นการบรรยายเพิ่มเติมจากวิทยากร คุณกฤษกร แก้วโบราณ ได้บรรยายเกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่เพิ่มเติม เช่น ผ้าคลุมไหล่ ที่สามารถต่อยอดนำไปตัดเป็นชุดหรือเสื้อผ้าสตรี เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ในช่วงสุดท้ายของการอบรมท่านวิทยากรและคณะอาจารย์ได้ทำการแบ่งเส้นไหมและสีย้อมผ้าให้กับกลุ่มทอผ้าไหมทั้ง 3 หมู่บ้านเพื่อนำไปสู่การผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในขั้นต่อไป

 

 

อื่นๆ

เมนู