ข้าพเจ้า นายวัชรินทร์ บวบกระโทก ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน  ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยรายภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทั้ง3กลุ่มพร้อมกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 7 บ้านหนองขวาง หมู่ 9 บ้านมะค่าแต้ และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนาเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานจากการลงพื้นที่ในครั้งที่ผ่านมาซึ่งมีความคืบหน้าดังนี้

หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย กลุ่มทอไหมได้ลงมือทำตามขั้นตอนตามที่ นายกฤษกร แก้วโบราณ วิทยากรและผู้ออกแบบลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ชื่อลายผ้าไหมคือ นาคล้อมตะวัน กลุ่มทอผ้าไหมอยู่ในขั้นตอนการทออยู่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ได้สอบถามกลุ่มทอผ้าไหมจะทำการทอผ้าไหมเสร็จภายในเดือนนี้หรือไม่คำตอบคือกลุ่มทอผ้าไหมจะเร่งมือทอให้เสร็จภายในเดือนนี้

หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ ชื่อลายผ้าไหมอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านมะค้าแต้คือ ช่อดอกแต้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มีปัญหาเรื่องสีที่ได้ไม่ชัดเจน จึงมีการแก้ปัญหาเป็นที่เสร็จสิ้นแล้วจนทำให้ได้ผ้าลายเดียวกันแต่มีสีที่ความชัดเจนต่างกัน

หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ชื่อลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์คือ ชุมทองระย้า กลุ่มทอผ้าไหมบ้านชุมทองพัฒนาได้ทำการทอผ้าไหมลายอัตลักษณ์เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

วันที่ 23-24 ตุลาคม 2564 รวมทั้ง วันที่10-11 พฤศจิกายน2564 กระผมและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่สำรวจ CBD (U2T) มีทั้งหมด 10. หัวข้อได้แก่

  • ข้อที่1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
  • ข้อที่ 2. แหล่งท่องเที่ยว
  • ข้อที่ 3. ที่พัก/โรงแรม
  • ข้อ 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  • ข้อ 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  • ข้อที่ 6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  • ข้อที่ 7. พืช ในท้องถิ่น
  • ข้อที่ 8. สัตว์ในท้องถิ่น
  • ข้อที่ 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ข้อที่ 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

ซึ่งกลุ่มประชาชนได้รับผิดชอบทั้งหมด 3 หมู่บ้านในตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ หมู่ 5 บ้านม่วงเหนือ หมู่ 8 บ้านม่วงใต้ หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ทั้ง 10 หัวข้อนี้กลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่สำรวจได้พบว่าส่วนใหญ่ในชุมชนตำบลพระครูเป็นเกษตรกรปลูกพืชต่างๆมากมายเช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ผัก และเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น ปลา วัว เป็ด ไก่ กระบือ ทำอาหารแปรรูปเช่น ปลาร้าสับ ไข่เค็ม กล้วยฉาบ และมีภูมิปัญญาที่ทำด้วยมือเช่น ไม้กวาดทางมะพร้าว ทอเสื่อกก เครื่องจักสาน ทอผ้าไหม เป็นต้น

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมการจัดอบรมให้ความรู้แบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ในหัวข้อ Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยท่านรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ที่เป็นเกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการอบรม และมีท่านอาจารย์ชมพู อิสรยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มาเป็นผู้ดำเนินการในการอบรมครั้งนี้ พร้อมทั้งวิทยากรผู้ร่วมให้ความรู้อีก 5 ท่าน ที่ร่วมถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งในการอบรมครั้งนี้กระผมได้รับความรู้และแนวคิดดีๆเพิ่มมากขึ้นด้วย

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อยกระดับบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้มีมาตรฐาน สู่การเพิ่มมูลค่าให้ผ้าไหมมัดหมี่ ณ วัดหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในหัวข้อ การทำการตลาดออนไลน์ โดยคุณปัณณทัต สระอุบล วิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ ที่มาให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านในตำบลพระครูในครั้งนี้ด้วย

 

อื่นๆ

เมนู