ข้าพเจ้า นางสาวชนัสดา ลุนราช ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564
ในเดือนธันวาคมข้าพเจ้าและผู้ฏิบัติงานทุกท่านได้ลงลงพื้นที่จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ โดยการลงพื้นที่ครั้งแรกจะเป็นการอบรมเรื่องลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ที่เป็นการพัฒนาแบบผ้าไหมให้มีความหลากหลายมากขึ้น เดิมที่โครงการของเราเน้นการทอผ้าไหมที่เป็นผ้าถุงเพียงอย่างเดียว จึงได้มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมขึ้นมาคือ การทอผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เพราะกลุ่มทอผ้าไหมของเราเล่งเห็นความสำคัญของการตลาดมากขึ้นจากการสังเกต และค้นคว้าข้อมูลแล้วพบการตีตลาดสินค้าผ้าไหมที่สมควรยิ่งที่ต้องเพิ่มรูปแบบผ้าไหมให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อความทันสมัยและน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
โดยโดยมีคุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ออกแบบลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ได้ออกแบบลายผ้าไหมให้แต่ละหมู่บ้านดังนี้
ลายผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้
ลายผ้าไหมบ้านชุมทองพัฒนา
ลายผ้าไหมบ้านหนองขวาง
ต่อมาข้าพเจ้าได้เข้าร่วมจัดโครงการเชิงปฏิบัติการ เรื่องการย้อมไหมจากสีธรรมชาติโดยจากการอบรมครั้งที่แล้ววิทยากรได้มีแบ่งงานให้กับผู้ทอผ้าไหมแต่ละหมู่บ้านให้ตรียมวัสดุอุปกรณ์และสีย้อมที่มาจากธรรมชาติ ที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ผล ลำต้น แก่น ดอกไม้และรากไม้ กลุ่มทอผ้าทั้ง 3 หมู่บ้านเตรียมน้ำต้มสีธรรมชาติไว้ ตามสีของลายผ้าอัตลักษณ์ที่ได้ออกแบบไว้ ดังนี้
กลุ่มทอผ้าบ้านหนองมะค่า ได้เตรียมน้ำต้มจากต้นกล้วย กล้วยเป็นพืชหนึ่งที่ได้นำมาทดลองย้อมสีเส้นไหมโดยใช้ส่วนที่เป็นกาบหุ้มลำต้น หรือที่เรียกว่า ต้นกล้วย นำมาหั่นเป็น ฯ ชิ้นเล็กๆ ต้มสกัดสีกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง โดยใช้อัตราส่วน 1:2 เมื่อครบ 1 ชั่วโมงกรองใช้เฉพาะน้ำ สีที่ได้ออกมาคือ สีเทา
กลุ่มทอผ้าบ้านหนองขวาง ได้เตรียมน้ำต้มจากเปลือกต้นสมอและใบยูคาลิปตัส สีที่ได้จากเปลือกต้นสมอเหลือง คือ สีเขียว สีที่ได้จากใบยูคาลิปตัส คือ สีน้ำตาลเหลือง
กลุ่มทอผ้าบ้านชุมทองพัฒนา ได้มีการย้อมสีธรรมชาติจากพืช คือ เปลือกประดู่ สีที่ได้คือสีน้ำตาลแดง กับแก่นขนุน สีที่ได้คือมีเหลือง
เปลือกประดู่ นำเปลือกประดู่มาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากให้แห้งที่ต้องสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะถ้ายิ่งสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สีของเปลือกจะยิ่งเข้มมากขึ้น โดยเปลือกประดู่แห้ง 3 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นใยได้ 1 กิโลกรัม นำมาต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1:10 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ต่อมาจะเป็นการย้อมไหม
แก่นขนุน นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ 4 ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือไม่ เมื่อใช้ได้แล้วให้ช้อนเอากากทิ้งกรองเอาน้ำใสเติมน้ำสารส้มเล็กน้อย เพื่อให้สีติดดีเพื่อใช้ในการย้อมสีธรรมชาติในครั้งนี้
หมายเหตุ : ความเข้มของสีพืชแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชที่นำมาต้ม และเวลาของการต้ม
วิธีการย้อมสีธรรมชาติ
วัสดุและอุปกรณ์
- ไหมดิบ
- หม้อสแตนเลสใช้ต้มน้ำย้อม
- เตา
- ห่วงย้อมไหม
- สีย้อมไหม
- ไม้แขวนห่วงไหมสำหรับแขวน ห่วงคล้องไหม และช่วยในการยกไหมขึ้นลงขณะย้อมสี
- ไม้พายสแตนเลสสำหรับกลับไหมและคนน้ำในหม้อ
- ถุงมือยางสวมใส่เมื่อจับเส้นไหมขณะร้อน หรือ มีสารเคมี
- กะละมังสำหรับแช่ ล้างเส้นไหม วัสดุให้สีย้อม
- ราวไหมสำหรับตามไหม
การเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี
พืชแต่ละชนิดที่นำมาใช้ย้อมเส้นด้ายมีความสามารถในการติดสี ความคงทนต่อการขัดถูหรือความคงทนต่อแสงได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางชีวเคมีภายในของพืชและเส้นด้ายที่นำมาใช้ย้อม จึงต้องใช้สารช่วยย้อมมาเป็นตัวช่วยในการทำให้เส้นด้ายดูดซับสีได้ดี มีความคงทนต่อแสงและการขัดถูเพิ่มขึ้นซึ่งคุณสมบัติสารช่วยย้อมนอกจากจะเป็นสารที่ช่วยในการยึดและจับสีแล้ว บางครั้งสารช่วยย้อมยังทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ตำบลพระครูของเราได้เลือกสารช่วยติดโดยเลือกการใช้สารช่วยย้อมก่อนการย้อมสี เพื่อให้สีติดยึดแน่นกับเส้นด้ายและช่วยเพิ่มความคงทนของสี ทำได้โดยการนำเส้นด้ายที่ผ่านการทำความสะอาด แล้วไปชุบหรือต้มย้อมกับสารช่วยย้อมก่อนนำไปย้อมด้วยน้ำย้อมสีธรรมชาติ ได้แก่ เกลือแกง จะใช้ผสมกับน้ำสีย้อมเพื่อช่วยให้สีติดเส้นด้ายได้ง่ายขึ้น มักจะใช้ในกรณีที่ต้องการย้อมสีด้วยครั่ง และวิธีการใช้สารช่วยย้อมหลังการย้อมสี เป็นการนำเส้นด้ายลงไปย้อมสีก่อนแล้วจึงนำไปชุบหรือย้อมด้วยสารช่วยย้อมในการภายหลัง วิธีการนี้จะช่วยทำให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น ตัวอย่างสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี ได้แก่
(1) สารส้ม มีคุณสมบัติช่วยจับยึดกับเส้นด้าย และช่วยให้สีสดสว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เฉดสีน้ำตาล-เหลือง-เขียว เช่น แก่นแข ใบหูกวาง เปลือกประดู่ เปลือกมะพร้าว เป็นต้น
(2) น้ำโคลน ใช้ดินโคลนจากก้นสระที่มีน้ำขังตลอดปีมาละลายในน้ำเปล่า สัดส่วนน้ำ 1 ส่วนต่อดินโคลน 1 ส่วน จะช่วยให้สีเข้มหรือโทนสีเทา-ดำ เช่นเดียวกับน้ำสนิม (กรองเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้เหลือแต่ดินโคลนเหลวๆ)
(3) จุนสี (มอร์แดนท์ทองแดง) หรือคอปเปอร์ซัลเฟต เป็นตัวช่วยเพิ่มการเกาะติดของสีกับเส้นใยและช่วยให้สีมีความเข้มมากขึ้น นิยมใช้กับการย้อมเส้นใยโทนสีเขียวและสีน้ำตาล ข้อเสีย สำหรับการใช้มอร์แดนท์ทองแดงคือจะทำให้เกิดการตกค้างของทองแดงในน้ำทิ้งหลังการย้อม เมื่อมีการใช้ทองแดงในปริมาณที่มากเกินไป
ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
1.นำเส้นไหมดิบไปแช่ในน้ำ 1-2 นาที แล้วนำมาบิดให้หมาด และกระตุก
2.นำเส้นไหมไปแช่ในน้ำที่ผสมเกลือเคมี 2ช้อนโต๊ะ คนให้ละลาย เกลือเคมีจะช่วยให้สีติดทนนาน จะใช้เวลาในการย้อมเย็น 20 นาที ในระหว่างการย้อมเย็น ต้องนวดเส้นไหมเพื่อให้สีซึมติดไหมได้ง่าย และป้องกันการไหมด่าง
3.ตั้งหม้อต้มน้ำสีธรรมชาติที่เตรียมไว้ รอให้น้ำร้อน จากนั้นใส่ไหมลงในหม้อ จับเวลาต้มต่อประมาณ 1ชั่วโมง ยกไหมนวดทุกๆ 5นาที จะทำให้ไหมไม่ด่างและสีที่ได้จะสม่ำเสมอ
4.เมื่อครบเวลาแล้วนำไหมขึ้นมาบิดให้หมาด แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด 3-6 ครั้งหรือจนกว่าน้ำจะใส
ในกรณีที่อยากได้สีที่เข้มขึ้น สามารถเอาไหมที่ต้มเสร็จแล้วมาแช่น้ำโคลน จะทำให้ได้สีที่เข้มขึ้น แล้วนำไหมไปล้างน้ำสะอาดจนกว่าน้ำจะใส
5.เมื่อล้างน้ำเสร็จ ให้บิดหมาดๆ และกระตุกจนกว่าเส้นไหมเรียงตัวจากนั้นให้นำไปผึ่งในที่ร่ม เพื่อให้เส้นไหมแห้ง
จากการจัดโครงการเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้กลุ่มทอผ้าไหมและผู้ปฏิบัติงานให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และร่วมมือกันย้อมสีผ้าไหมสีธรรมชาติอย่างตั้งใจ เพื่ออยากให้สีที่ออกมาเป็นไปตามที่คาดหวังและสีที่ได้ออกมามีดังนี้
สีจากแก่นขนุน
สีจากเปลือกไม้ประดู่
สีจากใบยูคาหมักโคลน
สีจากใบยูคา (ไม่ได้หมักโคลน)
สีจากเปลือกสมอ