ข้าพเจ้า นางสาวกนกพรรณ  เทียนขาว กลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564  ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่บ้านคุณแม่ลำดวน  แสนสมบัติ  เพื่อเตรียมความพร้อมในการย้อมสีธรรมชาติซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ท่านวิทยากรได้อธิบายถึงการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ตัวอย่างผ้าและสีต่างๆ ได้นำมาให้กลุ่มแม่ๆได้ศึกษาเพื่อที่จะแปรรูปเป็นผ้าคลุมไหล่ซึ่งการทำผ้าคลุมไหล่ในครั้งนี้ต้องการที่จะใช้สีธรรมชาติเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการย้อม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าให้มีความน่าสนใจและมีสตอรี่มากขึ้น จึงได้คิดสีจากธรรมชาติซึ่งให้โจทย์กับแม่ๆไปและให้เตรียมวัตถุดิบสีธรรมชาติมาย้อมในครั้งต่อไปในการลงพื้นที่ นั่นคือกลุ่มบ้านหนองมะค่าแต้จะใช้สีใบจากใบมะม่วงและต้นกล้วย ส่วนบ้านชุมทองพัฒนาจะใช้แก่นขนุนและเปลือกประดู่ ส่วนบ้านหนองขวางน้อยจะใช้ใบยูคาลิปตัสและเปลือกส้มสมอในการให้สี

 

 

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานที่บ้านคุณแม่ลำดวน  แสนสมบัติในการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการปฏิบัติงานสอนการย้อมสีเส้นไหมมัดหมี่จากสีธรรมชาติ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะใช้สีธรรมชาติจากจากพืชในท้องถิ่น ซึ่งท่านวิทยากรได้ให้ความรู้เบื้องต้นไปแล้วเมื่อการลงพื้นที่ในครั้งก่อนนั้นว่าต้องใช้อะไรบ้างเตรียมอะไรบ้าง วันนี้กลุ่มแม่ๆจึงได้ทำการรวมกลุ่มและย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติตามสีที่ได้รับมอบหมายภายใต้การดูแลจากวิทยากร

การย้อมสีธรรมชาติของบ้านชุมทองพัฒนา หมู่ 13 ใช้ประดู่และแก่นขนุน สามารถใช้เปลือกและแก่นต้นมาใช้ในกรย้อมสีเส้นไหมได้ ปัจจุบันแก่นประดู่ ค่อนข้างจะหายากจึงนิยมใช้เฉพาะส่วนของเปลือกต้นด้านในมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม โดยลอกเอาเฉพาะเปลือกต้นด้านในนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากให้แห้งเปลือกประดู่แห้ง 3 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ต้มสกัดสีกับน้ำในอัตราส่วน 1: 10 นาน 1 ชั่งโมง กรองใช้เฉพาะน้ำนำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเข้ม ส่วนของต้นขนุนที่สามารถนำมาใช้ในงานย้อมสี คือ แก่นต้น โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก และตากให้แห้ง เมื่อต้องการสกัดน้ำสีให้นำมาต้มกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 : 10 เส้นไหม 1 กิโลกรัมต้องใช้แก่นขนุนแห้ง 3 กิโลกรัม ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้มและจุนสี เส้นไหมที่ผ่านการแช่สารส้ม มีสีเหลือง

การย้อมสีธรรมชาติของบ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ใช้สีย้อมจากใบมะม่วง ใบมะม่วง 3 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ต้มสกัดสีกับน้ำในอัตราส่วน 1: 10 นาน 1 ชั่งโมง กรองใช้เฉพาะน้ำนำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อใส่สารช่วยติดลงคือสารส้มลงไปจะออกสีเหลืองสีขาวจากต้นกล้วยใช้การสกัดในอัตราส่วนเหมือนกันกับใบมะม่วง

การย้อมสีธรรมชาติของบ้านหนองขาวงน้อย หมู่ 9 สีขาวจากใบยูคาลิปตัส ใบยูคาลิปตัส 3 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ต้มสกัดสีกับน้ำในอัตราส่วน 1: 10 นาน 1 ชั่งโมง กรองใช้เฉพาะน้ำนำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง ส่วนสีเหลืองได้จากเปลือกส้มสมอวิธีการสกัดใช้อัตราส่วนเหมืนกัน

ขั้นตอนการย้อมเย็น

1.ในการย้อมเย็นจะใส่เกลือเคมี 2 ช้อนโต๊ะ

2.คนให้ละลายจะใช้เวลาในการย้อมเย็น 20 นาที

3.ในระหว่างการย้อมจะต้องนวดเส้นไหมเพื่อให้สีซึมติดไหมได้ง่าย แต่ถ้าหากอยากได้สีเข้มๆก็ต้องใช้

เวลาในการแช่เส้นไหมเป็นเวลานานเพื่อให้ได้สีเข้มๆตามที่ต้องการ

ขั้นตอนการย้อมร้อน

1.ในการย้อมร้อนจะต้องต้มน้ำร้อนประมาณ 1ชั่วโมง รอให้น้ำร้อนเดือดก่อนค่อยจับเวลายกเส้นไหมขึ้น

2.จะต้องยกไหมขึ้นนวดทุก 5 นาที จะทำให้ไหมไม่ด่าง ยิ่งใช้เวลานานสียิ่งเข้ม

3.เมื่อย้อมร้อนเสร็จ ให้นำไปล้างน้ำเปล่า ที่ผสมน้ำยาล้างจานประมาณ 2 หยด

4.บิดหมาดๆกระตุกไหมให้เรียงเส้น 2-3ครั้ง

5.แล้วนำไปใส่ราวพึงให้แห้งในที่ร่ม

การใช้สารช่วยย้อมหลังการย้อมสี นำเส้นไหมไปย้อมสีก่อน แล้วจึงนำไปย้อมกับสารช่วยย้อมภายหลัง

วิธีการนี้จะช่วยทำให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น โดยมีขั้นตอน คือ

1.นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีที่บิดให้หมาดแล้วกระตุก 2-3 ครั้ง จึงนำมาขยำในน้ำสารช่วยย้อม เวลาใช้ขึ้นอยู่กับว่าต้องการสีเข้มหรือสีจาง โดยทั่วไปประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเป็นแทนนิลจากพืชจะใช้เวลาน้อย เช่น การย้อมฝางแล้วนำมาย้อมต่อในน้ำผลมะเกลือจะใช้เวลาประมาณ 1 นาที จะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีบานเย็นนานกว่านี้จะเป็นสีมืด

2.บิดเส้นไหมให้หมาดกระตุก 2-3 ครั้ง แล้วผึ่งให้แห้ง

3.นำเส้นไหมที่ผึ่งแห้งแล้วมาซักในน้ำสะอาดจนน้ำใส แล้วนำไปสะบัดโดยใช้แขนสองข้างดึงเส้นด้าย

แล้วกระตุก 2-3 ครั้ง นำไปตากในที่ร่มหรือกลางแดด

 

 

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่บ้าน แม่ลำดวน  แสนสมบัติ เพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานรายบุคคลในโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนพื้นที่ตำบลพระครูอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ในหัวข้อประเด็นและขั้นตอนในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายเอกลักษณ์ซึ่งมีประเด็นที่ต้องสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการเลี้ยงไหม ขั้นตอนการสาวไหม ขั้นตอนการมัดหมี่ ขั้นตอนการย้อมสี ขั้นตอนการแก้หมี่ และขั้นตอนการทอผ้า โดยกลุ่มของข้าพเจ้ามีทั้งหมด 5 คนรับหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเพื่อทำรายงานในหมู่บ้านหนองมะค่าแต้ โดยหมู่บ้านหนองมะค่าแต้คิดลายผ้าอัตลักษณ์เอกลักษณ์คือลายช่อดอกแต้

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ทำการถ่ายภาพและสัมภาษณ์กลุ่มแม่ๆทอผ้าไหมชาวบ้านหนองมะค่าแต้ ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทอผ้าไหมมัดหมี่ โดยได้รับความร่วมมือจากแม่ๆในการให้ข้อมูลเป็นอย่างดีข้าพเจ้ามีความประทับใจอย่างยิ่งในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ขอขอบคุณแม่ๆ ทุกท่านที่ให้การต้อนรับอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลในการจัดทำรายงานเป็นอย่างดี

 

 

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานโดยการจัดทำรายงานสรุปโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน “บ้านหนองมะค่าแต้” ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดทำขึ้นเพื่อสรุปโครงการเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และในรายงานยังมีเนื้อหาขั้นตอนเกี่ยวกับการผลิตผ้าไหม ขั้นตอนการเลี้ยงไหม ขั้นตอนการสาวไหม ขั้นตอนการเตรียมเส้นไหม ขั้นตอนการมัดหมี่ ขั้นตอนการย้อมสีขั้นตอนการแก้หมี่ และสุดท้ายขั้นตอนการทอผ้า จนได้ผ้าไหมออกมาเป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ ขอขอบคุณสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองมะค่าแต้ที่สละเวลาให้ข้อมูลความรู้จนทำรายงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีและสุดท้ายนี้ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวข้าพเจ้าและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องของผ้าไหมเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู