ข้าพเจ้า นายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานพร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ที่บ้าน แม่ลำดวน แสนสมบัติ ณ บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญ คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น วิทยากรประจำการอบรมผ้าไหมมัดหมี่อัตลักษณ์ชุมชนตำบลพระครู เป็นผู้ออกแบบลายผ้าคลุมไหล่ ร่วมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการย้อมสีธรรมขาติ อธิบายถึงลักษณะของสีแต่ที่ได้จากธรรมชาติ และได้อธิบายถึงข้อดีข้อเสียของการย้อมผ้าไหมจากธรรมชาติ ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีได้มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานพร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่บ้าน แม่ลำดวน แสนสมบัติณ บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ย้อมสีเส้นไหมมัดหมี่ โดยใช้สีจากธรรมชาติ ได้ให้ความรู้ในขั้นตอนการย้อมจากสีธรรมชาติ โดยวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญ คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีได้มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ในการอบรมครั้งนี้ได้มีการย้อมสีผ้าไหมจากสีธรรมชาติด้วยการย้อมสีผ้าไหมนี้ได้นำวัสถุดิบจากธรรมชาติมาทำการต้มเช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ผล ลำต้น แก่น ดอกไม้และรากไม้ ซึ่งจะมีกรรมวิธีในการเตรียมน้ำย้อมสีและวิธีการย้อมสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและส่วนที่นำมาใช้ในการย้อมสีและมีสารผสมที่ช่วยในการปรับสี เช่น เกลือเคมี คอปเปอร์ซัลเฟส สารส้ม และน้ำโคลน สารช่วยให้สีติดหรือซึมเข้าเส้นไหมได้ดีง่ายขึ้น
สารทีช่วยให้สีติดเส้นไหมง่ายขึ้น
บ้านหนองขวางน้อย วัสดุที่ใช้ในการย้อมสี ได้แก่ สีจากต้นยูคาลิปตัส และสีจากต้นสมอ
บ้านหนองมะค่าแต้ วัสดุที่ใช้ในการย้อมสี ได้แก่ สีจากต้นกล้วย
บ้านชุมทองพัฒนา วัสดุที่ใช้ในการย้อมสี ได้แก่ สีจากต้นขนุน และสีจากต้นประดู่
วิธีการย้อมสีธรรมชาติ
ก่อนย้อมสีทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นสีเคมีหรือสีธรรมช่ติ ต้องแช่ในน้ำสะอาดก่อนทุกครั้ง
การย้อมสีธรรมชาติจะเริ่มจากการย้อมเย็น โดยการนำน้ำต้มจากสีธรรมชาติ ใช้ในปริมาณ 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร มาเตรียมไว้ในกะละมังหรือหม้อ
จากนั้น ใส่เกลือเคมี 2 ช้อนโต๊ะคนให้ละลาย และนำไหมที่เตรียมไว้มาย้อมเย็น ใช้เวลาย้อมเย็น 20 นาที ในการย้อมเย็นจะต้องนวดเส้นไหม เพื่อให้สีธรรมชาติซึมเข้าเส้นไหมได้ดีง่ายขึ้น หากอยากได้สีที่เข้มขึ้นจะใช้เวลาในการย้อมเย็นนานขึ้นเพื่อให้ได้สีที่เข้มตามต้องการ
เมื่อครบ 20 นาทีแล้วนำไหมมาย้อมร้อน 1 ชั่วโมงสำหรับสีแก่นขนุนและเปลือกประดู่จะใส่สารส้มเพื่อช่วยให้สีติดไหมได้ง่ายขึ้น สีน้ำต้มต้นกล้วย น้ำต้มเปลือกสมอ น้ำต้มใบยูคาลิปตัส จะใส่คอปเปอร์ซัลเฟต เพื่อให้สีติดไหมได้ยิ่งขึ้น
รอให้น้ำเดือดแล้วจับเวลา หมั่นยกไหมขึ้นนวดทุก 5 นาที จะทำให้สีซึมเข้าเส้นไหมได้เสม่ำเสมอไหมไม่ด่าง เมื่อต้มนานไปแล้วน้ำเหือดให้เติมน้ำเพิ่มและเติมสารช่วยติดเพิ่ม เมื่อต้มครบ 1 ชั่วโมง
สำหรับบ้านหนองขวางและบ้านหนองมะค่าแต้จะนำไหมที่ต้มเสร็จแล้วมาแช่โคลนต่ออีก เพื่อที่จะให้ได้สีที่เข้มขึ้น
แล้วนำเส้นไหมไปล้างในน้ำสะอาด จนน้ำไม่มีสีหรือสีที่ย้อมจางลงแล้ว
แล้วนำไปไส่ราว บิดเส้นไหมหมาดๆ และกระตุกไหม 2-3 ครั้ง ให้ไหมเรียงเส้น แล้วตากให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วทำเป็นไจไว้ เพื่อนำไปค้นหมี่สำหรับมัดลายหมี่ต่อไป
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อทำรายงานการทอผ้าไหมของหมู่บ้านหนองมะค่าแต้ เกี่ยวกับขั้นตอนการทอผ้าไหม ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกต้นหม่อน การเลี้ยงหม่อน การสาวไหม การมัดหมี่ การย้อมสีเคมี-สีธรรมชาติ การแก้เส้นหมี่ ตลอดจนถึงขั้นตอนการทอผ้าไหม ทุกขั้นตอนซึ่งการลงพื้นที่ครั้งได้สอบถามข้อมูลต่างๆ ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้ โดยมี นาง ลำดวน แสนสมบัติ ประธานกลุ่ม และสมาชิกในกลุ่มทอผ้าไหม ให้ข้อมูล ซึ่งการให้ข้อมูลครั้งนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากปฏิบัติของกลุ่มจริงๆ ซึ่งอาจแตกต่างจากข้อมูลเชิงวิชาการอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ชาวบ้านในกลุ่มทอผ้าไหมได้ปฏิบัติมาแบบนี้ตามบรรพบุรุษได้สั่งสมและสั่งสอนมาและได้ประยุกต์ใช้ในกาลปัจจุบัน