โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ)
ข้าพเจ้า นางสาวอรนรี สมร่าง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานพื้นที่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติงานในการพัฒนาผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชน นำโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ ยุพาวดี อาจหาญและ อาจารย์ ทิพวิลย์ เหมรา ที่เป็นผู้ดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ และได้เป็นเกียรติที่ ท่าน กฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ได้วิเคราะห์ออกแบบลายผ้าคลุมไหล่และแบบสีให้เป็นลายอัตลักษณ์ของชุมชนตามเรื่องราวของการเป็นอยู่แต่ละชุมชน โดยสีที่ใช้จะเป็นสีจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่างๆ มาทำการย้อมกับเส้นไหม เพื่อนำมาใช้ในการทอผ้า เพิ่มสีสันให้กับเส้นไหมให้มีความสวยงาม และแนะนำเทคนิคขั้นตอนรายละเอียดในการทำผ้าคลุมไหล่ ทั้งในเรื่องของเทคนิคการให้สีจากวัสดุที่ใช้ ขั้นตอนการต้มเพื่อสกัดสีให้ได้สีที่เข้มข้น ขั้นตอนการย้อมผ้าคลุมไหล่ เทคนิคการใช้สารช่วยติดสี และจากการฟังคำแนะนำของวิทยากรแล้ว ชาวบ้านทั้ง3 หมู่บ้านได้เสนอวัสดุที่ใช้ต้มเพื่อสกัดสี ดังนี้ 1.บ้านหนองมะค่าแต้ใช้ ใบมะม่วงและต้นกล้วย 2.บ้านชุมทองพัฒนาจะใช้แก่นขนุนและเปลือกประดู่ และ 3. บ้านหนองขวางน้อยจะใช้ใบยูคาลิปตัสและเปลือกส้มสมอในการให้สี
![]() |
![]() |
![]() |
ลายอัตลักษณ์ของบ้านหนองมะค่าแต้ | ลายอัตลักษณ์ของบ้านชุมทองพัฒนา | ลายอัตลักษณ์ของบ้านหนองขวางน้อย |
![]() |
![]() |
![]() |
23 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในส่วนการทำการย้อมสีผ้าคลุ่มไหล่หลังจากที่ได้มีการอบรมแนะนำให้รายละเอียดถึงวิธีการทำในครั้งที่แล้ว ชาวบ้านทั้งสามหมู่บ้านได้เตรียมน้ำย้อมที่สกัดจากธรรมชาติมาทำการย้อมและมีขั้นตอนการทำดังนี้
- วัสดุที่ใช้ในการย้อมผ้าไหม มีดังนี้
- ไหมดิบ วัสดุที่ต้องการย้อมสี
- หม้อสแตนเลส ใช้ต้มน้าย้อม ลอกกาว ย้อมไหม
- เตา และ ถังแก๊ส ให้ความร้อนในการต้มลอกกาว ย้อมสี โดยใช้แก๊ส
- ครก สำหรับตำบดครั่งเพื่อสกัดสี
- ห่วงย้อมไหม ใส่ไหมเตรียมลอกกาว และย้อมสี
- ถุงมือยาง สวมใส่เมื่อจับเส้นไหมขณะร้อน หรือ มีสารเคมี หรือ สี
- กะละมัง สำหรับแช่ ล้างเส้นไหม วัสดุให้สีย้อม
- ราวไหมสำหรับตากไหม
- ไม้พาย สำหรับกลับไหมและคนน้ำในหม้อลอกกาวและย้อมสี
![]() 1 |
|
|
![]() 4 |
![]() 5 |
![]() 6 |
![]() 7 |
![]() 8 |
![]() 9 |
สารช่วยย้อม
สารช่วยย้อม หรือ สารกระตุ้นสี เป็นสารที่ช่วยให้สีติดกับเส้นด้ายดีขึ้นและเปลี่ยนเฉดสีธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงไปจากสีเดิม ในสมัยโบราณจะใช้การเติมมูลหรือปัสสาวะสัตว์ลงไปในถังย้อม ปัจจุบันมีการใช้สารที่ได้จากทั้งสารเคมีและสารธรรมชาติดังนี้
- สารช่วยย้อมเคมี (มอร์แดนท์) หมายถึง วัตถุธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่นกับผ้าที่ย้อม ส่วนใหญ่เป็นเกลือของโลหะพวกอลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ดีบุก โครเมียม สำหรับมอร์แดนท์ที่แนะนำให้ใช้สำหรับการย้อมระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นสารเคมีเกรดการค้า ซึ่งมีราคาถูก คุณภาพเหมาะสมกับงาน มีวิธีการใช้งานที่สะดวกโดยการชั่ง ตวง วัดพื้นฐาน แล้วนำไปละลายน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการและหาซื้อได้ง่ายจากร้านค้าสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ หรือทางการแพทย์ทั่วไป สารมอร์แดนท์ที่ใช้กันทั่วไปคือ
- สารส้ม (มอร์แดนท์อลูมิเนียม) จะช่วยจับยึดสีกับเส้นด้ายและ ช่วยให้สีสด สว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมสี น้ำตาล-เหลือง-เขียว
- จุนสี (มอร์แดนท์ทองแดง) ช่วยให้สีติดและเข้มขึ้น ใช้กับการย้อม สีเขียว-น้ำตาล ข้อแนะนำสำหรับการใช้มอร์แดนท์ทองแดง คือ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการตกค้าง ของทองแดงในน้ำทิ้งหลังการย้อมได้
- สารช่วยย้อมธรรมชาติ (มอร์แดนท์ธรรมชาติ) หมายถึง สารประกอบน้ำหมักธรรมชาติ ที่ช่วยในการยึดสีและบางครั้งทำให้เฉดสีเปลี่ยน เช่o
- น้ำปูนใส ได้จากปูนขาวที่ใช้กินกับหมาก หรือทำจากปูนจากการเผาเปลือกหอย โดยละลายปูนขาวในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน จะได้น้ำปูนใสมาใช้เป็นสารช่วยย้อมต่อไป
- น้ำด่าง หรือน้ำขี้เถ้า ได้จากขี้เถ้าพืช เช่น ส่วนต่างๆ ของกล้วย ต้นผักขม เปลือกของผลนุ่น กากมะพร้าว เป็นต้น เลือกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่ยังสดๆ นำมาผึ่งแดดให้หมาด จากนั้นเผาให้เป็นขี้เถ้าสีขาว นำขี้เถ้าไปใส่ในอ่างที่มีน้ำอยู่ กวนให้ทั่วทิ้งไว้ 4 – 5 ชั่วโมงขี้เถ้าจะตกตะกอน นำน้ำที่ได้ไปกรองให้สะอาดแล้วจึงนำไปใช้งาน เรียกว่า “น้ำด่างหรือน้ำขี้เถ้า” อีกวิธีหนึ่งนำขี้เถ้าที่ได้ไปใส่ในกระป๋องที่เจาะรูเล็กๆ รองก้นด้วยปุยฝ้าย หรือใยมะพร้าวใส่ขี้เถ้าจนเกือบเต็ม กดให้แน่นเติมน้ำให้ท่วมขี้เถ้า แขวนกระป๋องทิ้งไว้ รองเอาแต่น้ำด่างไปใช้งาน
- กรด ได้จากพืชที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำใบหรือฝักส้มป่อย น้ำมะขามเปียก
- น้ำโคลน เตรียมจากโคลนใต้สระ หรือบ่อที่มีน้ำขังตลอดปี ใช้ดินโคลนมาละลายในน้ำเปล่าสัดส่วนน้ำ 1 ส่วนต่อดินโคลน 1 ส่วนจะช่วยให้ได้โทนสีเข้มขึ้น หรือโทนสีเทา-ดำเช่นเดียวกับน้ำสนิม
วิธีการย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ
ย้อมเย็น
- ใส่เกลือเคมีลงในน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้ละลาย
- แช่ไหม 20 นาที ในระหว่างการแช่เกลือต้องทำการนวดไหมเรื่อยๆ เพื่อให้สีได้ติดไหมง่าย
ย้อมร้อน
- ยกหม้อต้มตั้งไฟ ใช้เวลาต้ม1 ชั่วโมง ไฟอ่อนๆ (นับเวลาจากจัดที่เดือดไป)
2. แช่ไหมไว้ 1 ชั่วโมง กลับไหมทุก5 นาที เพื่อไม่ให้ไหมด่าง
3. หลังจากครบ 1 ชั่วโมงให้ใส่จุนสี 250กรัมหรือ 1ช้อนโต๊ะ
4. ใส่จุนสีแล้วคนให้ละลาย ต้มอีก 20นาที และทำการนวดไหมทุก 5นาที เพื่อให้สีติดทั่วถึง
5. ยกไหมขึ้นให้สะเด็ดน้ำ และนำไหมไปจุ่มในน้ำโคลนที่เตรียมไว้
6. ไหมจุ่มลงในน้ำโคลนแล้วแช่ไว้ 25 นาที ระหว่างแช่ไหมให้นวดไหมให้น้ำโคลนซึมเข้าเส้นไหมอย่างทั่วถึง (ระยะเวลาในการแช่น้ำโคลนนานเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ไหมนิ่มมือ และหนาขึ้น เพิ่มผิวสัมผัสมากขึ้น)
7. หลังจากแช่น้ำโคลนเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำไปล้างน้ำเปล่า 2 ครั้ง
8. บิดหมาดๆและกระตุกให้ไหมเรียงเส้น
9. นำไหมไปผึ่งในที่ร่ม
จากการลงปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหมทั้ง 3หมู่บ้านเป็นอย่างดี โดยชาวบ้านต่างยินดีให้ผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ได้ลงพื้นที่ได้ร่วมมีการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
25 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติอีก4 คน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดทำรายงานผลประกอบการดำเนินโครงการในโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรฐกิจให้กับชุมชนพื้นที่ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มของดิฉันได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับผ้าไหมลายอัตลักษณ์ของ “บ้านหนองขวางน้อย” และได้สอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหม ตั้งแต่เริ่มขั้นตอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ขั้นตอนการสาวไหม ขั้นตอนการเตรียมเส้นไหม ขั้นตอนการมัดหมี่ ขั้นตอนการย้อมสี ขั้นนตอนการแก้หมี่ตลอดถึงขั้นตอนการทอ ในการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลกับชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองขวางต่างก็ได้รับความยินดีในการให้ข้อมูลของกลุ่มแม่ๆบ้านหนองขวางน้อย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |