ประจำเดือน ธันวาคม

ข้าพเจ้า นางสาวสมร ดีรบรัมย์  ประเภทประชาชน  ตำบลพระครู  อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล

เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น. ดิฉันผู้ปฏิบัติงานทุกประเภทและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ ณ บ้านป้าลำดวน แสนสมบัติ หมู่ 9 บ้านมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติขั้นตอนการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมคลุมไหล่และผ้าพันคอมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ทางคณะอาจารย์ได้เชิญ คุณกฤษกร แก้วโบราณ วิทยากรประจำศูนร์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมาถ่ายทอดให้แก่แม่ๆและให้แม่กลุ่มทอผ้าไหมทำตามขั้นตอนการย้อมและทอผ้าไหมคลุมไหล่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา คุณกฤษกร แก้วโบราณ (วิทยากร)ได้มอบอุปกรณ์และเส้นไหมให้กับแม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เอาไปเตรียมทำตามขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติและทอต่อไป

          วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันและนายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ เข้าอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีเสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ เวลา 9.30 น.มีผู้ร่วมเสวนาทั้งหมด 5 ท่าน 1.นายสิทธิชัย สุดสวาท 2.คุณไขแสง ซอกรัมย์ 3.นายปฐม นิ่มหัตถา 4.นายอาทิตย์ จำปาตุม 5.ผศ.ดร.รพีพรรณ พงอินทร์วงศ์    ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เวลา 11.00 น.มีการบรรยายตัวอย่างแบบฟอร์มการทำหลักสูตรระยะสั้นโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเวลา 13.00 น. ทางด้าน รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม ให้คณะอาจารย์และตัวแทนผู้ปฏิบัติทั้ง11ตำบลนำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1ตำบล1มหาวิทยาลัย) ดิฉันนางสาวสมร ดีรบรัมย์และนายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ได้นำประเด็นที่ต้องนำเสนอมีทั้งหมด5หัวข้อได้แก่ 1ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบล 2.ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ 3.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ 4.แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น 5.กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และSDGS ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร  ดิฉันและนายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ได้นำเสนอประเด็นทั้ง 5 หัวข้อผ่านไปได้ด้วยดี และเวลา 15.00 น. รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม ได้สรุปประเด็นทั้งหมด 11 ตำบลที่เข้าอบรมในครั้งนี้

                  

 

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8.30 น. ดิฉันผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านแม่ลำดวน แสนสมบัติ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และคุณกฤษกร แก้วโบราณ (วิทยากร)ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้และขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ(ผ้าคลุมไหล่) มี 3หมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมขั้นตอนการทอผ้าคลุมไหล่ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ตำบลพระครู อำเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กลุ่มแม่ๆ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ได้นำลำต้นกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำมาต้มสกัดสีกับน้ำร้อนประมาณ1 วันเมื่อต้มเสร็จแล้ว1วันแล้วเอามากรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมแล้วเอามาย้อมในน้ำร้อนที่ตั้งน้ำไว้พอน้ำเดือดก็ใส่จุลินทรี1ช้อนเกลือ1ช้อนสารส้ม1ก้อนเอาเส้นไหมลงต้มไว้ประมาณ20นาทีหลังจากย้อมในน้ำร้อนเสร็จเอาขึ้นมาล้างด้วยน้ำเย็นประมาณ5น้ำล้างเสร็จแล้วเอาเส้นไหมมาหมักกับโคลนหมักโคลนทิ้งไว้ประมาณ 2ชั่วโมงหมักโคลนครบ2ชั่วโมงแล้วเอาเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำเย็นประมาณ4-5น้ำจากนั้นก็ได้เส้นไหมเป็นสีขาว+เทา และเมื่อนำไปแช่ในน้ำโคลนจะได้เส้นไหมสีเทาและแม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมของบ้านมะค่าแต้รอคุณกฤษกร แก้วโบราณ(วิทยากร)มอบงานและแนะนำรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป

กลุ่มแม่ๆหมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อยได้นำเปลือกต้นสมอมาสับเป็นชิ้นๆและใบยูคาแล้วนำมาต้มสกัดสีกับน้ำร้อนประมาณ1วันเมื่อต้มเสร็จแล้ว1วันแล้วเอามากรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมแล้วเอามาย้อมในน้ำร้อนที่ตั้งน้ำไว้บนเตาพอน้ำเดือดก็ใส่จุลินทรี1ช้อนเกลือ1ช้อนสารส้ม1ก้อนเอาเส้นไหมลงต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หลังจากย้อมในน้ำร้อนเสร็จแล้วเอาขึ้นมาล้างด้วยน้ำเย็นประมาณ 4-5 น้ำเสร็จแล้วเอาเส้นไหมมาหมักกับโคลนหมักโคลนทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงหมักโคลนครบ2ชั่งโมงแล้วเอาเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำเย็นประมาณ 4-5 น้ำ และการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกต้นสมอและใบยูคาจะได้เส้นไหมเป็นสีเขียวหม่นและสีเทาเข้ม และแม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมของบ้านหนองขวางน้อยรอคุณกฤษกร แก้วโบราณ(วิทยากร)มอบงานและแนะนำรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป

กลุ่มแม่ๆ หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ได้นำแกนขนุนและเปลือกประดู่มาสับเป็นชิ้นๆแล้วนำมาต้มสกัดสีกับน้ำร้อนประมาณ 1 วันเมื่อต้มเสร็จแล้ว1วันก็เอามากรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมแล้วเอามาย้อมน้ำร้อนที่ตั้งไว้พอน้ำเดือดก็ใส่จุลินทรี1ช้อน เกลือ1ช้อน สารส้ม1ก้อนเอาเส้นไหมลงต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หลังจากย้อมในน้ำร้อนเสร็จแล้วเอาขึ้นมาล้างด้วยน้ำเย็นประมาณ 5 น้ำล้างเสร็จแล้วเอาเส้นไหมมาผึ่งแดดหรือว่าตากแดดให้แห้ง แต่บ้านชุมทองพัฒนาไม่มีขั้นตอนในการย้อมโคลนเป็นอันเสร็จขั้นตอนการย้อมสีของบ้านชุมทองพัฒนา  แม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมของบ้านชุมทองพัฒนารอคุณกฤษกร แก้วโบราณ(วิทยากร)มอบงานและแนะนำรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป แม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมทั้ง3หมู่บ้านรอคุณกฤษกร แก้วโบราณ(วิทยากร)มาชี้แจงงานและขั้นตอนการทอผ้าไหมคลุมไหล่ต่อไป

วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 น. ดิฉันนางสาวสมร ดีรบรัมย์และผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ที่แบ่งงานเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5-6 ท่าน งานที่อาจารย์แบ่งคือสรุปแบบรายงานตั้งแต่เริ่มลงพื้นที่ทำงานเดือนกุมภาพันธุ์จนถึงเดือนธันวาคมของ พ.ศ. 2564 ของโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรฐกิจให้กับชุมชนพื้นที่ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์(ขั้นตอนการผลิตผ้าไหม) อาจารย์มอบหมายงานให้ดิฉันรับผิดชอบ หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนาในขั้นตอนการผลิตผ้าไหมมีทั้ง 7 หัวข้อ 1.ขั้นตอนการเลี้ยงไหม 2.ขั้นตอนการสาวไหม 3.ขั้นตอนการเตรียมเส้นไหม 4.ขั้นตอนการมัดหมี่ 5. ขั้นตอนการย้อมสี 6.ขั้นตอนการแก้หมี่ 7.ขั้นตอนการทอผ้า ดิฉันได้ข้อมูลทั้ง 7 หัวข้อนี้จากแม่สิทธิ์ สลุบพล แม่สมร กระแสโสม แม่ทองคำ ศิขิรัมย์ แม่ๆทั้ง 3 ท่านให้ข้อมูลและความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุกๆขั้นตอนของการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์

 

อื่นๆ

เมนู