ข้าพเจ้านาย สมพร  สมนึก และทีมงานตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ได้ลงพื้นที่บ้านหนองมะค่าแต้ เพื่ออบรมการย้อมสีผ้าไหมมัดหมี่จากสีธรรมชาติ  เพื่อทำผ้าคลุมไหล่ จากเปลือกสมอ ประดู่ ต้นกล้วย แก่นขนุน และ ใบยูคาลิตัส โดยแบ่งออกดังนี้

บ้านหนองมะค่าแต้  ใช้สีธรรมชาติจากต้นกล้วย  จะใช้ส่วนที่เป็นกาบหุ้มลำต้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  ต้มสกัดกับน้ำนาน  1  ชั่วโมง โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 2 เมื่อครบ 1 ชั่วโมงกรองเอาเฉพาะน้ำ

บ้านหนองขวางน้อย  ใช้สีธรรมชาติจากสมองและใบยูคาลิตัส การย้อมสีจากเปลือกสมอ ให้เอาเปลือกสมอมาเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  แล้วกรองเอาแต่น้ำ

ขั้นตอนการยอมไหมมัดหมี่  ใส่จุลสี  1 ช้อนโต๊ะ  คนให้เข้ากันแล้วนำเส้นไหมลงไปแช่ ประมาณ 20 นาที ระหว่างแช่นั้นให้คุกเคล้าให้สีเข้าทั่วเส้นไหม  จากนั้นนำขึ้นตั้งไฟ  ต้มอีกประมาณ  20  นาที เมื่อครบเวลาแล้วนำลงมาล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วนำไปหมักโคลนอีก  2  ชั่วโมง แล้วล้างนำไปตากให้แห้ง

บ้านชุมทองพัฒนาใช้สีธรรมชาติจากแก่นขนุน  นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ  4 ชั่วโมง  ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือไม่

เปลือกประดู่ ประดู่สามารถสกัดสีได้ทั้งเปลือกและแก่นต้น แต่ปัจจุบันแก่นประดู่หายาก จึงนิยมใช้เฉพาะส่วนของเปลือกต้นด้านใน  โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ  ตากให้แห้ง  เปลือกประดู่แห้ง  3  กิโลกรัม  สามารถย้อมเส้นใยได้ 1 กิโลกรัม นำมาต้มกับน้ำในอัตราส่วน  1:10  นาน  1  ชั่วโมง  กรองใช้เฉพาะน้ำ

ขั้นตอนการยอมไหมมัดหมี่ ใส่เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ  คนให้เข้ากันแล้วนำเส้นไหมลงไปแช่  ประมาณ  20 นาที ระหว่างแช่นั้นให้คุกเคล้าให้สีเข้าทั่วเส้นไหม  จากนั้นนำขึ้นตั้งไฟ  ต้มอีกประมาณ  20  นาที  เมื่อครบเวลาแล้วนำลงมาล้างด้วยน้ำเปล่า นำไปตากให้แห้ง

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลขบวนการในการผลิตผ้าไหมตั้งแต่เริ่มจนได้ผ้าไหม  ในวันที่  26  พฤศจิกายน  2564  ณ  บ้านหนองขวางน้อย  หมู่ที่ 7  ตำบลพระครู  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  ในการลงเก็บข้อมูลในครั้งนี้  ได้เก็บข้อมูลในการคัดเลือกพันธ์ต้นหม่อน  ซึ่งชาวตำบลพระครูนิยมปลูกพันธ์บุรีรัมย์ 60   การเตรียมเดินในการปลูกปลูกต้นหม่อน  วิธีการปลูก   การเลี้ยงไหมมีกี่ระยะ  การมัดหมี่ต้องมัดแบบไหน  ใช้เชือกฟางเป็นวัสดุในการมัดหมี่เพื่อไม่ไห้น้ำเข้าลำหมี่ได้  ในการย้อมผ้าต้องย้อมแบบไหนใช้สีอะไร  การผสมสีที่เราต้องการ  และขั้นตอนการทอผ้าไหมต้อง

  1. การค้นเครือเส้นยืน – นำเส้นไหมยืนที่ได้จากการลอกกาวไหม ย้อมสีบนพื้นเส้นไหมเอาเข้ากรงกรอเส้นไหมเข้าอัก นำเส้นไหมที่ถูกกรอด้วยอักเข้าเส้นฟืมเพื่อคันเส้นยืนเตรียมทอ
  2. เตรียมฟืมทอผ้า – พอเส้นยืนค้นเครือเสร็จก็จัดเรียงเข้าฟันหวี แต่ละช่องใสด้ายประมาณ 2 เส้นหรือตามถนัด ขึงด้ายให้ตึง จัดเรียงให้เรียบร้อยแล้วเก็บตะกอ เมื่อจัดเรียงเส้นยืนเรียบร้อยใช้น้ำแป้งข้าวหรือแป้งมันสำปะหลังพรมหรือชุบผ้าทาให้ทั่ว เสร็จปล่อยให้แห้ง ทาด้วยขี้ผึ้งไม่ก็ไขสัตว์ เพื่อให้ด้ายลื่น แข็งแรง ไม่ขาดง่าย ไม่เป็นขุย
  3. เตรียมเส้นพุ่ง ประกอบไปด้วย

–  ค้นเส้นพุ่ง ใช้โฮงมัดหมี่โบราณที่มีไม้หลัก 2 อัน ค้นเส้นพุ่งแต่ละลายลำจะไม่เท่ากัน แต่ละลำมีด้าย 4 เส้น ทำไพคั่นกลางระหว่างลำไว้ ปกติจะค้นประมาณ 2 รอบ พอเสร็จก็มัดหัวลำตามไพ

–  มัดหมี่ มัดตามจุดจากลายที่ออกแบบด้วยเชือก แต่นิยมใช้เชือกฟาง เพราะซื้อง่าย สะดวก นำเส้นไหมออกจากโฮงย้อมสีตามครั้งของเฉดที่ต้องการหรือตามมัดหมี่ไว้ แต่ตรงที่มัดหมี่ต้องไม่ติดสี ส่วนการย้อมสีซ้ำต้องย้อมหลังการตากแดดครั้งแรกให้สีแห้งก่อน

–  การมัดหมี่ เริ่มด้วยการมัดเก็บขาว แบ่งได้ 2 วิธี คือ มัดทุกลายในหัวหมี่เดียวกัน กับ มัดแยกแต่ละลายในหัวหมี่แล้วต่อตอนทอผ้า

–  กรอกเส้นไหม้เข้าหลอด – นำหัวมัดหมี่ที่แกะเชือกใส่ในกงทำการกรอเส้นไหมเข้าอักเข้าหลอดด้ายด้วยไน ต้องมีการเรียงลำดับหลอดด้ายตามสีที่ออกแบบไว้ด้วย

  1. ทอผ้ามัดหมี่ การทอไหมเริ่มเมื่อเตรียมฟืมและเส้นพุ่งเรียบร้อย ใช้หลอดด้ายที่ถูกเรียงลำดับจากเฉดสีหรือลายเอาไว้แล้วใส่ในกระสวยสำหรับทอด้วยพุงกระสวยผ่านตัวร่องสลับของลำไหมไปมาเลื่อยๆ ซ้ายขวาจนสุดเส้นยืน

อื่นๆ

เมนู