ข้าพเจ้า นางสาวสุกัญญา เชยรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

ในวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านพร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ได้รับเกียรติจาก คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น วิทยากรประจำการอบรมผ้าไหมมัดหมี่อัตลักษณ์ชุมชนตำบลพระครู ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ลายผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ และเทคนิคขั้นตอนในการย้อมสีธรรมชาติกับสีเคมีให้แก่หมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา

                                                             

ลายผ้าไหมคลุมไหล่บ้านหนองมะค่าแต้          ลายผ้าไหมคลุมไหล่บ้านหนองขวาง                          ลายผ้าไหมคลุมไหล่บ้านชุมทองพัฒนา

                                               

        

 

 

 

ในวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ย้อมสีเส้นไหมมัดหมี่ โดยใช้สีจากธรรมชาติ ได้รับเกียรติจาก คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น เป็นวิทยากรประจำการอบรมผ้าไหมมัดหมี่อัตลักษณ์ชุมชนตำบลพระครู ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองขวาง หมู่7 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่9 และบ้านชุมทองพัฒนา หมู่13

การย้อมสีจากธรรมชาติ

โดยส่วนใหญ่ได้มาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ผล ลำต้น แก่น ดอกไม้และรากไม้ ซึ่งจะมีกรรมวิธีในการเตรียมน้ำย้อมสีและวิธีการย้อมสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและส่วนที่นำมาใช้ในการย้อมสี

ข้อดีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมืองสีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย

สีที่ได้จากธรรมชาติ

   

แกนจากขนุน                                                              เปลือกจากสมอ                                                              ใบจากยูคาลิปตัส

         

ต้นกล้วยสับ                                                                 โคลน                                                        เปลือกจากประดู่

 

การย้อมสีจากสีเคมีหรือสีสังเคราะห์

 เป็นสีที่มีความบริสุทธิ์ของตัวสีมาก สามารถนำสีเหล่านั้นมาผสมให้ได้สีตามที่ต้องการและปรับระดับความเข้มของสีได้ วิธีการย้อมทำได้ง่ายและสะดวก สีที่ย้อมได้จะมีความสดสวยและมีความทนทานของสีดี สีสังเคราะห์ที่นำมาย้อมมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติของสีย้อม กรรมวิธีการย้อม คุณภาพสีย้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การนำมาใช้ประโยชน์จะต้องให้เหมาะสม

เนื่องการย้อมนี้เป็นการย้อมโดยใช้สีเคมี ดังนั้นควรสวมถุงมือทุกครั้ง เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดการแพ้ได้ ซึ่งในสมัยก่อนคนนิยมใช้สีจากธรรมชาติซะส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่

แต่ข้อดีของสีเคมี คือหาซื้อง่าย เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี

สารเคมี

            

สารคอปเปอร์ซัลเฟต                                                                 สารส้ม                                                                      เกลือเคมี

การย้อมเย็น

       

1.ในการย้อมเย็นจะใส่เกลือเคมี 2 ช้อนโต๊ะ  

 

  2.คนให้ละลายจะใช้เวลาในการย้อมเย็น 2. นาที

                                                            3.ในระหว่างการย้อมจะต้องนวดเส้นไหมเพื่อให้สีซึมติดไหมได้ง่าย แต่ถ้าหากอยากได้สีเข้มๆก็ต้องใช้เวลาในการแช่เส้นไหมเป็นเวลานานเพื่อให้ได้สีเข้มๆตามที่ต้องการ

การย้อมร้อน

        

                     1.ในการย้อมร้อนจะต้องต้มน้ำร้อนประมาณ 1ชั่วโมง รอให้น้ำร้อนเดือดก่อนค่อยจับเวลายกเส้นไหมขึ้น 

2.จะต้องยกไหมขึ้นนวดทุก 5 นาที จะทำให้ไหมไม่ด่าง ยิ่งใช้เวลานานสียิ่งเข้ม

                                                               3.เมื่อย้อมร้อนเสร็จ ให้นำไปล้างน้ำเปล่าที่ผสมน้ำยาล้างจานประมาณ 2 หยด

   

4.บิดหมาดๆกระตุกไหมให้เรียงเส้น 2-3ครั้ง

 

             

 

                          5.แล้วนำไปใส่ราวพึงให้แห้งในที่ร่ม

 

 

อื่นๆ

เมนู