ข้าพเจ้า นายกันตวิชญ์ ตีชัยรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลพระครู  อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรม ณ หมู่บ้านหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ ยุพาวดี อาจหาญ, อาจารย์ ทิพวิลย์ เหมรา ร่วมด้วยรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ อาจารย์ ชมพู อิสริยาวัฒน์ และอ.สมยงค์ โสมอินทร์ ได้ลงพื้นเพื่อไปเข้าร่วมกิจกรรมต่อจากครั้งที่แล้วที่ได้มีการเรียนรู้ขั้นตอนการขึ้นโครงไหมมัดหมี่ และขั้นตอนรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์  และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม คุณ กฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่นได้อธิบายและสาธิตการย้อมสีผ้าไหมมัดหมี่ รวมถึงเทคนิคต่างๆในการย้อมสีให้กับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มทำผ้าไหมมัดหมี่ ทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้  หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อยและหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา  โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเตรียมอุปกรณ์ การย้อมสี การต้ม การจุ่มสี การทำส่วนผสมและต่างๆ

การย้อมสีเส้นไหม

การย้อมสีเส้นไหม คือ กรรมวิธีทำให้ผ้าไหมมีสีต่าง ๆ โดยนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำต้ม โดยสีย้อมไหมที่มีคุณภาพดี ถ้าหากต้องการให้ผ้าไหมมีหลาย ๆ สีเพิ่มขึ้น เมื่อย้อมหมี่ด้วยสีย้อมไหมเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำไป “โอบหมี่” คือการใช้เชือกฟางเล็ก ๆ พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ ตามแบบลายมัดหมี่ การโอบ (พัน) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลาย ๆ รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด (จะล้างออกเฉพาะบริเวณที่ไม่ถูกมัดหรือโอบเท่านั้น) โดยเติม “ด่างเหม็น” (ผงด่างที่มีกลิ่นเหม็น) หมี่ส่วนที่โอบหรือมัดไว้ จะคงสีตามเดิมส่วนที่ไม่ถูกโอบหรือมัดจะถูกล้างออกเป็นสีขาว นำไปย้อมเป็นสีอื่นอีกครั้งหนึ่งตามต้องการ บางสีเมื่อย้อมและนำไปโอบ (พัน) เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องนำไปล้างออก ใช้สีอื่นย้อมทับลงไปเลยก็ได้

การกำหนดสีของลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ อย่างเช่น ลวดลายที่ออกแบบไว้จะประกอบด้วยสีทั้งหมดจำนวน 4 สี คือ สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีน้ำตาลแดง ให้เริ่มทำการมัดเก็บส่วนของลวดลายที่เป็นสีขาวทั้งหมด จากนั้นนำไปย้อมสีเหลือง และทำการมัดเก็บสีเหลืองตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ทำการย้อมทับสีเหลืองส่วนที่เปิดไว้ด้วยสีแดง ทำการมัดเก็บส่วนสีแดงที่ต้องการไว้ตามลวดลาย ส่วนสีแดงที่เหลือก็คือส่วนที่เป็นสีพื้นของผ้ามัดหมี่ ย้อมสีในน้ำอุณหภูมิปกติ ในรอบแรกเพื่อให้สีติดในเส้นไหมได้ดีมากขึ้น

จากนั้นให้นำหัวหมี่ไปต้มในน้ำร้อนกับสารกันด่างเพื่อที่จะให้สีติดเส้นไหมได้มากขึ้น จากนั้นทำการย้อมสีเทาทับสีแดง ส่วนที่เป็นสีพื้นก็จะทำให้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง

จากนั้นนำหัวหมี่ไปล้างน้ำสะอาดจนกระทั่งแน่ใจว่าน้ำสีออกหมดก็จะได้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง นำหัวหมี่ที่มัดลวดลายและย้อมครบทั้ง 4 สีตามกำหนดแล้ว ไปตากผึ่งให้แห้ง จากนั้นให้ทำการแกะเชือกฟางส่วนที่เหลือออกทั้งหมด พร้อมทั้งใช้มือทำการแยกเส้นไหมที่เกาะติดกันอันเนื่องมาจากการมัดและการย้อมสี ทำการกรอเส้นไหมเข้าหลอด พร้อมทั้งเรียงหลอดตามลำดับที่กรอไว้ นำหลอดเส้นไหมที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้วไปใส่ในกระสวยเพื่อทอต่อไป

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการแนะนำวิธีการการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานครั้งถัดไป ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Microsoft Team  ซึ่งของกลุ่มตำบลพระครูนั้นอยู่ในความดูแลของคณะมนุษญศาสตร์ฯ ซึ่งต้องเข้าร่วมรับฟังการแนะนำในครั้งนี้ ในเวลา 13.40 น  ซึงใช้เวลาในการฟังคำแนะนำนั้นเป็นเวลาราวๆ 40 นาที

วันที่ 5-7 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูล Covid ประจำเดือนกรกฎาคม  ตามแบบสำรวจ 4 เรื่องตามลิ้งที่ได้ให้มา เรื่องที่ให้มามีดังต่อไปนี้

  1. ที่พักอาศัย
  2. ตลาด
  3. ศาสนสถาน
  4. โรงเรียน

ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ในตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ได้แก่ หมู่ที่ 2 บ้านโบย หมู่ที่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ที่ 10 บ้านแก่นเจริญ

อื่นๆ

เมนู