ข้าพเจ้านางสาวเกศรินทร์ อินทร์คงงาม กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

   ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การย้อมสีลายผ้าไหมมัดหมี่อัตลักษณ์ชุมชน ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ออกแบบโดย นายกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา โดยจัดการอบรม ณ บ้านหนองมะค้าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 

การย้อมสีเส้นไหม

       การย้อมสีเส้นไหม คือ กรรมวิธีทำให้ผ้าไหมมีสีต่าง ๆ โดยนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำต้ม โดยสีย้อมไหมที่มีคุณภาพดี ถ้าหากต้องการให้ผ้าไหมมีหลาย ๆ สีเพิ่มขึ้น เมื่อย้อมหมี่ด้วยสีย้อมไหมเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำไป “โอบหมี่” คือการใช้เชือกฟางเล็ก ๆ พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ ตามแบบลายมัดหมี่ การโอบ (พัน) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลาย ๆ รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด (จะล้างออกเฉพาะบริเวณที่ไม่ถูกมัดหรือโอบเท่านั้น) 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการย้อม มีดังนี้

1.หม้อสแตนเลส  หม้อเคลือบ หรือกระทะใบบัว

2.เตาไฟจะเป็นเตาฟืนหรือเตาแก๊ส

 

3.ไม้กวน

 

4.ห่วงที่ทำจากสแตนเลส หรือท่อพลาสติกอ่อน ไว้สำหรับแขวน หรือคล้องเส้นไหม

   

5.ถุงมือยาง เทอร์โมมิเตอร์ เขียง มีด ครก (สำหรับตำครั่ง) ราว (สำหรับตาก)

 

6.กะละมัง หรือถังพลาสติก สำหรับล้างผ้า หรือเส้นด้ายก่อนย้อมและหลังย้อม

7.สีย้อม

 โดยในการย้อมไหม ทั้ง 3 หมู่บ้านได้ทำการโอบสีตามลายที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อให้ได้ตามสีที่ต้องการ โดยเริ่มต้นจากการกำหนดสีของลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ อย่างเช่น ลวดลายที่ออกแบบไว้จะประกอบด้วยสีทั้งหมดจำนวน 4 สี คือ สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีน้ำตาลแดง ให้เริ่มทำการมัดเก็บส่วนของลวดลายที่เป็นสีขาวทั้งหมด จากนั้นนำไปย้อมสีเหลือง และทำการมัดเก็บสีเหลืองตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ทำการย้อมทับสีเหลืองส่วนที่เปิดไว้ด้วยสีแดง ทำการมัดเก็บส่วนสีแดงที่ต้องการไว้ตามลวดลาย ส่วนสีแดงที่เหลือก็คือส่วนที่เป็นสีพื้นของผ้ามัดหมี่ จากนั้นให้นำหัวหมี่ไปต้มกับสารกันด่างเพื่อที่จะลดความเข้มของระดับสีแดงลง จากนั้นทำการย้อมสีเทาทับสีแดง ส่วนที่เป็นสีพื้นก็จะทำให้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง จากนั้นนำหัวหมี่ไปล้างน้ำสะอาดจนกระทั่งแน่ใจว่าน้ำสีออกหมดก็จะได้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง นำหัวหมี่ที่มัดลวดลายและย้อมครบทั้ง 4 สีตามกำหนดแล้ว ไปตากผึ่งให้แห้ง  

ตั้งไฟปานกลาง พอร้อนมีควันไม่ถึงกับเดือด ใส่สารช่วยย้อมสีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องการ โดยการทดลองสีกันก่อน หากต้องการสารช่วยย้อมอย่างใดอย่างหนึ่งจึงลือกใส่ลงไปพร้อมน้ำย้อมที่ได้ โดยปริมาณการใช้สารช่วยย้อม                        

 

ในเดือนสิงหาคมพวกเราทีมงานตำบลพระครูได้ทำการลงสำรวจข้อมูลเก็บแบบสำรวจเกี่ยวกับการแพร่ระบากของไวรัสโควิดเพิ่มเติม โดยมีทั้งหมด 4 ชุดได้แก่

      -แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย 

      -แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด 

      -แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน

      -แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน 

ซึ่งการลงพื้นที่เราได้ลงพื้นที่สำรวจในส่วนของตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการลงพื้นที่สำรวจแต่ละหมู่บ้านนั้นยังคงมีมาตรการที่เคร่งครัดเหมือนเดิม เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดยังคงมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแต่ละครั้งในการลงพื้นที่สำรวจหรืออบรมเราได้คำนึงความปลอดภัยเสมอ โดยการส่วมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้ยเจลแอลกอฮอลล์ทุกครั้งที่ลงพื้นที่

 

อื่นๆ

เมนู