1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS09 - ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. HS09 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

HS09 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

ข้าพเจ้านางสาวมณฑิตา ศิรินภาพร กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วในประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำกลุ่มตำบลพระครู ได้แก่ อาจารย์ ยุพาวดี อาจหาญ และ อาจารย์ ทิพวัลย์ เหมรา ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564  กลุ่มตัวแทนได้ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการใน เรื่อง การย้อมสีลายผ้าไหมมัดหมี่อัตลักษณ์ ชุมชน ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ออกแบบโดย นาย กฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ และ หมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา

การย้อมสีเส้นไหม

การย้อนสีเส้นไหม คือ กรรมวิธีทำให้ผ้าไหมมีสีต่างๆ โดยนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำต้ม โดยสีย้อมไหมที่มีคุณภาพดี ถ้าหากต้องการให้ผ้าไหมมีหลาย ก็สีเพิ่มขึ้น เมื่อย้อมสีหมี่ด้วยสีย้อมไหมเรีบยร้อยแล้ว ก็ต้องนำไป ” โอบหมี่ ” คือการใช้เชือกฟากเล็กๆ พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ ตามแบบลายมัดหมี่ การโอบ ( พัน ) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลายๆ รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด (จะล้างออกเฉพาะบริเวณที่ไม่ถูกมัดหรือโอบเท่านั้น) การมัดหมี่ย้อมสีสังเคราะห์หรือสีเคมี โดยทั้ง 3 หมู่บ้านได้ทำการโอบสีตามที่ได้ ออกแบบไว้ เพื่อให้ได้สีที่ต้องการ โดยเริ่มต้นโดยการกำหนดสีของลวดลายที่ได้ออกแบบไว้อย่างเช่น ลวดลายที่ออกแบบไว้จะประกอบด้วยสีทั้งหมดจำนวน 4 สี คือ สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีน้ำตาลแดง ให้เริ่มทำการมัดเก็บส่วนของลวดลายที่เป็นสีขาวทั้งหมด จากนั้นนำไปย้อมสีเหลือง และทำการมัดเก็บสีเหลืองตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ทำการย้อมทับสีเหลืองส่วนที่เปิดไว้ด้วยสีแดง ทำการมัดเก็บส่วนสีแดงที่ต้องการไว้ตามลวดลาย ส่วนสีแดงที่เหลือก็คือส่วนที่เป็นสีพื้นของผ้ามัดหมี่ จากนั้นให้นำหัวหมี่ไปต้มกับสารกันด่างเพื่อที่จะลดความเข้มของระดับสีแดงลง จากนั้นทำการย้อมสีเทาทับสีแดง ส่วนที่เป็นสีพื้นก็จะทำ ให้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง จากนั้นนำหัวหมี่ไปล้างน้ำสะอาดจนกระทั่งแน่ใจแล้วว่าน้ำสีออกหมดแล้วก็จะได้สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแดง นำหัวหมี่ที่มัดลวดลายและย้อมครบทั้ง 4 สี ตามกำหนดแล้ว ไปตากผึ่งให้แห้ง และเป็นการแล้วเสร็จในการย้อมสีเส้นไหม

 

 

 

และในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการแนะนำวิธีการการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานครั้งถัดไป ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Microsoft Team  ซึ่งของกลุ่มตำบลพระครูนั้นอยู่ในความดูแลของคณะมนุษญศาสตร์ฯ ซึ่งต้องเข้าร่วมรับฟังการแนะนำในครั้งนี้ ในเวลา 13.40 น  ซึงใช้เวลาในการฟังคำแนะนำนั้นเป็นเวลาราวๆ 40 นาที

และได้ในวันที่ 5-7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูล Covid ประจำเดือนกรกฎาคม  ตามแบบสำรวจ 4 เรื่องตามลิ้งที่ได้ให้มา เรื่องที่ให้มามีดังต่อไปนี้

  1. ที่พักอาศัย
  2. ตลาด
  3. ศาสนสถาน
  4. โรงเรียน

ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ในตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ได้แก่ หมู่ที่ 2 บ้านโบย หมู่ที่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ที่ 10 บ้านแก่นเจริญ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู