โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ)

        ข้าพเจ้า  นางสาวอรนรี สมร่าง  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานพื้นที่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง   จังหวัดบุรีรัมย์        

         เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ฯ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา ชั้น 2 อาคาร 25 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.00 -16.00 น  นำโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำเนินการในการทำกิจกรรม อาจารย์ยุภาวดี อาจหาญ และอาจารย์ทิพวัลย์ เหมรา มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม คุณกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จ.ขอนแก่น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผ้าไหมมัดหมี่การเข้ารูป เทคนิคการลงสีผ้ามัดหมี่ และอธิบายขั้นตอนต่างๆที่สามารถทำให้ผ้าออกมาสวยงาม และได้ออกแบบลายอัตลักษณ์ของแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง3 หมู่บ้านที่ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของตำบลพระครูเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน โดยมีเรื่องราวของลายผ้ามัดหมี่และแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายผ้าแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้ 

เรื่องราวลายผ้าไหมมัดหมี่ของหมู่บ้านหนองขวางน้อย โดยกลุ่มชาวบ้านได้ตั้งชื่อลายผ้าไหมมัดหมี่ว่า (นาคล้อมตะวัน)

แรงบันดาลใจ มี4 ส่วน

  • จากพลังความปรองดองกลมเกลียวของชาวบ้าน
  • รูปลักษณ์ของความงาม แสงสว่างของพระอาทิตย์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านเพราะดั้งเดิมมีสระแนวยาวขวางพระอาทิตย์ (ขวงตะเว็น)
  • รูปลักษณ์ของภูมิศาสตร์ของพื้นที่ความอุดมสมบูรณ์
  • รูปลักษณ์การใช้สี อารมณ์ของสีละความหมายของสีที่ใช้สื่อความหมายและตีความ
    • สีเหลือง : สีของพระอาทิตย์
    • สีแดง : ความเป็นพี่น้องที่รักใคร่ของคนในชุมชน
    • สีมะขาม : ความขยันความมุมานะ
    • สีเขียว : ความอุดมสมบูรณ์ 
    • สีกรมท่า : ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

ลวดลายบนตัวซิ่นหรือผืนผ้า มีลักษณะดังนี้

  • โครงสร้างเรขาคณิต : พื้นที่หนองน้ำและรูปวงกลมสื่อถึงดวงอาทิตย์ที่เป็นที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
  • ลายนาเกี้ยวเกี้ยว : เป็นตัวแทนความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ศาสนางานบุญประเพณีวัฒนาธรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ (ฮีต 12 คลอง 14) อีสาน

ลวดลายประกอบตีนซิ่น ส่วนที่หนึ่ง เมื่อประสงค์จะทำเป็นผ้าซิ่น มีลักษณะดังนี้

  • ลายโคม , ดอกไม้ : สื่อถึงจุดเด่นในการประกอบอาชีพ เลี้ยงไหม ทอผ้าที่สืบทอด 

เรื่องราวลายผ้าไหมมัดหมี่ของหมู่บ้านบ้านหนองมะค่าแต้ โดยกลุ่มชาวบ้านได้ตั้งชื่อลายผ้าไหมมัดหมี่ว่า ( ช่อดอกแต้ ) 

แรงบันดาลใจ มี 4 ส่วน

  • จากพลังความรัก ความสามารถของปู่ ย่า ตา ยาย
  • รูปลักษณ์ของความงาม(ต้นมะค่าแต้)ที่พบในพื้นที่ก่อนตั้งถิ่นฐาน
  • รูปลักษณ์ของภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์
  • รูปลักษณ์การให้สี อารมณ์ของแต่ละสี ความหมายของสีที่ใช้สื่อความหมายและตีความ
    • สีเหลือง : สีของดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่คนในชุมชนมีรายได้ มีอาชีพ
    • สีแดงเลือด : ความอดทน ความขยัน
    • สีเม็ดมะขาม : ความสำเร็จ
    • สีเขียว : ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

ลวดลายบนตัวซิ่นหรือผืนผ้า มีลักษณะดังนี้

  • ลายดอกดาวเรือง : ความรุ่งโรจน์ มั่งคั่ง รุ่งเรือง
  • ขอดอกแต้ : ความสามัคคีเกาะเกี่ยวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ลวดลายประกอบตีนซิ่น ส่วนที่หนึ่ง เมื่อประสงค์จะทำเป็นผ้าซิ่น

  • พื้นที่หนองน้ำ : อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ เกษตรกรรม
  • สื่อแทนต้นมะค่าแต้ : ส่วนประกอบของใบมะค่าแต้ ช่อดอกมะค่าแต้ เป็นที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน

เรื่องราวลายผ้าไหมมัดหมี่ของหมู่บ้านชุมทองพัฒนา โดยกลุ่มชาวบ้านได้ตั้งชื่อลายผ้าไหมมัดหมี่ว่า (ชุมทองระย้า)

แรงบันดาลใจ มี 3 ส่วน

  • พลังความรักและความสามัคคีในการรวบรวมและก่อตั้งหมู่บ้านโดยแยกชุมชนมาจากบ้านม่วงเหนือ,โคกยายทอง,วัดป่าชุมทองตั้งหมู่บ้านด้วยตนเองเป็น บ้านชุมทอง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และมีเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ที่โดดเด่นในภาษาถิ่นของชุมชนคือ ภาษาเขมร
  • รูปลักษณ์และความงามของชาติพันธ์ุที่เป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ของตำบลพระครู มีประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
  • รูปลักษณ์การใช้สี อารมณ์ของแต่ละสีความหมายของสีที่ใช้สื่อความหมายและตีความ
    • สีเหลือง : สีของความเชื่อในการสืบทอดภูมิปัญญาประเพณีทางด้านพิธีกรรมทางศาสนา
    • สีแดง : ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวความสามัคคีของคนในชุมชน 
    • สีเขียว : ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ 
    • สีขาวมันปู : สีของความคร่งครัดในด้านชาติพันธ์ุของชุมชนอย่างเหนียวแน่น

ลวดลายหลักบนตัวซิ่นหรือผืนผ้า มีลักษณะดังนี้

  • ลายทับทรวง : ลูกหลานที่แตกหน่อก่อชาติพันธ์ุ รายล้อมบรรพบุรุษที่หวงแหน
  • ลายโคมระย้า : ของมีค่าที่มีความหมายในการตั้งชื่อหมู่บ้าน
  • ลายขอกระจอน : ความสามัคคีเกาะเกี่ยวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ลวดลายประกอบตีนซิ่น ส่วนหนึ่ง เมื่อประสงค์จะทำเป็นผ้าซิ่น มีลักษณะดังนี้

  • ลายขอดาวพวงระย้า : ความงามของเครื่องประดับสื่อไปถึงคนในชุมชนมีความเคร่งครัดในประเพณีความเชื่อของชาติพันธ์ุ
  • ลายโคมดอกผักกะแยง : ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เกษตรกรรมการประกอบอาชีพทำนา

   ทั้งนี้ วิทยากรยังให้เทคนิคต่างๆในการลงสีผ้าไหมมัดหมี่ การใช้ส่วนผสมรวมถึงเทคนิคต่างๆ และในการดำเนินกิจกรรม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์ฯ ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม และ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ อาจารย์ ชมพู อิสริยาวัฒน์ ได้เข้าร่วมเปิดงานกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ฯ ในช่วงเช้า

    

ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564  กลุ่มปฏิบัติประเภทบัญฑิตจบใหม่ได้รับมอบหมายให้จัดทำคลิปวีดีโอช่วยรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และได้ประชุมกันเรื่องการวางแผนและเตรียมการ ในการทำคลิปวีดีโอ 

ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564  เข้าร่วมกิจกรรม “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักคือ การเสวนาป่าชุมชน เเละ การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 20 ไร่บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์

ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ได้มีการแบ่งบรรจุหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์เพื่อแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนตำบลพระครู และรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  ในหัวข้อกิจกรรม รุกคลีนพื้นที่เคลียเชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน 

โดยมีขั้นตอน 3 Step ดังนี้

Step 1  คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย

กำจัดเชื้อ ขจัดโควิด

Step 2  สร้าง SAFE ZONE

เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด

Step 3  จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม

กับสถานะการณ์โควิด-19

อื่นๆ

เมนู