ประจำเดือนพฤษภาคม

ข้าพเจ้า นางสาว สมร ดีรบรัมย์  ประเภทประชาชน  ตำบลพระครู  อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล

เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 

           จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการรายตำบล 1ตำบล 1มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ ดิฉัน นางสาว สมร ดีรบรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานภาคประชาชนตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เวลา 13.00 น. ของวันที่ 25 เมษายน 2564 อาจารย์ ยุพาวดี อาจหาญ อาจารย์ ทิพวัลย์ เหมรา ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่เพื่อที่จะอบรมเรื่องการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลพระครูเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนวันที่ 26 เมษายน 2564 และเวลา 9.00 น. ของวันที่ 26 เมษายน 2564 ดิฉันและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ลงพื้นที่อบรมเรื่องการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลพระครูเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนร่วมกับคณะอาจารย์และวิทยากร 1 ท่าน ณ วัดบ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 9 ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทางมหาวิทยาลัยได้เชิญ นาย กฤษกร แก้วโบราณ มาเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมมัดหมี่เพื่อมาพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชน และทางมหาวิทยาลัยได้เชิญหมู่บ้าน 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้  หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อยและหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนาเข้าอบรมในครั้งนี้ด้วยดิฉันและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเข้าอบรมในครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่มากขึ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนมากขึ้นและในช่วงบ่ายเวลา 13.00 นาย กฤษกร แก้วโบราณวิทยากรให้กลุ่มทอผ้าไหมทั้ง 3 หมู่บ้านเขียนประวัติความเป็นมาของแต่ละหมู่บ้านและให้ออกมาบรรยาย

 

 

 

 

 

 

 

 

          1. ประวัติบ้านชุมทองพัฒนา บ้านชุมทองพัฒนาถิ่นฐานเดิมได้แยกออกมาจากบ้านม่วงเหนือมาเป็นบ้านโคกยายทองมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านมาเป็นบ้านวัดชุมทองและมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านอีกครั้งมีชื่อว่าบ้านชุมทองพัฒนาบ้านชุมทองพัฒนามีประเพณีทำบุญตักบาตรหมู่บ้าน,ขึ้นศาลตาปู่,ของขึ้นชื่อ คือ การทอผ้าไหม,ทำขนม

          2. ประวัติบ้านหนองขวางน้อย ถิ่นฐานเดิมมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองยางหมู่ 4 ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์จากนั้นได้ย้ายออกมาจากบ้านหนองยางมาตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านหนองขวาง บ้านหนองขวางน้อยมีประเพณี คือ มีบุญข้าวจี่,บุญผะเวด,บุญกุมข้าวใหญ่และบุญสงกรานต์หมู่บ้าน จุดเด่นของหมู่บ้าน คือ เลี้ยงไหม,ทอผ้าไหมมัดหมี่,ปลูกผัก,ปลูกหม่อนแปลงใหญ่

          3. ประวัติบ้านหนองมะค่าแต้ ถิ่นฐานเดิมมาจากจังหวัดอุบลราชธานีมีคุณปู่คุณตาเดินทางมาถึงหมู่บ้านหนึ่งได้แวะเข้าพักหมู่บ้านนี้คุณปู่คุณตาได้มองดูบริเวรรอบๆสิ่งที่เห็นคือมีหนองขนาดใหญ่มีต้นแต้คุณปู่คุณตาก็เลยตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านหนองมะค่าแต้ บ้านหนองมะค่าแต้มีประเพณี คือ บุญบั้งไฟ,ตักบาตรเทโว มีอาชีพหลัก คือ ทำนา,ทำไร่ทำสวน ไร่อ้อย ปลูกดอกดาวเรือง ปลูกผัก

           เวลา 10.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่สอบถามเรื่องการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองมะค่าแต้เพิ่มเติมดิฉันเข้าไปหาประธานของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้ประธานของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้ คือ นาง ลำดวน แสนสมบัติ (ป้าดวน)และรองประธานของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้ คือ นาง อุดม แสนสมบัติ (ป้าอุดม) ป้าทั้ง2คนได้ให้ข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับการสาวไหมป้าอุดมอธิบายให้ดิฉันฟังว่าป้าอุดมได้เลี้ยงหม่อนในกระด้งใหญ่หลายกระด้งที่จะให้เป็นรังไหมเพื่อให้ออกมาเป็นหลอดจากนั้นให้เอามาใส่ในหม้อที่ตั้งน้ำไว้แบบน้ำร้อนๆเดือดๆน้ำต้องร้อนเพื่อที่เส้นไหมออกมาเป็นเส้นสวยๆถ้าน้ำไม่ร้อนไม่เดือดจะทำให้เส้นไหมขาดและออกมาไม่เป็นเส้นที่สวยงามที่ป้าต้องการหลังจากได้ไหมออกมาเป็นเส้นป้าทั้ง 2 คนเอาเส้นไหมที่สาวมาฝอกฝอกเสร็จเอามากวักหลังจากกวักเสร็จเอามาย้อมสีที่เราต้องการเป็นอันเสร็จกับขั้นตอนการสาวไหมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองมะค่าแต้

และในช่วงบ่ายของวันที่ 6-10 ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจงานผ่านแอพ CBD มีทั้งหมด 10 หัวข้อได้แก่

         1. ผู้ที่ย้ายกลับมาที่บ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด       

         2. แหล่งท่องเที่ยว

         3. ที่พัก/โรงแรม

         4. ร้านอาหารในท้องถิ่น

         5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

         6. เกษตรกรในท้องถิ่น

         7. พืชในท้องถิ่น

        8. สัตว์ในท้องถิ่น

        9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

        10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

         ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจผ่านแอพ CBD ส่วนมากมีข้อมูลในข้อ 6,7,8,9,10 ส่วนมากชาวบ้านทำการเกษตร ทำนา,ทำไร่,ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว,ควาย,ม้า,ปลานิล,เป็ด,ไก่พันธุ์ไข่,ไก่บ้าน,สุนัขม,แมว,เลี้ยงหอย ปลูกพืชผักสวนครัว มีแหล่งน้ำใช้ที่เดียวกันและในเวลาว่างชาวบ้านแต่ละหลังคาเรือนมีอาชีพเสริมทำนั่นก็ คือ ทอผ้าไหม,จักรสาน,ทอเสื่อ,สานไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นต้น ส่วนในข้ออื่นๆไม่มีข้อมูลในหมู่ 5,8,13

 

 

 

อื่นๆ

เมนู