1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS09 - ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. HS09 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

HS09 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

ข้าพเจ้า นางสาวกฤษณา ความรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน รวมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products)”  วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา (ชั้น2) อาคาร25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  อบรมในหัวข้อเรื่อง Story ลายผ้ามัดหมี่ อัตลักษณ์ชุมชน ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ออกแบบโดย นายกฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีหมู่บ้านมี่เข้าร่วม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อย และหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา

ลายผ้ามัดหมี่ที่ออกแบบโดย คุณกฤษกร แก้วโบราณ ทั้งสามหมู่บ้านเกิดจากการจัดกิจกรรมที่มีการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของแต่ละหมู่บ้านที่แฝงเข้าไปจึงทำให้เกิดลวดลายออกมา ที่เรียกว่า “ลายอัตลักษณ์ผ้ามัดหมี่”  โดยมีกิจกรรมให้แม่ๆกลุ่มทอผ้าไหม ได้ร่วมระดมความคิดกันตั้งชื่อผ้ามัดหมี่ประจำหมู่บ้านของตน มีชื่อดังนี้

– บ้านหนองขวางน้อย ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “นาคล้อมตะวัน”

– บ้านหนองมะค่าแต้ ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “ช่อดอกแต้”

-บ้านชุมทองพัฒนา ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “ชุมทองระย้า”

อีกทั้งยังได้มอบลายผ้าไหมประจำหมู่บ้านและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำผ้าไหมต้นแบบให้แก่กลุ่มทอผ้า เพื่อนำเส้นไหมไปย้อมสีและทำการฟอกสี สำหรับเตรียมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ประจำชุมชน ในการอบรมครั้งต่อไป

ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน รวมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ดำเนินกิจกรรมพิเศษ COVID19 WEEK ในพื้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือ โดยกิจกรรมเชิงรุก คือ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” โดยจะเน้นการเข้าไป เคลียร์พื้นที่ทำความสะอาด เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้สามารถลงพื้นที่ เข้าไปปฎิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยจะมี 3 Step คือ

Step ที่ 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด

Step ที่ 2 สร้าง Safe Zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด

Step ที่ 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม กับสถานการณ์

กิจกรรมต่อมา เป็นกิจกรรมเชิงรับมือ คือ “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดของโรค” โดยชาว U2T จะร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด ด้วยการ

– ศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน

– เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติก่อน และหลังฉีดวัคซีน

– เร่งสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เร่งสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้ และคนในชุมชนได้รับการฉัดวัคซีน

การรวมพลังฉีดวัคซีนของชาว U2T ในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนกลับมาใช้ชีวิตกัน อย่างปกติในเร็ววัน

อื่นๆ

เมนู