1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS09 - ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. HS09 โครงการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ค.64)

HS09 โครงการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ค.64)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ)

        ข้าพเจ้า  นางสาวอรนรี สมร่าง  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานพื้นที่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง   จังหวัดบุรีรัมย์        

           ลงพื้นร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน   ณ วัดบ้านหนองมะค่าแต้  ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ นำโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระครู นายวินัย นุรักษ์รัมย์ ได้มากล่าวเปิดงานในครั้งนี้  ทั้งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมมาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำผ้าไหมมัดหมี่ ให้กับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มทำผ้าไหมมัดหมี่ ทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้  หมู่ 7 บ้านหนองขวางน้อยและหมู่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา ได้มีการเรียนรู้ด้านการออกแบบลวดลาย ด้านการสร้างผลงานให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนโดยมุ้งเน้นความเป็นมาของแต่ละหมู่บ้าน และการสร้างมูลค่าของผ้าและลวดลายเพื่อเพิ่มจุดขายให้กับผู้ที่พบเห็นอยากจะได้จับจองผ้าไหมมัดหมี่ที่มีลวดลายสวยงามพร้อมสื่อความหมายเรื่องราวความเป็นมาของลายนั้นๆ       

                ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมทอดผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์/ยักษ์จับโจน ในเวลา 09.00 – 15.00 น   เข้าร่วมผ่านทาง  youtube   ในช่วงแรกเป็นการเปิดงาน ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์และการฟังบรรยายของ  อาจารย์ยักษ์ฯ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร)  อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านได้บรรยายถึงเรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง  และเป็นการฟังบรรยายของ นายโจน จันได  ท่านได้บรรยายถึงเรื่องกสิกรรมธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชาทางเลือกและทางรอด ที่มีแนวคิดการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและเศรษฐกิจ การใช้สตินำชีวิต ชีวิตที่มีความกลัวน้อยลง   

           ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในระบบเก็บข้อมูล U2T. ผ่านแอพ CBD  มีทั้งหมด 10 หัวข้อ

  ได้แก่

  1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  2. แหล่งท่องเที่ยว
  3. ที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  7. พื้นในท้องถิ่น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น
  9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

โดยได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 โบย หมู่ 9 บ้านหนองมะค่าแต้ หมู่ 10 บ้านแก่นเจริญ ของตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ทั้งนี้การลงพื้นได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างดี

อื่นๆ

เมนู