1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS09 - ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. HS09 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

HS09 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

ข้าพเจ้า นางสาวกฤษณา ความรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS09 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันเสาร์ ที่ 19 มิถุนายน 2564  ผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลายอัตลักษณ์ ณ บ้านหนองมะค่าแต้ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์       ได้รับเกียรติจาก คุณ กฤษกร แก้วโบราณ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น เป็นวิทยากรประจำการอบรมและสาธิตวิธีการมัดหมี่ อัตลักษณ์ชุมชนตำบลพระครู

                 

ลายผ้าที่สวยงามจะต้องได้รับการออกแบบอย่างถูกต้อง หรือมีการคิดค้นประยุกต์ลายให้เหมาะสมก่อนที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้า การออกแบบลายผ้ามีอุปกรณ์ ๓ อย่าง คือ สมุดกร๊าฟ ๑ เล่ม ดินสอดำ ยางลบ สีเทียน ๑ กล่อง การออกแบบมีขั้นตอนดังนี้

๑) ออกแบบผ้ามัดหมี่บนกระดาษกร๊าฟด้วยดินสอดำ ตามแต่จะต้องการแต่ละลาย เช่น

– มัดหมี่ชนิด ๓ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๕ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๗ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๙ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๑๓ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๑๕ ลำ

– มัดหมี่ชนิด ๒๕ ลำ

๒) ระบายสีตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ด้วยสีเทียนเพื่อให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

การออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่

บ้านหนองขวางน้อย ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “นาคล้อมตะวัน”

บ้านหนองมะค่าแต้ ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “ช่อดอกแต้” 

บ้านชุมทองพัฒนา ตั้งชื่อลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนว่า “ชุมทองระย้า”

มัดหมี่ เป็นวิธีการสร้างลวดลายจากการย้อมสีเส้นฝ้ายหรือไหมก่อนนำไปทอ โดยวางแผนออกแบบลายแล้วจึงมัดและย้อมทำลวดลายด้วยวิธีการใช้เชือกกล้วยหรือเชือกฟางมัดเส้นด้ายบริเวณที่ไม่ต้องการย้อมสี เพื่อให้เป็นไปตามลวดลายที่ต้องการก่อนที่จะนำไปย้อมและทอ วิธีการ “มัด” เส้นด้ายที่เรียกว่า “หมี่” จึงเรียกวิธีการนี้ว่า มัดหมี่ ผ้าที่ทอขึ้นจึงเรียกว่า ผ้ามัดหมี่  ไปด้วย

             

วิธีการค้นลายผ้ามัดหมี่ และมัดหมี่ ทำได้โดยนำเส้นด้ายสำหรับมัดหมี่ มาเข้าหลักมัดหมี่โดยสอดสลักเข้าไปที่หัวและท้ายแล้วขึงให้ตึงกับหลักทั้ง ๒ ข้าง เอาเชือกฟางมัดด้ายหมี่ตามที่ออกแบบไว้ การมัดนี้เพื่อป้องกันสีไม่ให้ซึมผ่านบริเวณที่ถูกมัดสีที่ติดอยู่จะติดอยู่กับบริเวณที่ไม่ถูกมัด

ภาพกิจกรรม 

วันพุธ ที่ 7 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid19 อาจารย์ผู้ดูแลประจำหลักสูตร ได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เก็บแบบสำรวจข้อมูล covid19 (ประเมินรอบเดือนมิถุนายน) โดยรายละเอียดแบบสำรวจ มี 4เรื่อง ได้แก่

1.ที่พักอาศัย

2. ตลาด

3. ศาสนสถาน

4. โรงเรียน

โดยได้สอบถามข้อมูลจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่บ้านหนองขวางน้อย  บ้านหนองยาง บ้านศรีปทุม และบ้านหนองกก ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมนเป็นอย่างดี

          

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู