ข้าพเจ้านางสาววิพาไล คันดุไล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ID12 ต.ทุ่งจังหัน อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร: ID12 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล

เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

ข้าพเจ้า ได้ดำเนินการสำรวจบ้านโนนสำราญ หมู่ 6 ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์  ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 จากสำรวจหมู่บ้าน พบว่า บ้านโนนสำราญมีเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย คือ

นางลำอิง สาวอุบล ปลูกกล้วยจำนวน 6 ไร่ สายพันธุ์ที่ปลูกมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ น้ำหว้า จำนวน 400 ต้น กล้วยไข่จำนวน 100 – 200 ต้น และเล็บมือนาง จำนวน 100 ต้น มีการจัดจำหน่ายกล้วยส่งให้พ่อค้าคนกลาง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป กล้วยน้ำหว้า กิโลกรัมละ 14 บาท กล้วยหอม กิโลกรัมละ 18 บาท กล้วยไข่ กิโลกรัมละ 12 บาท และกล้วยเล็บมือนางหวีละ 10-30 บาท รายได้แต่ละรอบที่ขายเฉลี่ย 2000 – 3000 บาท ในการปลูกกล้วยเกษตรกรมีขั้นตอนการปลูกกล้วย ดังนี้ 1.เตรียมหน่อ 2.รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 3.การให้น้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในส่วนปัญหาที่พบบ่อยของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย คือ ใบเหลือง ลมแรง ใบแตก เป็นต้น วิธีการแก้ไขของเกษตรกร คือ ถากทิ้ง

นอกจากนี้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยก็ได้ทำเกษตรผสมผสานอีกด้วย ซึ่งการทำเกษตรผสมผสานก็สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก

 

                                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลงพื้นที่สำรวจไร่เกษตรกร

อื่นๆ

เมนู