นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่
ดิฉันตัวแทนกลุ่ม A สบู่สมุนไพร ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้
1.นางสาวจุไรรัตน์ บันดิษรัมย์
2.นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง
3.นางสาวจริยา หมายบุญ
4.นายกฤษณะ แก้วงาม
ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 (โควิด-19) ในประเทศไทย เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกคนในประเทศต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้เป็นอย่างมาก มีการปิดประเทศ ปิดจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่กล้าไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน และหาแนวทางเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมากขึ้น บทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) มาตราการป้องกันและการฉีดวัคซีนของ หมู่ 1,12,14 และหมู่ 17 ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
มาตราการป้องกันตัวเองเบื้องต้น
–Normal hand washing (การล้างมือทั่วไป)
การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่ออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ชั่วคราวบนมือ การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานประมาณ 15 วินาที
-การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel)
การล้างมือในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก หรือสารคัดหลั่ง จากผู้ป่วย ให้ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลประมาณ 10 มิลลิลิตร ใช้เวลาประมาณ 15-25 วินาที (ในกรณีใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) ไม่ต้องล้างมือซ้ำด้วยน้ำและไม่ต้องเช็ดด้วยผ้าเช็ดมือ)
-การสวมใส่หน้ากากอนามัย
วิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ควรให้ด้านสีเข้มออกด้านนอกเสมอ คลุมให้ปิดจมูก ปาก คาง คล้องหูขยับให้พอดีกับใบหน้า กดลวดขอบบนให้สนิทกับสันจมูก โดยเปลี่ยนทุกวันและทิ้งลงในภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทั้งจากตนเองและผู้อื่น
(ที่มา:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php)
1.บทสัมภาษณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ในช่วงสถานการณ์ระบาด โควิค19 อสม.เองก็มีบทบาทอย่างมากในการดูแลสุขภาพของคนในหมู่บ้าน
-อสม.มีมาตรการอย่างไรในการรับมือสถานการณ์โควิค 19
อสม.ของแต่ล่ะหมู่บ้านจะเข้าไปทำความเข้าใจกับคนในหมู่บ้านในเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาด ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ให้ความรู้เบื้องต้นมาตรการ การดูแลตนเองเบื้องต้น รวมไปถึงคัดกรองเบื้องต้นสำหรับผู้มาจากพื้นที่เสี่ยง อสม.จะคอยสอดส่องดูแลผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ และการฉีดวัคซีน
-สำหรับผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ต้องการเข้ามาในพื้นที่มีขั้นตอนดังนี้
กรณีเดินทางเข้า – ออกพื้นที่จังหวัดต่างๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้
1.รับการตรวจวัดอุณหภูมิสังเกตอาการ
2.ดาวน์โหลดแอปหมอชนะ
3.ต้องมีเหตุผลและความจำเป็นในการเดินทาง
4.ต้องแสดงหลักฐานอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ต้นทางของผู้เดินทาง
กรณีมาจากพื้นที่ที่ควบคุมสูงสุด
1.ให้เฝ้าสังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันและหลีกเลี่ยงหรืองดออกจากบ้านโดยเด็ดขาด
2.ผู้ที่อยู่ในข่ายเสี่ยงต้องยอมรับการกักตามตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนด
3.ใส่แมสหากอยู่ร่วมกันกับคนครอบครัว
4.เว้นระยะห่างกับคนในครอบครัว 1-2 เมตร
5.แยกของใช้ส่วนตัว เช่น แก้ว ช้อน จาน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
6.ไม่ใช้ของร่วมกับบุคคลอื่น
7.ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
8.ควรติดตั้งแอปไทยชนะ
เมื่อมีการระบาดของโรคมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มวิตกกังวลมากขึ้น หน่วยงานรัฐจึงคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นที่ตั้ง ได้มีการนำเข้าวัคซีน โดยวัคซีนที่ไทยนำเข้ามานั้น คือ Sinovac Vaccine เพื่อมาให้บริการประชาชน โดยจังหวัดบุรีรัมย์ก็ได้มีการรับวัคซีนเขัามาฉีดให้ประชาชน ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถขอรับบริการการฉีดวัคซีนได้ดังช่องทางต่อไปนี้
1. ติดต่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชน หมู่บ้าน ที่ท่านพักอาศัย โดยกระบวนการ อสม.เคาะประตูบ้าน
2.ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ QR code BURIRAM IC
3.แสดงความจำนงผ่านศูนย์ประสานงานรับบริการวัคซีนโควิด-19 ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน
ขั้นตอนการเตรียมตัวในการฉีดวัคซีน
ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีน มีดังนี้
1.ตรวจสอบสภาพร่างกายตนเอง
– ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนวันที่มารับวัคซีน
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ
– ตรวจสอบสภาพร่างกายว่ามีความพร้อมรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ เช่น ไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการเจ็บป่วย หากมีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีนควรแจ้งขอเลื่อนการฉีดออกไปก่อน
2.สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน
– มีโรคประจำตัว
– มีประวัติกรแพ้ยา หรือ วัคซีน
– ตั้งครรภ์หรือไม่
บทสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว
1.วิธีการลงทะเบียนขอเข้ารับการฉีดวัคซีน
ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้ารับบริการฉีดวัคซีนด้วยตนเอง และลงทะเบียนกับอสม.ของแต่ล่ะหมู่บ้าน
2.ความรู้สึกก่อนเข้ารับวัคฉีดโควิค
-ชาวบ้านส่วนใหญ่คิดว่าฉีดวัคซีนดีกว่าไม่ฉีดวัคซีน และหน่วยงานรัฐเข้ามาให้บริการฟรีจะเป็นการสะดวกกว่าไปเข้าคิวรอฉีด
-บางส่วนกลัว เนื่องจากเห็นข่าวจากในโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ว่าฉีดแล้วเสียชีวิต
3.หลังจากการฉีดวัคซีนแล้วมีความรู้สึกอย่างไร และมีผลกระทบหรือไม่
-หลังจากที่ฉีดแล้วส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ
-มีอาการบ้างเล็กน้อย เช่น มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน
-กระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลียเล็กน้อย
-ส่วนผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น แน่นหน้าอก อัมพาตครึ่งซีก ไม่พบอาการ
4.การให้บริการในการเข้ารับโควิค 19
-มีการจัดการดูแลอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว
-บุคลากรทางการแพทย์ให้คำแนะนำดีมาก ให้ความรู้ก่อนการฉีดวัคซีนและการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคฉีน
สุดท้ายนี้ดิฉันอยากเชิญชวนให้ทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนกันเยอะๆ โดยวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาบริการให้แก่ประชาชนนั้นได้มาตรฐานได้รับการรับรองจากสาธารณสุข เพื่อลดความรุนแรงเมื่อมีการติดเชื้อ ป้องกันการเสียชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยให้ประเทศไทยผ่านสถานการณ์วิกฤต และกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ