หลักสูตรพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
กระผม นายสัมณัฐ พิกุล ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นตำบลเขาดินเหนือ ได้ทำการลงพื้นที่ดูความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ในช่วงนี้ คนในชุมชนจะเริ่มลงทำการเกษตร นาข้าว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกินกุมภาพันธ์ นิยมปลูกกันมากในภาคอีสานเพราะไม่มีระบบชลประทานต้องอาศัยน้ำจากฝนเท่านั้น โดยข้าวที่ต้องปลูกในการทำนาแบบนาปี คือ ‘ข้าวไวต่อช่วงแสง’ ซึ่งออกดอกตามฤดูกาลเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้นหรือน้อยกว่า 12 ชั่วโมง เช่น ข้าวหอมดอกมะลิ 105 ไม่ว่าจะปลูกเมื่อไหร่ก็จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคมเท่านั้น พันธุ์ข้าวนาปีจะแบ่งออกเป็น ‘ข้าวเบา’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงกันยายนถึงตุลาคม ‘ข้าวกลาง’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน และ ‘ข้าวหนัก’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงธันวาคมถึงมกราคม และยังมีประชน
อีกลุ่มที่มีการทำเกษตรยางพารา ช่วงเวลา 02:00-05:00 น. เป็นช่วงที่น้ำยางออกดีที่สุด ด้วยสภาพอากาศที่เหมาะสม ชาวบ้านจะออกไปกรีดยางในช่วงนี้ และในชวงกลางวันชาวชนที่ทำสวนยางจะใช้เวลานี้พักผ่อน(06:00-09:00 น.) และจะไปหยอดน้ำกรดในเวลาประมาณ 09:00-11:00 น. หลังจากนัน้ก็ปล่อยไว้จนน้ำแยงแห้งถึงจะไปเก็บยางและนำไปขายในสถานที่รับซื้อ ราคานั้นขึ้นอยู่ราคาตลาดยางพารา ซึ่งราคายางก้อน ในช่วงนี้อยู่ที่ กิโลกรัมละ 28-31 บาท
กลุ่มทอผ้าบ้านประดู่ หมุ่ 9 ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
หลังจากช่วงฤดูลงนาว่านข้าวผ่านไป กลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่นั้นก็จะมีกลุ่มอาชีพอื่นๆในการสร้างรายได้ คือการทอผ้าไหมพื้นบ้าน การทำเครื่องจักสานต่างๆ การทำไม้กวาดทางมะพร้าว การเย็บผ้าเย็บกระเป้าเพื่อการจำหน่าย และการทอเสื่อพับจากต้นกก การประกอบอาชีพก็จะแตกต่างกันไปในแต่เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคม
และในสถาณการณ์ปัจจุบัน การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบรุ่นแรงมากในปัจจุบัน ทำให้มีการตกงานจำนวนมาก บ้านเกิดจึงเป็นทางสุดท้ายที่จะทำมาหากินได้ ผู้ที่เคยประกอบอาชีพในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เดินทางกลับมาอยู่อาศัย ณ บ้านเกิด หลายครอบครัว