มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 60 ตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้านางสาวนิภาภรณ์ ชัยพันธ์ เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านใน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564 จากการสำรวจพื้นที่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น ปลูกข้าว ม่อน มันสำประหลัง ยางพารา ข้าวโพด และที่สำคัญคือการปลูกกล้วย เป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลักอีกด้วย พื้นที่ในตำบลทุ่งจังหัน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับเนิน ลักษณะดินเป็นดินเหนียวและดินแดงลูกรังเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างดี เกษตรกรที่ปลูกกล้วย นางสาวกิติยา เสกขุนทด พื้นที่ปลูก 2 ไร่ มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่
- กล้วยน้ำหว้า 200 ต้น
- กล้วยหอมทอง 30-40 ต้น
- กล้วยเล็บมือนาง 50 ต้น
จากปัญหาที่พบในการเพาะปลูกกล้วยของเกษตรกรส่วนใหญ่ที่พบ ใบเหลือง ใบแตก ลมแรง วัชพืช หนอนหน่อกล้วย การแก้ปัญหาของเกษตรกรคือการถากทิ้ง และตลาดที่ขายส่งตลาดดอนแขวนและมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อที่สวน และขายส่งให้ร้านทอดกล้วย