กระผมนายธนวันต์ เรือนประโคน บัณฑิตจบใหม่ ต.ตะโกตาพิ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กระผมและทีมงานได้รวบรวมวิเคาระห์ข้อมูลและจัดการอบรมให้ความรู้กับประชาชนในตำบลตะโกตาพิ ระหว่างวันที่ 1-6 2564 เป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเผาถ่านไร้ควัน ประโยชน์แนวทางการใช้ไบโอชาร์(ถ่านชีวภาพ) สำหรับเกษตรกรอินทรีย์ไทย และสามารถพัฒนาทางด้านเชิงธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่า จากถ่านธรรมดาเป็นสินค้าที่เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนภายในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ฟางข้าว และต้นข้าวโพด เป็นต้น แม้กระทั่งมูลสัตว์นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้ เรียกว่า “การย้อยสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก มีงานวิจัยที่ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของถ่านชีวภาพมีหลายด้าน เช่น การปรับปรุงดิน และช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงลดระยะเวลาการปลูกได้อีกด้วย แล้วแต่ชนิดของพืชที่ปลูก
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่มีคาร์บอนมาก โดยการนำชีวมวลมาเผาโดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้น้อยมากในการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง ถ่านไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพ แตกต่างจากถ่านทั่วไป เนื่องจาก Biochar คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงดินและช่วยปรับปรุงดิน เนื่องจากไบโอชาร์มีลักษณะความเป็นรูพรุนซึ่งจะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดิน และเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์ เพื่อสร้างอาหารให้ดิน
ขั้นตอนวิธีทำ
(1.) การเลือกสถานที่ก่อสร้างเตา ในทุกภาคเน้นการสร้างบนพื้นที่ดอน เมื่อฝน ตกแล้วน้ำไม่ท่วม และควรเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลจากบ้านอย่างน้อยประมาณ 50 เมตร และควรสร้างให้ อยู่ใกล้กับแหล่งไม้ที่สามารถจัดหาได้ง่าย
(2.) นำถัง 200 ลิตร มาเจาะขอบถังให้ฝาถังเปิดได้ ส่วนก้นถังเจาะรูวงกลมแล้วนำตะแกรงและแผ่นรองที่จัดทำไว้มาทำเป็นฐาน
(3.) นำดินเหนียวประสานรอยรั่วให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปข้างใน และป้องกันไม่ให้เกิดการลุกติดไฟ
(4.) การคัดเลือกไม้เข้าเตาถ่าน จะมีการจัดแยกกลุ่มของขนาดไม้เป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ ไม้ ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะ เผาถ่านไม้ เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะ ต่ำ และอุณหภูมิด้านบนจะสูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา
(5.) การเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดไฟควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า หรือวัสดุอื่นที่จุดไฟติดได้ หรือใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น พลาสติกหรือโฟม เป็นต้น
(6.) ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อย เพื่อความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
(7.) หลังจากนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็น สีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟลงอีก ช่วงนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรู ไว้ตลอดทั้งลํา โดยนำขวดน้ำผูกลวดแขวนรองน้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ จะสามารถเก็บน้ำส้มควัน เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำให้หยุดเก็บ
(8.) การทำถ่านให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการทำอุณหภูมิในเตาให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลผลิตถ่านที่ได้จากเตาถัง 200 ลิตร ประมาณ 20-22 กก. มีคุณภาพสูง และเตาเผาสามารถเผาได้ประมาณ 100-150 ครั้ง หรือประมาณ 2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน) โดยนำถ่านที่ได้ใส่ถุงหรือกระสอบ แล้วนำไปเก็บที่ไม่มีความชื้น ไม่มีความร้อนสูงเกินไป รวมทั้ง ไม่มีแสงแดดส่อง หรืออากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ ได้น้ำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทดแทนการ ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
การใช้ประโยชน์
(1.) เตาถ่าน 200 ลิตร จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเตาหลุมทั่วไป เนื่องจากสามารถ ควบคุมอุณหภูมิได้มากกว่า
(2.) การลงทุนเรื่องวัสดุอุปกรณ์เพียงจำนวนน้อย ใช้เงินลงทุนไม่ถึง 500 บาท โดยสามารถหาอุปกรณ์ได้ในท้องถิ่น
(3.) ไม้ที่เผาในเตาถ่านขนาด 200 ลิตร จะไม่โดนไฟ ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการที่ถ่าน จะกลายเป็นขี้เถ้ามาก
(4.) สามารถนำถ่านที่ได้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มภายในครัวเรือนมีคุณภาพสูง ขี้เถ้าน้อย ใช้กำจัดกลิ่นภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น ตู้กับข้าว รวมทั้ง ทำสบู่ถ่านใช้ดูดสารพิษในข้าวและ ใช้ดูดสารพิษในร่างกายโดยบดเป็นผงผสมกับน้ำคนให้เข้ากันแล้วดื่มเพื่อดูดซับพิษในร่างกาย และสามารถผลิตถ่านเพื่อสร้างรายได้ เป็นธุรกิจการค้าได้อีกด้วย
ภาพประกอบการทำกิจกรรมการผลิตถ่านไบโอชาร์