นางสาวปวีณา พันธ์คูณ บัณฑิตจบใหม่

ดิฉันตัวแทนกลุ่ม E ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้

  1. นางสาวปวีณา พันธ์คูณ
  2. นางสาวนภัสนันท์ ลาศรี
  3. นางสาววนาวิน ศรีสอาด

บทความนี้เขียนเกี่ยวกับเรื่องมาตรการรับมือสถานการณ์ Covid-19 และการฉีดวัคซีน ของ 3 หมู่บ้านที่กลุ่มของดิฉันรับผิดชอบ ได้แก่ หมู่ 3 บ้านไทรโยง หมู่ 10 บ้านกลันทา  และหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้านมีมาตรการรับมือสถานการณ์ Covid-19 และการฉีดวัคซีน ดังนี้

บทสัมภาษณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

1. หมู่บ้านมีมาตรการการรับมือสถานการณ์ Covid-19 อย่างไร?

– สวมใส่แมส เมื่อออกนอกบ้าน ไปตลาด ห้างร้าน หรื่อสถานที่ต่างๆที่มีผู้คนแออัด

– ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เมื่อต้องมีการสัมผัส

– เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

-หากเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต้องทำการกักตัว 14 วัน และแจ้งให้ อสม. ประจำหมู่บ้านรับทราบ

– งดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกิน 50 คนขึ้นไป

ที่มา: https://ddc.moph.go.th

2. มาตรการการฉีดวัคซีน

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงมีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด19 โดยการนำเข้าวัคซีน Sinovac Vaccine เพื่อฉีดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และมีการกระจายวัคซีนไปยัง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีมาตรการให้ประชาชนได้เข้าถึงการฉีดวัคซีนโควิด โดยประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปสามารถลงทะเบียนรับวัคซีนป้องกัน Covid-19 ได้ 3 ช่องทางดังนี้

    1. การลงทะเบียนออนไลน์ผ่านช่องทาง BURIRAM IC
    2. ลงชื่อกับอสม.ในหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่
    3. ลงชื่อผ่านทางโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

      

ที่มา: https://www.tnnthailand.com

3. ข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

    • ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19  

– ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน สองวัน

– ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจสบายๆ หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์

– ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

– รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย

    • ระหว่างเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19  

– สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่าง

– เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

– เจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือด ก่อนรับการฉีดวัคซีน

– แนะนำให้ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด สวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน

– หากมีโรคประจำตัวหรือ มียาที่ต้องรับประทานประจำ ควรแจ้งพยาบาลก่อนรับการฉีดวัคซีน

    • หลังรับการฉีดวัคซีน COVID-19  

– พักรอดูอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาที หากมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการรุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่และพบแพทย์ทันที

– พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน

– ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ได้ 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)

– เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

** หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วก็ยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับฉีดวัคซีนเข็มที่สองกระตุ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อวัคซีนเท่านั้น และแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากเราได้**
ที่มา: https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/848

บทสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว

1. การเข้ารับการฉีดวัคซีน

ส่วนใหญ่เข้ารับการฉีดวัคซีนที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นเนลเซอร์กิต โดยกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ ได้แก่ กลุ่มพ่อค้า แม่ค้าในตลาด กลุ่มวินมอเตอร์ไซต์ พนักงานส่งอาหาร พนักงานส่งของ กลุ่ม อสม. เป็นต้น ส่วนกลุ่มประชาชนทั่วไปเริ่มมีการทยอยไปรับการฉีดวัคซีนด้วยเช่นเดียวกัน

2. อาการ/ผลข้างเคียงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

 -ไม่เห็นมีอาการอะไร ก็เฉยๆ ตอนแรกก็คิดว่าจะเป็นนั้น เป็นนี่ เหมือนที่เขาพูดกัน แต่ก็ไม่ใช่แบบนั้น อาการก็ปกติ

 – หลังฉีดวัคซีน ไม่เป็นอะไร พอวันหลังมาจะมีอาการเวียนหัว มีอาการง่วงนอนอยู่วันหนึ่ง แล้วอาการก็หายไป

 – หลังฉีดวัคซีนก็ไม่มีอาการอะไร ปกติดี

 – หลังฉีดวัคซีนไม่มีอาการอะไร ปกติดี ทำงานได้ปกติ ไม่เหนื่อย

3. การให้บริการจากหน่วยงานบริการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19

จังหวัดบุรีรัมย์มีการจัดระเบียบในการจองคิวฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้อย่างเป็นระบบ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในการจัดสถานที่และการจัดระเบียบให้แก่ประชาชน ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ที่มาให้บริการในการฉีดวัคซีนนั้นได้ให้คำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการฉีดวัคและการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง

4. คำเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19

– อยากให้ทุกคนไปฉีดวัคซีน เพราะว่ามันไม่มีอะไรน่ากลัวเลย ฉีดก็ไม่เจ็บ เหมือนมดกัดนิดเดียว

– อยากให้ทุกคนมาฉีดวัคซีน จะได้ป้องกันโรคไม่ให้ระบาด เราจะได้ทำมาหากินได้สะดวก ไม่ต้องไปปิดหน้ากากเข้าหากัน เดี๋ยวนี้ทำมาหากินลำบาก มีแต่คนยากจน ไม่มีรายได้ ขาดรายได้ ถ้าไปฉีดวัคซีนเราจะได้เปิดทำมาหากินได้เหมือนสมัยก่อนที่เราอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องไประแวดระวัง ไม่ต้องกลัวโควิด และไม่ต้องไปกลัววัคซีน เพราะวัคซีนฉีดแล้วไม่มีปัญหาอะไร ฉีดแล้วก็จะได้ช่วยชาติป้องกันโรค ป้องกันคนในครอบครัวของเราไม่ให้ติดโรค เราจะได้ทำการทำงานได้สะดวก มีรายได้ มีชีวิตที่ดีขึ้น

– ก็อยากให้ทุกคนมาฉีดวัคซีนกันทุกคน จะได้ป้องกันต้วเองแล้วก็จะได้ไม่มีโรคแพร่ระบาด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู