ดิฉัน นางสาวประกายมุข ลาขุมเหล็ก เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบ้านสามขาพัฒนา ม.๑๐ จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านสามขาพัฒนา หมู่ ๑๐ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยส่วนใหญ่พบว่าชาวบ้านจะทำอาชีพ เกษตรกร และเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก เช่น ทำนา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย และปลูกยางพารา บางครัวเรือนจะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และเลี้ยงไก่
ในส่วนของการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น แต่ละครัวเรือนจะดำรงชีวิตแตกต่างกัน ในช่วงเช้าจนถึงช่วงสาย ๆ ของแต่ละครัวเรือนจะออกไปทำงานดูแลสวนและดูแลไร่นาของตนเอง บางครัวเรือนที่ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงวัว และ เลี้ยงควาย ในช่วงเช้าจะนำสัตว์เลี้ยง ไปผูกไว้บริเวณสวนหรือบริเวณทุ่งนาของตนเอง ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ในช่วงนี้ได้ทำการปิดฤดูกรีดยางแล้ว และทำการทายาป้องกันเชื้อราบริเวณที่กรีดบนต้นยาง จึงไม่ได้มีการกรีดยางเพื่อหารายได้ในช่วงนี้ ทำให้มีการว่างงาน ไม่มีรายได้ในช่วงนี้ แต่ก็ได้มีการหางานรับจ้างทั่วไป กล่าวถึงไปว่าโดยรายได้ของคนในชุมชนนั้นมาจากอาชีพการทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนนั้นส่วนมากจะอยู่ที่ น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน/ครัวเรือน ในการทำการเกษตร มีการลงทุนจำนวนมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายาบำรุง ค่าสารเคมี ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างรถไถ ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เงินทุนในส่วนของตนเองนั้นไม่เพียงพอ จึงเกิดการกู้ยืมเงินจากสถานที่ให้บริการต่าง ๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส) ส่งผลให้คนในชุมชนมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ในส่วนของแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน ก็จะมีวัด และลำห้วย
ในปัจจุบันผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้คนในชุมชนที่เคยไปประกอบอาชีพหลักและประกอบอาชีพเสริมที่ต่างจังหวัด เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฯลฯ จึงส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบอาชีพ ว่างงาน ตกงาน และขาดรายได้ จึงย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว
ปัญหาที่พบในชุมชนส่วนใหญ่ คือ แหล่งน้ำใช้ไม่เพียงพอ ระบบน้ำประปาขัดข้อง น้ำไม่ค่อยไหล ถนนบางเส้นยังไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งมีการชำรุดมากพอสมควร เดินทางไม่ค่อยสะดวก รวมไปถึงไฟฟ้าตามซอยยังไม่ทั่วถึง และยังมีปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู