ข้าพเจ้า นายอภิสิทธิ์ กะการดี ประเภท กพร. ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ID08(2) การส่งเสริมยกระดับการแปรรูปกล้วยด้วยระบบชิป สร้างนวัตกรรมก๊าซชีวมวลเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีคุณลักษณะที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการบอกเล่าเรื่องราวในการพัฒนาทางสังคมและมนุษย์ผ่านทางประวัติศาสตร์อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม องค์ความรู้ และการให้คุณค่าของสังคม โดยสถาปัตยกกรมที่มีคุณค่าหรือสภาพแวดล้อมอย่างธรรมชาติ ที่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามและประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้เเก่
1. ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์
2. โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
3. งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิม ศิลปะ หัตถกรรม ประติมากรรม ภาพวาด รูปปั้นและแกะสลัก
4. ศาสนารวมถึงพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา ดนตรี การแสดงละคร ภาพยนตร์
5. ภาษาและวรรณกรรม
6. วิถีชีวิต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหาร ประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน เทศกาลต่างๆ
7. ลักษณะงานและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น
ส่วนคำว่า “นวัตวิถี” เกิดจากการนำคำว่า “นวัตกรรม” ผสมกับคำว่า “วิถีชีวิต” ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยไม่ใช่การนำสินค้าที่มีความโดดเด่นของชุมชนออกไปวางเสนอขายนอกแหล่งชุมชนอย่างที่เคยมีมา แต่เป็นการนำผู้คนจากข้างนอก เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิต เรียนรู้วัฒนธรรมความเป็นอยู่ อาหารการกิน และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนนั้นๆ
แนวคิดของ “OTOP นวัตวิถี” เป็นการเปลี่ยนจากที่ชาวบ้านเคยผลิตสินค้าออกไปขายให้เขา เอาวิถีชีวิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ และบริการ เป็นการพัฒนาแบบระเบิดจากภายใน สนับสนุนให้คนในท้องถิ่นลุกขึ้นมาพัฒนาชุมชนของตนเองให้เข้มแข็ง ดึงอัตลักษณ์ชุมชนตั้งเดิมที่เน้นความเรียบง่าย ซึ่งดำเนินมาหลายชั่วอายุคน มาสร้างเสน่ห์ให้นักท่องเที่ยวประทับใจ พร้อมมีสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชนติดไม้ติดมือกลับบ้านไปด้วย
ในเดือนตุลาคม พวกเราทีมงาน U2T เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่สถานที่ ที่สามารถเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและนวัตวิถี ได้เเก่
1. สถานที่ประเภทโบราณสถานวัตถุ เช่น เตาสวาย , เตานายเจียน และศาลหลวงปู่ซาน รวมถึงวัดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลโนนเจริญ
เตาสวาย —> เป็นเเหล่งเตาเผาโบราณที่ผลิตเครื่องถ้วยแบบศิลปะขอมในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18 ภาชนะที่ผลิตมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทั้งแบบเคลือบสีน้ำตาลดำ เช่น ไห คนโถ และโอ่ง เป็นต้น รูปแบบของเเสงเป็นเตาประชุประเภทระบายความร้อนในแนวนอนหรือเรื่องตัวเตสร้างความเป็นธรรมแตชาวประมาณ 13 เมตรกว้าง 5 เมตรแบ่งเป็น 3 ส่วนคือด้านหน้าเป็นช่องใส่เปลเพลงตรงกลางเป็นต้องวางราชนะดันหลังสุดเป็นปล่องไฟ ที่มา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ตานายเจียน —> เตานายเจียนอยู่ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18 เตานายเจียนมิได้เป็นเเหล่งที่ผลิตเครื่องถ้วยหรือเครื่องเคลือบอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ กล่าวคือ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องเคลือบสีอ่อน เเละเครื่องเคลือบสีเข้มหรือสีน้ำตาลปะปนกัน โดยผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบสีอ่อนหรือสีเขียวอ่อนมีมากกว่าเครื่องเคลือบสีน้ำตาล และรูปแบบภาชนะส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เช่น กระปุก ตลับ โถ และชาม เป็นต้น รูปแบบของเตานายเจียนเป็นเตาประทุนประเภทระบายความร้อนในแนวนอนหรือเฉียงขึ้นตัวเตาสร้างด้วยดินเหนียวบนเนินดินธรรมชาติขนาดเตายาวประมาณ 12 เมตรกว้าง 6 เมตร แบ่งเป็นสามส่วนคือด้านหน้าเป็นช่องใส่เชื้อเพลิงตรงกลางเป็นห้องวางภาชนะด้านหลังสุดเป็นปล่องไฟ ที่มา: สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ศาลหลวงปู่ซาน —> เป็นเสาหลักเมือง เเละสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
2. สถานที่ประเภทชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเเต่ละในชุมชนของเทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์นั้นจะมีโครงการสร้างนวัตกรรมเป็นงานฝีมือเเตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น กลุ่มหมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่ มีกลุ่มอาชีพที่เป็นการทอผ้าไหม การเลี้ยงไหม เเละกลุ่มหมู่ที่10 บ้านสามขาพัฒนา เป็นกลุ่มอาชีพจักสาน และประดิษฐ์วัสดุจากธรรมชาติ อาทิเช่น การทำไม้กวาดจากก้านมะพร้าว , ภาชนะการจักสานจากไม้ไผ่ เป็นต้น