การเผาถ่านในแบบวิถีชาวบ้าน และการวิเคราะห์ SROI

ดิฉันนางสาวปภาดา กุสะรัมย์​ บัณฑิตจบใหม่ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากผลการสำรวจพบว่าประชาชนในตำบลตะโกตาพิ
มีการเผ่าถ่านในแบบวิถีชาวบ้านโดยใช้เตาดินหรือเตาดินเหนียวใช้ในการเผ่าถ่านเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือนและจัดจำหน่าย

การเผาถ่าน ในครัวเรือนเพื่อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและประโยชน์ภายในครัวเรือน เป็นองค์ความรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพึ่งตนเอง ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ถ่านที่ได้มีคุณภาพสูงเป็นผลดีต่อ สุขภาพ เมื่อเหลือใช้ภายในครัวเรือนแล้วสามารถนำออกไปขายสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

ลักษณะวิธีการเผาถ่าน
ลักษณะการเผาถานนั้นสามารถจําาแนกออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การเผาถ่านดวยการให้ความร้อนโดยตรง โดยการจุดไม้ฟืนบางส่วนบนกองไม้ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการเผาถ่านโดยตรง เพื่อทําให้ไม้ที่จะเป็นถ่านลุกไหม้ และเกิดความร้อนเพียงพอในการไล่ความชื้นออกจากไม้ในส่วนที่เหลือ เมื่อไฟลุกไหม้ดีแล้วจะนําวัสดุต่าง ๆ เช่น แกลบ สังกะสี ขี้เลื่อย ฯลฯ มาปดกองไม้เพื่อจำกัดอากาศ ให้ไม่กลายเป็นถ่าน วิธีนี้จะได้ถ่านน้อยและหากควบคุมอากาศไม่ดีจะทําให้เกิดขี้เถ้ามาก เป็นเหตุให้ผลผลิตต่ำ ตัวอย่างการเผาด้วยวิธีนี้ได้แก่ เตาลาน และเตาหลุมกลบ ดิน เป็นต้น

2. การเผาด้วยการให้ความร้อนทางอ้อม ทําโดยการจุดไฟตรงช่องใส่ไฟหน้าเตาและนําเพียงลมร้อนเข้าไปไล่ความชื้นในเนื้อไม้ จนกระทั่งไม้ในเตาเผาถ่านเกิด กระบวนการเผาถานโดยสมบูรณ์ หากไม้ฟืนในเตามีความชื้นมากก็จะใช้เชื้อเพลิงและเวลามากขึ้น เตาที่เผาด้วยวิธีนี้ได้แก่ เตาดิน และเตาอิฐก่อ เตาเผาถ่าน พัฒนาการจากดั้งเดิม สู่เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกใหม่ ในการผลิตถ่านมีเครื่องมือสําคัญสําหรับใช้ในการเผาถ่าน คือ เตาเผาถ่าน ซึ่งพบว่าเตาเผาถ่านที่ใช้กันอยู่มีหลากหลายรูปแบบ

เตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม
ในสมัยก่อนยังไม่มีการใช้แก๊สหุงต้ม และไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจะหาเก็บฟืนมาหุงต้ม แต่ถ้าฝนตกฟืนเปียกจะทำให้ยากลําบากในการหุงต้ม ชาวบ้านจึงมีการเผาถ่านจากไม้ชนิด ต่าง ๆ โดยมีเตาเผาถ่านหลากหลายชนิดที่ใช้ทั่วไป เตาเหล่านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบตามสถานการณ์ สภาพปัญหาและสิ่งแวดล้อม บางชนิดพบเห็นน้อยลง บางชนิด ยังพบเห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน
-เตาหลุมกลบดิน เป็นเตาชนิดแรกของโลกที่ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มีรูปร่าง ขนาด และวัสดุที่ใช้กลบแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ในไทยโดยเฉพาะภาคอีสาน เรียกเตาชนิดนี้ว่า เตาหลุมผี เป็นเตาที่สามารถใช้เผาได้ทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับไม้ที่มีในแต่ละรอบการเผา (7วัน/รอบ) เตาประเภทนี้ก่อสร้างง่าย ราคาถูก ไม่ต้องดูแลรักษามาก เพราะมีแค่การขุดดินให้เป็นหลุม วางไม้ในหลุม แล้วใช้ดิน กลบ แต่มีข้อเสียคือ ผลผลิตและคุณภาพต่ำเนื่องจากอากาศสามารถไหลผ่านวัสดุที่ใช้กลบได้ ไม่นิยมใช้เตาชนิดนี้เผาในช่วงฤดูฝน เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมเผาถ่าน จากเตาหลุมในที่โล่งแจ้ง ทําให้ต้องพักเตาในช่วงหน้าฝน ในภาคอีสานยังมีการใช้เตาอีกประเภทหนึ่งที่มีวัสดุและลักษณะวิธีการใช้คล้ายเตาหลุม เรียกว่า เตาเหยียบ แต่มี ความแตกต่างกันที่เตาหลุมต้องขุดดินลึกประมาณ 0.5 เมตร ส่วนเตาเหยียบไม่ต้องขุดหลุม และยังมีเตาหลุมอีกประเภทที่ใช้วัสดุแกลบเป็นตัวกลบ จึงเรียกเตาชนิดนี้ว่า เตาแกลบ การเผาถ่านแบบใช้แกลบยังมีปัญหาเรื่องควันที่มีกลิ่นฉุนมากกว่าการเผาแบบเตาหลุมผีหรือเตาเหยียบ อีกทั้งปัจจุบันแกลบมีปริมาณค่อนข้างน้อย เพราะนําไปใช้ในกิจกรรมด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และผลิตพลังงานชีวมวลมากขึ้น ทําให้แกลบ

-เตาลาน เตาชนิดนี้ใช้สําหรับการเผาไม้จําานวนมากในพื้นที่โล่ง มีการเผาด้วยเตาประเภทนี้มากทางภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อใช้เผาไม้ยางพารา เป็นการเผาถ่านกลางแจ้ง โดยวางกองไม้สําหรับเผาถ่านบนพื้นลานโล่ง มีไม้หมอนรองรับด้านล่างเพื่อเปิดช่องอากาศถ่ายเทใต้กองไม้ที่จะเผาเป็นถ่าน แล้วใช้ขี้เลื่อยกลบคลุมกองไม้เพื่อควบคุมอากาศในการเผาไม้ให้เป็นถ่าน การเผาถ่านด้วยเตาลานแต่ละครั้งสามารถเผาถ่านได้เป็นปริมาณมากตามขนาดของกองไม้ เตาชนิดนี้ยังพบว่ามีความนิยมอยู่มากทางภาคใต้ จึงสามารถพบเห็นได้ง่ายระหว่างสองข้างทางของถนนสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตรัง
-เตาดินหรือเตาดินเหนียวก่อ มีรูปลักษณะคล้ายจอมปลวก หรือรูปครึ่งวงกลม ทรงรี หรือรูปมะนาวผ่าซีก ตัวผนังเตาส่วนหนึ่งอยู่บนดิน อีกส่วนหนึ่งขุดลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณดินเหนียวที่ต้องนํามาใช้ทําผนังเตาและเพิ่มความแข็งแรงของฐานเตา เตาดินเหนียวก่อนี้สามารถพบได้ทั่วไปในชนบทของประเทศไทย ผนังเตาที่ใช้ก่อขึ้นมาเหนือพื้นดินนั้นไม่จําเป็นต้องใช้ดินเหนียวล้วน อาจใช้ดินลูกรัง หรือทรายหยาบปนได้บ้างเล็กน้อย เพื่อป้องกันผนังเตาแตกร้าวในระหว่างการเผาถ่าน เตาชนิดนี้การลงทุนก่อสร้างต่ำมาก หรือไม่มีค่าวัสดุอุปกรณ์เลยก็ว่าได้ เพราะใช้ดินเหนียวที่หาได้ตามพื้นที่ทั่วไป คุณภาพถ่านที่ ได้จะมีการสูญเสียมากกว่าเตาแบบอื่น และมีอายุการใช้งานไม่นาน โดยพบว่าเตาดินมีอายุการใช้งานเพียง 2-3 ครั้ง จนถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างและการดูแลรักษา เช่น หากเตามีความหนาเกินไป จะทําให้ถ่านคายความร้อนได้ช้า และเสียเวลาในกระบวนการเผาถ่านนานขึ้น ทําให้เตาพังได้ง่าย เป็นต้น

-เตาอิฐก่อ มีรูปลักษณะคล้ายเตาดิน แต่จะเตี้ยกว่าเตาดินเล็กน้อย ผนังเตาทําด้วยอิฐมอญอายุการใช้งานของเตายาวนานกว่าเตาดิน โดยมีอายุเตาประมาณ 1-10 ปี ระยะเวลาในการเผาถ่านของเตาประเภทนี้เฉลี่ยประมาณ 4-5 วัน ให้ผลผลิต ในปริมาณที่สูง และเป็นถ่านโดยสม่ำเสมอ รูปร่างลักษณะถ่านออกมาดูดีน้ําหนักดี คุณภาพถ่านที่ได้จากเตาอิฐ ชาวบ้านเล่าว่ามีคุณภาพดีกว่าการเผาถ่านแบบอื่น ถ่าน ไม่แตกง่าย เนื้อไม้แน่น เคาะแล้วเสียงกังวาน ลักษณะเด่นของเตาแบบนี้ คือ ตัวเตา ผนึกแน่น มีปล่องควันเพียงจุดเดียวเพื่อความสะดวกในการควบคุมอุณหภูมิ มีช่องใส่ ฟืนหน้าเตาแยกจากช่องอากาศเข้า ตัวเตามีหลายขนาด บางเตามีความจุมากถึง 20 ลูกบาศก์เมตร ส่วนมากมีการใช้เตาประเภทนี้เพื่องานอุตสาหกรรมและเพื่อการค้า เช่นใช้เผาถ่านจากไม้โกงกางและไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น เนื่องจากสามารถทําการผลิต ถ่าน/ครั้งได้จำนวนมากกว่าเตาดิน แต่การลงทุนก่อสร้างสูงกว่าเตาดินเนื่องจากต้องใช้อิฐก่อเป็นรูปเตา หลังจากนั้นก็ต้องใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสานก้อนอิฐให้ติดกันเป็นรูปทรงของเตา การก่อสร้างเตาอิฐก่อไม่ใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากสัมประสิทธิ์การขยายตัวของอิฐกับปูนไม่เท่ากันเมื่อเตาร้อน จะทําให้เตาเผาถ่านแตกหรือร้าวได้ การใช้ดิน เหนียวแทนปูนจะทําาให้มีการขยายตัวน้อย รอยร้าว ร้อยแตกของเตาก็จะน้อย อายุ การใช้งานของเตาก็ยาวนานขึ้น คนในภาคอีสานเรียกเตาทั้ง 2 ชนิด คือ เตาดินและเตาอิฐ เหมือนกันว่า เตาอบ เพราะเตา 2 ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ทรงรี ภายในเตาจะถูกขุดให้มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินภายนอกเช่นเดียวกัน แต่มี ความแตกต่างกันที่วัสดุสร้างเตาและต้นทุน เช่น เตาดินธรรมดาราคา 1,000 บาท เตาดินเสริมโครงเหล็ก ราคา 4,000-5,000 บาท ส่วนเตาอิฐราคาประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป เตาอบที่ทําาด้วยดินจะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าเตาอิฐ เตาประเภทนี้เมื่อปั้น เตาเรียบร้อยแล้วผู้ผลิตจะสร้างหลังคาป้องกันแดด กันฝน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ ยาวนานหลาย

การวิเคราะห์ SROI

การวิเคราะห์ SROI สามารถช่วยสื่อสารมูลค่าผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน โดยแปลงโครงการนโยบายทางสังคมเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ง่ายต่อการเข้าใจและอธิบาย รายละเอียดว่าโครงการการลงทุนมีมูลค่าเท่าใด การศึกษาคร้ังน้ีจะเป็นพื้นฐานสําหรับโครงการในอนาคต การวิเคราะห์ SROI จากความคิดเห็นท่ีหลากหลายจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเมินคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจของโครงการ

การวิเคราะห์น้ีอยู่บนหลักการ 7 ข้อ ของ SROI ตามความเชื่อมโยงเครือข่าย SROI ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถูกระบุและนําาเข้ามามีส่วนร่วม ในการปรึกษาหารือตลอดขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อให้การสื่อสารเรื่องมูลค่า และวิธีการวัดผลกับผู้ท่ีได้รับผลกระทบจากกิจกรรมเป็นไปอย่างเท่ียงตรงและ รอบด้าน
2. เข้าใจสิ่งท่ีมีการเปลี่ยนแปลง – ทําความเข้าใจว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และประเมินโดยการเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ พร้อมทั้งตระหนักด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงท่ีต้ังใจและไม่ต้ังใจ
3. ตีค่าผลที่สําคัญ – ใช้ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy) แทนมูลค่าทางการเงิน ของผลลัพธ์ทางสังคม เพื่อให้โอกาสกับบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในระบบ แต่ได้รับผลกระทบจากการดําเนินกิจการดังกล่าว วิธีนี้จะยังช่วยเพิ่มความสมดุลของ อํานาจที่มีอยู่ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม
4. รวมเฉพาะสิ่งที่เป็นสาระสําคัญ – แยกแยะระหว่างข้อมูลและหลักฐานที่สําคัญและไม่สําคัญเพื่อให้ผลการประเมินมีความถูกต้องและเป็นธรรมและ สามารถทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถหาข้อสรุปท่ีสมเหตุสมผลเก่ียวกับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง – ควรกล่าวถึงคุณค่าท่ีองค์กรมีส่วนร่วมในการสร้างข้ึนเท่านั้น หลักการนี้กําาหนดว่าอาจมีการอ้างอิงแนวโน้มในอดีต และตัวชี้วัดเพื่อช่วยประเมินการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดจากกิจกรรม โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่นๆและพิจารณาคํานึงถึงส่ิงท่ีน่าจะเกิดข้ึน
6. เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน – แสดงให้เห็นถึงหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ ที่ถูกต้องและซื่อสัตย์ ในขณะเดียวกันควรสื่อสารผลการประเมินให้ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับทราบและแสดงความคิดเห็น
7. ตรวจสอบผลลัพธ์ – พร้อมรับการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกท่ีมีความเหมาะสม และอิสระเพื่อช่วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเมินว่าการตัดสินใจของผู้รับผิดชอบ ในการวิเคราะห์น้ันสมเหตุสมผลหรือไม่
ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่จะทำแบบสอบถามนั้นได้ประเมินโดยกลุ่มเป้าหมายมีดังนี้
1.ตำบลเป้าหมาย ประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร
2.ลูกจ้างโครงการ นักศึกษา,บัณฑิต,ประชาชน
3.ครอบครัวลูกจ้าง ครอบครัวของกลุ่มโครงการลูกจ้าง
4.ชุมชนภายใน ชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
5.ชุมชนภายนอก ชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในแต่ละตำบลนั้นนั้นๆ
7.เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
8.ผู้แทนตำบล เจ้าหน้าที่อบต. ประจำตำบล
9.หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล
10.อปท. ตัวแทน อปท. มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต. 11.เอกชนในพื้นที่ บริษัทห้างร้านหรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง

ภาพปฏิบัติ​งาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู