ชื่อบทความ : ID02 – กิจกรรมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ และกิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยว ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวชุติพร โพยประโคน
ประเภท : นักศึกษา
ข้าพเจ้า นางสาวชุติพร โพยประโคน ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
ผลการปฎิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2564 มีดังนี้
- กิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชนตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
โดยการจัดกิจกรรมการอบรมยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชนตำบลโคกย่าง มีการจัดอบรมประกอบไปด้วยกิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมการปฎิบัติทำเส้นทางท่องเที่ยว
- กิจกรรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นนักสื่อสาร
- กิจกรรมแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว
- กิจกรรมปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์
รูปภาพประกอบกิจกรรม
- การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
กิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ในตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร มาให้ความรู้และพาปฏิบัติลงมือทำปุ๋ยหมักร่วมกับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้และจดจำวิธีการอย่างชัดเจนและเป็นประโยชน์ให้กับชาวบ้านอย่างมากที่สุด
ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเป็นอาหารแก่พืช (เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้มากที่สุด ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วก็จะทำให้รายได้ของชาวบ้านมีกำไรมากขึ้นโดยการลดต้นทุนในการผลิต)
หลักการใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กก.ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
2. เพิ่มการดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
3. เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิด
4. การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
5. ดินค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช
รูปภาพประกอบกิจกรรม
โดยกลุ่ม: คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ: การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์