1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  3. ID08(2) - ตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด
  4. บทความประจำเดือนพฤศจิกายน ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างข้าวพื้นเมือง เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่า และช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำของชุมชน

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างข้าวพื้นเมือง เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่า และช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำของชุมชน

ดิฉันนางสาวกลุนันทน์ จันทรา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำตำบลโนนเจริญ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ตลอดทั้งเดือนได้ทำการลงพื้นที่ ตำบลโนนเจริญ เพื่อเก็บข้อมูลข้าวและพันธุ์ข้าวในพื้นที่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ชาวบ้านในพื้นที่กำลังอยู่ในช่วงการเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ก็คือข้าวนั้นเอง อย่างที่ทุกคนเห็นในปัจจุบันนั้น ราคาข้าวเปลือกมีราคาค่อนข้างต่ำมาก ราคาที่รับซื้อเพียง กิโลกรัมละ 5-6 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมาก

เมื่อดิฉันได้ลงสำรวจการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ยังทำให้ได้รับรู้ปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านกล่าวว่าราคาข้าวนั้นถูกมาก เมื่อนำไปขายก็ได้เพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งไม่เพียงพอในการใช้จ่ายค่ารถเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี และอื่นๆ จากปัญหาที่เราได้รับฟังในครั้งนี้นั้น ทำให้ดิฉันและทีมงาน U2T ได้นำปัญหาที่ได้รับฟังมา นำมาเข้าเป็นหัวข้อประชุม เพื่อหาแนวทางช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำให้กับชุมชนเท่าที่พวกเราชาว U2T จะช่วยได้ เมื่อเรานำปัญหาเข้าที่ประชุมแล้ว ได้ผลสรุปออกมาว่าเราจะช่วยสร้างออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อนำมาบรรจุข้าวสาร และยังช่วยหาช่องทางการจำหน่วยข้าวสารให้แก่ชุมชนอีกด้วย หลังจากที่ประชุมหาแนวทางเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและทีมได้ลงสำรวจข้อมูลอีกรอบ โดยลงพื้นที่ครั้งนี้คือการสำรวจพันธุ์ข้าวที่มีในชุมชน และได้พันธุ์ข้าวมา นั้นคือข้าวหอมมะลิ และข้าวผกาอำปึล ซึ่งเป็นข้าวที่คนในชุมชนทำการปลูกในพื้นที่อยู่แล้ว และเรายังได้ทราบข้อมูลอีกว่า ข้าวผกาอำปึล เป็นข้าว GI ข้าวจีไอ คือ ข้าวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือข้าวจีไอ (Geographical Indication ย่อว่า GI) ถือเป็นข้าวที่ถูกขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พ.ศ. 2546 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์นั้นมีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนในชุมชนในการผลิตสินค้า โดยชื่อที่ใช้เรียกสินค้าข้าวนั้น ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน GI เรียบร้อยแล้ว เช่น ข้าวผกาอำปึล ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นต้น

          ในการลงพื้นที่ครั้งต่อไป เราจะลงไปเก็บตัวอย่างข้าวทั้ง 2 ชนิด เก็บข้อมูลการเก็บเกี่ยวของเมล็ดข้าวการเก็บข้าวหลังการเก็บเกี่ยว จากนั้นนำเข้าห้องแลปเพื่อหาค่าความชื้น และค่าต่างๆ ก่อนนำไปบรรจุเพื่อจำหน่ายต่อไป พวกเราชาว U2T ยินดีช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับชุมชน ดั่งชื่อ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

อื่นๆ

เมนู