ดิฉันนางสาวปภาดา กุสะรัมย์ บัณฑิตจบใหม่ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

“การจัดทำแผนการเริ่มปฏิบัติ และติดตามตรวจสอบแผนการเงินสมบูรณ์แบบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินส่วนบุคคล” นิยามนี้เน้นย้ำความจริงที่ว่าจุดเริ่มต้นในการร่างแผนการเงินขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของลูกค้า ไม่ใช่แผนสำเร็จรูปที่เตรียมเสนอสินค้า และบริการที่คิดไว้ล่วงหน้า การวางแผนการเงินยังเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องโดยเหตุที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของลูกค้า รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

วัตถุประสงค์ของการวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงินเป็นส่วนสำคัญยิ่งในชีวิตของเรา โดยช่วยให้เรามีเงินพอแก่ความต้องการ และ บรรลุเป้าหมายทางการเงิน วัตถุประสงค์ในการวางแผนทางการเงิน จึงเป็นดังนี้
-เพื่อกำหนดทิศทาง และวิธีการในการตัดสินใจทางการเงิน
-เพื่อทำความเข้าใจว่าเมื่อตัดสินใจเรื่องการเงินด้านใด ก็จะส่งผลกระทบถึงการเงินด้านอื่นๆด้วย
-เพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้ง่ายขึ้น และมีความสงบทางใจ

ขอบเขตในการวางแผนการเงิน
แผนการเงินส่วนบุคคล ควรจะมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะครอบคลุมความจำเป็นทางการเงินทุกด้านของลูกค้าและช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน แผนนี้ควรมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะตอบสนองความจำเป็นและความต้องการส่วนบุคคลของลูกคา ซึ่งแตกต่างกันไป

การบริหารความเสี่ยง และการวางแผนประกัน ว่าด้วยเรื่องของความคุ้มครอง และทำให้แผนการเงินสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการขาดเงินสดหมุนเวียน โดยการจัดการเรื่องการเงิน และการประกันอย่างมีประสิทธิผล

การวางแผนลงทุน วางแผน ทำแผน และจัดการการนำเงินไปลงทุน และสะสมเพื่อให้มีกระแสเงินสดที่ดีในอนาคต เพื่อการใช้จ่าย และลงทุนต่อไปอีก

6 ขั้นตอนในกระบวนการวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบ

การวางแผนการเงินเป็นกระบวนการที่เป็นส่วนตัว และเฉพาะบุคคลอย่างยิ่ง จึงต้องพิจารณาปัจจัยทั้งทางด้านจิตวิทยา และด้านการเงินทุกข้อที่อาจมีผลกระทบต่อเป้าหมาย และวัตถุประสงค์รวมทั้งเป็นการวางกลยุทธ์ระยะยาวทางการเงินของลูกค้า  เพื่อช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแรงเพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง ขั้นตอนที่แตกต่างกัน 6 ข้อในการวางแผนทางการเงินที่สมบูรณ์แบบได้แก่

  1. สร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกค้ากับนักวางแผนการเงิน เป็นเรื่องของการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้ได้ไว้ความไว้วางใจและเชื่อมั่น ต้องปฏิบัตต่อลูกค้าอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ และสบายใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผนการเงิน
  2. การรวบรวมข้อมูลลูกค้า และการตั้งเป้าหมายทางการเงิน เป็นการหาเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทางการเงินของลูกค้า ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีหลายข้อ และเป็นความลับส่วนตัว ซึ่งอาจรวมถึงการเตรียมเงินสำหรับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของลูก การดูแลพ่อแม่สูงอายุ หรือการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน และการเตรียมเงินเพื่อเกษียณอายุ หน้าที่ของนักวางแผนการเงิน คือ การได้ข้อมูลจากลูกค้าอย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสมบูรณ์ ทั้งยังต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยด้วย โดยทั่วไปข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ประเภทแรก เชิงปริมาณ หรือวัตถุวิสัย ได้แก่ รายการทรัพย์สิน หนี้สิน กรมธรรม์ประกัน พินัยกรรมหรือเอกสารก่อตั้งทรัสต์ รายละเอียดส่วนตัว และครอบครัว เงินฝากออมทรัพย์ และครอบครัว การลงทุน รายละเอียดภาษีเงินได้ ประเภทที่สอง ข้อมูลเชิงคุณภาพหรืออัตวิสัยได้แก่ความหวัง และความฝัน นิสัยการยอมรับความเสี่ยง ความชอบ ไม่ชอบ ความคาดหวัง ทัศนคติต่อการมีทรัพย์สิน ความกลัว ความเชื่อทางศาสนา
  3. วิเคราะห์ และประเมินข้อมูล เมื่อรวบรวมได้แล้ว จะวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของลูกค้า ดูว่าลูกค้าอยู่ห่างเป้าหมายเพียงใด ระบุปัญหาทางการเงินต่าง ๆ เช่น มีประกันมาก-น้อยเกินไป ภาระภาษีก้อนใหญ่ กระแสเงินสดไม่พอ การลงทุนโตไม่ทันค่าเงินเฟ้อ รวมถึงประเมินฐานะปัจจุบันของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวพันกับกฎหมาย เช่นเรื่องภาษี หรือกฎหมายมรดก
  4. เขียนแผนปฏิบัติการ จัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความจริง เพื่อนำไปสู่การเริ่มปฏิบัติ ต้องแสดงจุดอ่อนจุดแข็งที่เป็นปัจจุบันของลูกค้า โดยมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
  • ออกแบบเฉพาะตามพื้นฐานสถานการณ์จริงของลูกค้าแต่ละราย เพื่อสนองความจำเป็น และความปรารถนาของเขา
  • ตีแผ่ขุดแข็ง และจุดอ่อนของกลยุทธ์ทุกข้ออย่างชัดเจนจะต้องเป็นแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และปฏิบัติได้ตามกำลังเงินของลูกค้า
  • ในการปฏิบัติตามแผนที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จะต้องระบุฐานะ และหน้าที่ของทุกฝ่ายอย่างชัดเจนมีทางเลือกหลาย ๆ ทางให้ลูกค้าเลือกปฏิบัติได้
  • เมื่อร่างแผนแล้ว นักวางแผนการเงินต้องไปอภิปรายกับลูกค้า ให้ลูกค้ายอมรับก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติ โดยต้องมีวิธีการเสนอที่ดี มีภาพประกอบ ตาราง และแผนภูมิที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ก่อนที่จะให้ลูกค้ายอมรับ และทำตามแผน ต้องมั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจอย่างกระจ่าง เพราะการทำตามแผนอาจต้องมีการจัดสรร และใช้จ่ายเงินทุน
  1. เริ่มทำตามแผนปฏิบัติการ แผนการเงินจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อคำแนะนำ ได้รับการปฏิบัติ โดยการอนุมัติของลูกค้า และเงินทุนที่จำเป็นในกระบวนการปฏิบัติตามแผน นักวางแผนการเงินจะเริ่มทำตามแผนได้แล้ว ในกรณีที่แผนนั้นมีรายละเอียดมากขั้นตอนนี้อาจต้องร่วมมือกับนักวิชาชีพอื่น เช่น ทนายความ ตัวแทนประกัน ผู้เขียนพินัยกรรม ผู้ขายหน่วยลงทุน ที่ปรึกษาด้านภาษี ฯลฯ เพื่อช่วยทำงานหลายด้านที่กำหนดในแผน
  2. ทบทวน และแก้ไขแผนการเงินเป็นระยะแผนการเงินจะดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูล ณ เวลาที่ทำแผนนั้น การทบทวนและแก้ไขแผนการเงิน เมื่อจำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรวมเอาความเปลี่ยนแปลงทั้งเงื่อนไขส่วนตัว และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ นักวางแผนการเงินควรตรวจสอบความเหมาะสม และประสิทธิผลของเทคนิคที่ใช้ รายงานผลจากการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมาย ฯลฯ

การทำ บัญชีรายรับ รายจ่าย เบื้องต้น
บัญชีรายรับ รายจ่าย เป็นงานเบสิกที่เจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ที่มีช่องทางขายทางออนไลน์ จำเป็นต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ โดยข้อดีของการทำธุรกิจออนไลน์ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนชื่นชอบคือ มีช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่ต้องลงทุนมากในการสร้างหน้าร้าน และมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายๆ ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียนบริษัท ก็จะทำธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดา
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีได้ 2 รูปแบบคือ อัตราเหมา หรือหักตามจริง
1. รายงานเงินสดรับ-จ่าย
ต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องรายการให้เหมาะสมกับธุรกิจได้
2. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย
หากจัดทำเป็นภาษาต่างชาติให้มีภาษาไทยกำกับ

3. ต้องลงรายการรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ
นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย

4. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย

-ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน
-รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานรายรับ-รายจ่าย ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจ ต้องไม่เป็นรายจ่ายส่วนตัว
-สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้า หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน เพราะผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
-หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการนั้นในวันที่ได้รับชำระ หรือจ่ายชำระ โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
-การลงรายการรายรับและรายจ่ายสามารถลงเป็นยอดรวมของวัน โดยมีเอกสารประกอบรายรับ-รายจ่ายนั้น หรือลงแยกเป็นรายการก็ได้

วิธีสร้างแฟนเพจ Facebook ด้วยตัวเองง่ายและฟรีฉบับอัพเดท 2021
1.สมัครสมาชิก Facebook
สำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชี Facebook ส่วนบุคคล
อันดับแรกคือต้องสมัครก่อนวิธีการสมัครก็ไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่เข้าไปที่ https://www.Facebook.com/
จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบแล้วกดสมัครได้เลย

  1. สร้าง Facebook Fanpage
    เข้าไปในหน้าสร้าง Fanpage บน Facebook ตามลิงค์นี้ค่ะ https://www.facebook.com/pages/creation/
    ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกประเภทของแฟนเพจของเราค่ะ ถ้าเราต้องการสร้างเพจเพื่อขายของออนไลน์ก็เลือกประเภท “ธุรกิจหรือแบรนด์” ค่ะ จากนั้นกด “เริ่มกันเลย”
  2. ตั้งชื่อเพจ
    สร้างเพจขายของ
    วิธีการตั้งชื่อแฟนเพจและเลือกหมวดหมู่
    * ถ้าเรามีชื่อแบรนด์ของสินค้าอยู่แล้วก็สามารถใช้ชื่อแบรนด์มาเป็นชื่อเพจได้เลยค่ะ
    * ถ้าเราเป็นร้านหรือธุรกิจที่ขายสินค้าหลายประเภท เราสามารถเอาชื่อร้านมาเป็นชื่อเพจได้ค่ะ
    * เลือกหมวดหมู่ให้ตรงกับสินค้าหรือร้านค้าของเรามากที่สุดค่ะ
    * กด “ดำเนินการต่อ”
  3. ตกแต่งเพจ
    เพิ่มรูปโปรไฟล์
    เพิ่มรูปหน้าปก
    หลังจากเพิ่มรูปภาพโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกเรียบร้อย เราก็ได้แฟนเพจมาแล้วล่ะค่ะ ทีนี้เราก็ต้องตกแต่งแฟนเพจของเราให้มีข้อมูลครบถ้วนค่ะ
  4. การตั้งค่าบนเพจ
    เลือก “การตั้งค่า”

วิธีสร้างเพจ facebook
ข้อมูลเพจ
ทั่วไป
ใส่รายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่เราจะใส่ได้ค่ะ ในส่วนของคำอธิบาย แนะนำให้อธิบายภาพรวมของธุรกิจเราให้เข้าใจง่ายที่สุด

ตำแหน่งที่ตั้ง
ถ้าธุรกิจของเรามีหน้าร้านก็ใส่ที่อยู่ของร้านเราไปได้เลยค่ะ แต่หากธุรกิจเราเป็นธุรกิจออนไลน์ไม่มีหน้าร้าน เราก็กดเอาเครื่องหมายออกจากกล่องที่เขียนว่า “มีที่อยู่”

Instagram
ถ้าหากร้านค้าของคุณมีบัญชี Instagram ด้วย ก็สามารถเชื่อมต่อบัญชี Instagram ของร้านค้าเข้ากับแฟนเพจเฟสบุ๊กของคุณได้ ข้อดีของการผูกบัญชีเข้าด้วยกันคือ
1. คุณสามารถอ่านและตอบกลับความคิดเห็นและ DM บน Instagram ทั้งบนคอมพิวเตอร์และในแอพตัวจัดการเพจได้
2. คุณสามารถสร้างโฆษณาบน Facebook ที่ปรากฏบน Instagram และเชื่อมโยงกับบัญชี Instagram ได้

เชื่อมต่อบัญชีอินตาแกรมกับเฟซบุ๊ก
* กด “เชื่อมต่อบัญชี”
* จากนั้นลงชื่อเข้าใช้บัญชีอินตาแกรมที่เราต้องการจะเชื่อมต่อ

บทบาทในเพจและผู้ดูแลเพจ
ถ้าหากเราต้องการให้มีคนดูแลเพจของเรามากกว่า 1 คน เราสามารถเพิ่มผู้ดูแลเพจได้โดยไปที่ “บทบาทในเพจ” ค่ะ โดยเราสามารถส่งคำเชิญให้เพื่อนที่มีบัญชีผู้ใช้ส่วนตัวบนเฟสบุ๊กมามีบทบาทในเพจได้ โดยแต่เราสามารถเลือกบทบาทในเพจได้

เอาล่ะค่ะตอนนี้คุณก็มีแฟนเพจเฟสบุ๊กเอาไว้ขายของออนไลน์แล้ว เรามีเคล็ดลับดีๆที่จะช่วยให้แฟนเพจของคุณดูดีมาฝากค่ะ
1. ใช้รูปภาพปกที่บ่งบอกว่าธุรกิจของเราคืออะไร เพราะภาพปกจะเป็นสิ่งแรกที่คนที่เข้ามาในเพจของคุณจะเห็น ยิ่งลูกค้าเข้าใจได้ง่ายเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อคุณเท่านั้น
2. ใช้โลโก้เป็นรูปโปรไฟล์เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้น
3. ช่องทางติดต่อควรใส่ให้ครบ ยิ่งมีช่องทางติดต่อหลายช่องทาง ลูกค้าก็จะติดต่อคุณได้ง่ายขึ้น
4. คำอธิบายร้านค้าควรสั้น กระทัดรัดและเข้าใจง่าย
5. ก่อนที่จะเผยแพร่หรือเชิญชวนให้คนมากดไลค์ ควรโพสเนื้อหาลงบนเพจสัก 2-3 โพสก่อน โดยโพสแรกอาจจะเป็นการโพสทักทายเปิดตัวแฟนเพจของเรา เพื่อให้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมเพจของเรารู้สึกถึง
วิธีการสร้างแฟนเพจบนเฟสบุ๊กก็มีเท่านี้แหละค่ะ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องคอยดูแลจัดการเพจ facebbok ไม่ว่าจะเป็นการ update การโพส การรันโฆษณาบน facebook แล้วก็คอยตอบคำถามลูกค้าเราในเพจ แล้วก็อย่าลืมกดติดตาม Facebook

ภาพการปฏิบัติ​งาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู