ดิฉันนางสาวสมปรารถนา โนประโคน บัณฑิตจบใหม่ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
“การจัดทำแผนการเริ่มปฏิบัติ และติดตามตรวจสอบแผนการเงินสมบูรณ์แบบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินส่วนบุคคล” นิยามนี้เน้นย้ำความจริงที่ว่าจุดเริ่มต้นในการร่างแผนการเงินขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของลูกค้า ไม่ใช่แผนสำเร็จรูปที่เตรียมเสนอสินค้า และบริการที่คิดไว้ล่วงหน้า การวางแผนการเงินยังเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องโดยเหตุที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของลูกค้า รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
วัตถุประสงค์ของการวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงินเป็นส่วนสำคัญยิ่งในชีวิตของเรา โดยช่วยให้เรามีเงินพอแก่ความต้องการ และ บรรลุเป้าหมายทางการเงิน วัตถุประสงค์ในการวางแผนทางการเงิน จึงเป็นดังนี้
-เพื่อกำหนดทิศทาง และวิธีการในการตัดสินใจทางการเงิน
-เพื่อทำความเข้าใจว่าเมื่อตัดสินใจเรื่องการเงินด้านใด ก็จะส่งผลกระทบถึงการเงินด้านอื่นๆด้วย
-เพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้ง่ายขึ้น และมีความสงบทางใจ
ขอบเขตในการวางแผนการเงิน
แผนการเงินส่วนบุคคล ควรจะมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะครอบคลุมความจำเป็นทางการเงินทุกด้านของลูกค้าและช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน แผนนี้ควรมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะตอบสนองความจำเป็นและความต้องการส่วนบุคคลของลูกคา ซึ่งแตกต่างกันไป
การบริหารความเสี่ยง และการวางแผนประกัน ว่าด้วยเรื่องของความคุ้มครอง และทำให้แผนการเงินสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการขาดเงินสดหมุนเวียน โดยการจัดการเรื่องการเงิน และการประกันอย่างมีประสิทธิผล
การวางแผนลงทุน วางแผน ทำแผน และจัดการการนำเงินไปลงทุน และสะสมเพื่อให้มีกระแสเงินสดที่ดีในอนาคต เพื่อการใช้จ่าย และลงทุนต่อไปอีก
6 ขั้นตอนในกระบวนการวางแผนการเงินสมบูรณ์แบบ
การวางแผนการเงินเป็นกระบวนการที่เป็นส่วนตัว และเฉพาะบุคคลอย่างยิ่ง จึงต้องพิจารณาปัจจัยทั้งทางด้านจิตวิทยา และด้านการเงินทุกข้อที่อาจมีผลกระทบต่อเป้าหมาย และวัตถุประสงค์รวมทั้งเป็นการวางกลยุทธ์ระยะยาวทางการเงินของลูกค้า เพื่อช่วยสร้างรากฐานที่แข็งแรงเพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง ขั้นตอนที่แตกต่างกัน 6 ข้อในการวางแผนทางการเงินที่สมบูรณ์แบบได้แก่
- สร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกค้ากับนักวางแผนการเงิน เป็นเรื่องของการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้ได้ไว้ความไว้วางใจและเชื่อมั่น ต้องปฏิบัตต่อลูกค้าอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ และสบายใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผนการเงิน
- การรวบรวมข้อมูลลูกค้า และการตั้งเป้าหมายทางการเงิน เป็นการหาเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทางการเงินของลูกค้า ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีหลายข้อ และเป็นความลับส่วนตัว ซึ่งอาจรวมถึงการเตรียมเงินสำหรับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของลูก การดูแลพ่อแม่สูงอายุ หรือการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน และการเตรียมเงินเพื่อเกษียณอายุ หน้าที่ของนักวางแผนการเงิน คือ การได้ข้อมูลจากลูกค้าอย่างเหมาะสม ถูกต้อง และสมบูรณ์ ทั้งยังต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยด้วย โดยทั่วไปข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ประเภทแรก เชิงปริมาณ หรือวัตถุวิสัย ได้แก่ รายการทรัพย์สิน หนี้สิน กรมธรรม์ประกัน พินัยกรรมหรือเอกสารก่อตั้งทรัสต์ รายละเอียดส่วนตัว และครอบครัว เงินฝากออมทรัพย์ และครอบครัว การลงทุน รายละเอียดภาษีเงินได้ ประเภทที่สอง ข้อมูลเชิงคุณภาพหรืออัตวิสัยได้แก่ความหวัง และความฝัน นิสัยการยอมรับความเสี่ยง ความชอบ ไม่ชอบ ความคาดหวัง ทัศนคติต่อการมีทรัพย์สิน ความกลัว ความเชื่อทางศาสนา
- วิเคราะห์ และประเมินข้อมูล เมื่อรวบรวมได้แล้ว จะวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของลูกค้า ดูว่าลูกค้าอยู่ห่างเป้าหมายเพียงใด ระบุปัญหาทางการเงินต่าง ๆ เช่น มีประกันมาก-น้อยเกินไป ภาระภาษีก้อนใหญ่ กระแสเงินสดไม่พอ การลงทุนโตไม่ทันค่าเงินเฟ้อ รวมถึงประเมินฐานะปัจจุบันของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวพันกับกฎหมาย เช่นเรื่องภาษี หรือกฎหมายมรดก
- เขียนแผนปฏิบัติการ จัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความจริง เพื่อนำไปสู่การเริ่มปฏิบัติ ต้องแสดงจุดอ่อนจุดแข็งที่เป็นปัจจุบันของลูกค้า โดยมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ออกแบบเฉพาะตามพื้นฐานสถานการณ์จริงของลูกค้าแต่ละราย เพื่อสนองความจำเป็น และความปรารถนาของเขา
- ตีแผ่ขุดแข็ง และจุดอ่อนของกลยุทธ์ทุกข้ออย่างชัดเจนจะต้องเป็นแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และปฏิบัติได้ตามกำลังเงินของลูกค้า
- ในการปฏิบัติตามแผนที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จะต้องระบุฐานะ และหน้าที่ของทุกฝ่ายอย่างชัดเจนมีทางเลือกหลาย ๆ ทางให้ลูกค้าเลือกปฏิบัติได้
- เมื่อร่างแผนแล้ว นักวางแผนการเงินต้องไปอภิปรายกับลูกค้า ให้ลูกค้ายอมรับก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติ โดยต้องมีวิธีการเสนอที่ดี มีภาพประกอบ ตาราง และแผนภูมิที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ก่อนที่จะให้ลูกค้ายอมรับ และทำตามแผน ต้องมั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจอย่างกระจ่าง เพราะการทำตามแผนอาจต้องมีการจัดสรร และใช้จ่ายเงินทุน
- เริ่มทำตามแผนปฏิบัติการ แผนการเงินจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อคำแนะนำ ได้รับการปฏิบัติ โดยการอนุมัติของลูกค้า และเงินทุนที่จำเป็นในกระบวนการปฏิบัติตามแผน นักวางแผนการเงินจะเริ่มทำตามแผนได้แล้ว ในกรณีที่แผนนั้นมีรายละเอียดมากขั้นตอนนี้อาจต้องร่วมมือกับนักวิชาชีพอื่น เช่น ทนายความ ตัวแทนประกัน ผู้เขียนพินัยกรรม ผู้ขายหน่วยลงทุน ที่ปรึกษาด้านภาษี ฯลฯ เพื่อช่วยทำงานหลายด้านที่กำหนดในแผน
- ทบทวน และแก้ไขแผนการเงินเป็นระยะแผนการเงินจะดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูล ณ เวลาที่ทำแผนนั้น การทบทวนและแก้ไขแผนการเงิน เมื่อจำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรวมเอาความเปลี่ยนแปลงทั้งเงื่อนไขส่วนตัว และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ นักวางแผนการเงินควรตรวจสอบความเหมาะสม และประสิทธิผลของเทคนิคที่ใช้ รายงานผลจากการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมาย ฯลฯ
การทำ บัญชีรายรับ รายจ่าย เบื้องต้น
บัญชีรายรับ รายจ่าย เป็นงานเบสิกที่เจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ที่มีช่องทางขายทางออนไลน์ จำเป็นต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ โดยข้อดีของการทำธุรกิจออนไลน์ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนชื่นชอบคือ มีช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่ต้องลงทุนมากในการสร้างหน้าร้าน และมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายๆ ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียนบริษัท ก็จะทำธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดา
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีได้ 2 รูปแบบคือ อัตราเหมา หรือหักตามจริง
1. รายงานเงินสดรับ-จ่าย
ต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องรายการให้เหมาะสมกับธุรกิจได้
2. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย
หากจัดทำเป็นภาษาต่างชาติให้มีภาษาไทยกำกับ
3. ต้องลงรายการรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ
นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
4. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย
-ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน
-รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานรายรับ-รายจ่าย ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจ ต้องไม่เป็นรายจ่ายส่วนตัว
-สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้า หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน เพราะผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
-หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการนั้นในวันที่ได้รับชำระ หรือจ่ายชำระ โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
-การลงรายการรายรับและรายจ่ายสามารถลงเป็นยอดรวมของวัน โดยมีเอกสารประกอบรายรับ-รายจ่ายนั้น หรือลงแยกเป็นรายการก็ได้
วิธีสร้างแฟนเพจ Facebook ด้วยตัวเองง่ายและฟรีฉบับอัพเดท 2021
1.สมัครสมาชิก Facebook
สำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชี Facebook ส่วนบุคคล
อันดับแรกคือต้องสมัครก่อนวิธีการสมัครก็ไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่เข้าไปที่ https://www.Facebook.com/
จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบแล้วกดสมัครได้เลย
- สร้าง Facebook Fanpage
เข้าไปในหน้าสร้าง Fanpage บน Facebook ตามลิงค์นี้ค่ะ https://www.facebook.com/pages/creation/
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกประเภทของแฟนเพจของเราค่ะ ถ้าเราต้องการสร้างเพจเพื่อขายของออนไลน์ก็เลือกประเภท “ธุรกิจหรือแบรนด์” ค่ะ จากนั้นกด “เริ่มกันเลย” - ตั้งชื่อเพจ
สร้างเพจขายของ
วิธีการตั้งชื่อแฟนเพจและเลือกหมวดหมู่
* ถ้าเรามีชื่อแบรนด์ของสินค้าอยู่แล้วก็สามารถใช้ชื่อแบรนด์มาเป็นชื่อเพจได้เลยค่ะ
* ถ้าเราเป็นร้านหรือธุรกิจที่ขายสินค้าหลายประเภท เราสามารถเอาชื่อร้านมาเป็นชื่อเพจได้ค่ะ
* เลือกหมวดหมู่ให้ตรงกับสินค้าหรือร้านค้าของเรามากที่สุดค่ะ
* กด “ดำเนินการต่อ” - ตกแต่งเพจ
เพิ่มรูปโปรไฟล์
เพิ่มรูปหน้าปก
หลังจากเพิ่มรูปภาพโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกเรียบร้อย เราก็ได้แฟนเพจมาแล้วล่ะค่ะ ทีนี้เราก็ต้องตกแต่งแฟนเพจของเราให้มีข้อมูลครบถ้วนค่ะ - การตั้งค่าบนเพจ
เลือก “การตั้งค่า”
วิธีสร้างเพจ facebook
ข้อมูลเพจ
ทั่วไป
ใส่รายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่เราจะใส่ได้ค่ะ ในส่วนของคำอธิบาย แนะนำให้อธิบายภาพรวมของธุรกิจเราให้เข้าใจง่ายที่สุด
ตำแหน่งที่ตั้ง
ถ้าธุรกิจของเรามีหน้าร้านก็ใส่ที่อยู่ของร้านเราไปได้เลยค่ะ แต่หากธุรกิจเราเป็นธุรกิจออนไลน์ไม่มีหน้าร้าน เราก็กดเอาเครื่องหมายออกจากกล่องที่เขียนว่า “มีที่อยู่”
Instagram
ถ้าหากร้านค้าของคุณมีบัญชี Instagram ด้วย ก็สามารถเชื่อมต่อบัญชี Instagram ของร้านค้าเข้ากับแฟนเพจเฟสบุ๊กของคุณได้ ข้อดีของการผูกบัญชีเข้าด้วยกันคือ
1. คุณสามารถอ่านและตอบกลับความคิดเห็นและ DM บน Instagram ทั้งบนคอมพิวเตอร์และในแอพตัวจัดการเพจได้
2. คุณสามารถสร้างโฆษณาบน Facebook ที่ปรากฏบน Instagram และเชื่อมโยงกับบัญชี Instagram ได้
เชื่อมต่อบัญชีอินตาแกรมกับเฟซบุ๊ก
* กด “เชื่อมต่อบัญชี”
* จากนั้นลงชื่อเข้าใช้บัญชีอินตาแกรมที่เราต้องการจะเชื่อมต่อ
บทบาทในเพจและผู้ดูแลเพจ
ถ้าหากเราต้องการให้มีคนดูแลเพจของเรามากกว่า 1 คน เราสามารถเพิ่มผู้ดูแลเพจได้โดยไปที่ “บทบาทในเพจ” ค่ะ โดยเราสามารถส่งคำเชิญให้เพื่อนที่มีบัญชีผู้ใช้ส่วนตัวบนเฟสบุ๊กมามีบทบาทในเพจได้ โดยแต่เราสามารถเลือกบทบาทในเพจได้
เอาล่ะค่ะตอนนี้คุณก็มีแฟนเพจเฟสบุ๊กเอาไว้ขายของออนไลน์แล้ว เรามีเคล็ดลับดีๆที่จะช่วยให้แฟนเพจของคุณดูดีมาฝากค่ะ
1. ใช้รูปภาพปกที่บ่งบอกว่าธุรกิจของเราคืออะไร เพราะภาพปกจะเป็นสิ่งแรกที่คนที่เข้ามาในเพจของคุณจะเห็น ยิ่งลูกค้าเข้าใจได้ง่ายเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อคุณเท่านั้น
2. ใช้โลโก้เป็นรูปโปรไฟล์เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้น
3. ช่องทางติดต่อควรใส่ให้ครบ ยิ่งมีช่องทางติดต่อหลายช่องทาง ลูกค้าก็จะติดต่อคุณได้ง่ายขึ้น
4. คำอธิบายร้านค้าควรสั้น กระทัดรัดและเข้าใจง่าย
5. ก่อนที่จะเผยแพร่หรือเชิญชวนให้คนมากดไลค์ ควรโพสเนื้อหาลงบนเพจสัก 2-3 โพสก่อน โดยโพสแรกอาจจะเป็นการโพสทักทายเปิดตัวแฟนเพจของเรา เพื่อให้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมเพจของเรารู้สึกถึง
วิธีการสร้างแฟนเพจบนเฟสบุ๊กก็มีเท่านี้แหละค่ะ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องคอยดูแลจัดการเพจ facebbok ไม่ว่าจะเป็นการ update การโพส การรันโฆษณาบน facebook แล้วก็คอยตอบคำถามลูกค้าเราในเพจ แล้วก็อย่าลืมกดติดตาม Facebook
ภาพการปฏิบัติงาน