“แกงบวน” หรือ “แกงบูน” อาหารขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของประโคนชัย เป็นแกงโบราณที่จะไม่ค่อยแกงรับประทานในวันปกติทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วแกงบวนนั้นจะแกงในวันสำคัญใหญ่ๆ เช่น งานแต่ง งานบวช เป็นต้น ซึ่งแกงชนิดนี้เป็นแกงที่มีเครื่องปรุงเยอะ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความฉลาดของผู้เฒ่าผู้แก่นั่นคือ แกงบวนมจะมีเครื่องในหมูซึ่งมีกลิ่น และเหม็นสาบ ทำอย่างไรซึ่งจะช่วยลดสิ่งเหล่านี้ได้ ในแกงจึงมี ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และยังช่วยในการถ่วงดุลกับไขมันสูงในเครื่องในได้ดี ทำไมจึงเรียกว่า แกงบวน หรือ แกงบูน คำว่า บวน หรือ บูน นั้น ในภาษาเขมร แปลว่า สี่ ซึ่งแกงชนิดนี้ประกอบไปด้วยวัตถุดิบหลักสี่ชนิด ได้แก่ เนื้อ ไส้ ปอด ตับ
กรรมวิธีในการทำ “แกงบวน”
วัตถุดิบ
- เนื้อหมูหรือหมูสามชั้น 1/2 กิโลกรัม
- ตับหมู 1/2 กิโลกรัม
- ไส้หมู 1/2 กิโลกรัม
- ปอด 1/2 กิโลกรัม
- ตะไคร้ 5 ต้น
- ข่า 10 แว่น
- หอม 7 กลีบ
- กระเทียม 18 กลีบ
- ใบมะกรูดพอสมควร
- กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทย 1 ช้อนชา
- รากผักชี 1 ช้อนชา
- ปลาร้าหรือปลากุเลาก็ได้
- ใบตะไคร้หรือใบมะตูม
- นํ้าปลา
- นํ้าตาลปี๊บ
วิธีทำ
- หั่นเนื้อหมูหรือสามชั้นให้เป็นชิ้นพอดีคำ และทำความสะอาดเครื่องในต่างๆ ให้สะอาดและนำไปลวกให้สุกและนำมาหั่นเป็นชิ้นๆ พักไว้
- นำมาหั่นชิ้นแบนๆ ตะไคร้หั่นบาง 1 ต้น หั่นข่า เผาหอม เผากระเทียมกะปิ เผาแล้วปอกเปลือก ผิวมะกรูดรากผักชีหั่นละเอียด นำข่าตะไคร้ผิวมะกรูด รากผักชี พริกไทย หอม กระเทียม กะปิลงโขลกให้ละเอียด แล้วแกะปลาย่างลงโขลกให้ละเอียด
- นำใบตะไคร้หรือใบมะตูมมาโขลกแล้วคั้นเอาแต่น้ำ จากนั้นนำเครื่องแกงที่ได้มาผสม
- จากนั้นนำมาตั้งไฟโดยเติมน้ำเพิ่มพอประมาณ (ใส่น้ำปลาร้าลงไปด้วย) และใส่เนื้อหมู เครื่องในต่างๆที่เตรียมไว้ลงไป
- เมื่อเนื้อหมูและเครื่องในเปื่อยดีแล้ว หั่นต้นตะไคร้และฉีกใบมะกรูดใส่ตามลงไป
- ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ให้ได้รสตามชอบ รสชาติจะออกหวานเค็มพอดี
- พร้อมรับประทาน
![]() |
![]() |
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/Prakhonchai/posts/2524866270863084/