ID 09 การทำเกษตรอนุรักษ์ เชิงท่องเที่ยว (ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์)
ข้าพเจ้านางสาวสุภัทรา อินพิทักษ์ ภาคนักศึกษา ได้ลงพื้นที่มาสำรวจ บ้านตะโกตาพิ ตำบลตะโกตาพิ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านใน ตำบลตะโกตาพิโดยมีทั้งหมด 11 หมู่บ้านได้แก่หมู่ 1 บ้านตะโกตาพิหมู่ 2 บ้านชุมแสง หมู่ 3 บ้านสีสุกหมู่ 4 บ้านโคกเห็ดหมู่ 5 บ้านบาทหมู่ 6 บ้านชัยพัฒนาหมู่ 7 บ้านโคกกระชายหมู่ 8 บ้านเกษตรสมบูรณ์หมู่ 9 บ้านหนองสะเดาหมู่ 10 บ้านบาตรและหมู่ 11 บ้านหนองปรง
ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานคณะอาจารย์ได้นัดประชุมชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้ปฏิบัติงานก่อนเริ่มลงสำรวจข้อมูลข้าพเจ้าได้รับผิดชอบสำรวจบ้านหนองสะเดา ม.9 ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้านเพื่อขออนุญาตลงพื้นที่ในการสำรวจหมู่บ้าน โดยข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านผู้ในการสัมภาษณ์ให้ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาชุมชนได้สอบถามข้อมูลคนในชุมชนบ้านหนองสะเดาม.9 ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร,รับจ้างและค้าขายในการเลี้ยงชีพ
รายละเอียดของโครงการ โคก หนอง นา มีดังนี้
โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ
โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. โคก: พื้นที่สูง
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
3. นา:
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำโคก หนอง นา โมเดล เพื่อการเกษตร เลี้ยงชีพและการนำเอาหลักการปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย