การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.. 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ข้าพเจ้า นางสาวชญานี สุภารักษ์ เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่ตำบลดงอีจาน เพราะว่าได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำตำบล ให้วางแผนงานศึกษาขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย และการใช้เตาประหยัดพลังงานให้กับผู้แปรรูปกล้วย

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

วิสาหกิจชุมชน คือ กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพันกัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน คือ คณะบุคคลที่รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

จัดตั้งวิสาหกิจแล้วได้อะไร ? สำหรับการจดวิสาหกิจแล้ว ทำเพื่ออะไรได้อะไรจากการจดใช่ไหมครับหลายคนคงสงสัยว่าเพื่ออะไร สำหรับการจดนั้น เพื่อได้การรับรองตามกฎหมาย ได้รับการประเมินศักยภาพ เพื่อให้ภาครัฐทราบถึงความเข้มแข็ง และความต้องการที่แท้จริงของชุมชนที่จะสามารถวางแผนพัฒนาตนเอง รวมไปถึงมีสิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมการสนับสนุนการพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชนตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดและตรงความต้องการ

เงื่อนไขหลักเกณฑ์ ที่ต้องเตรียมในการจดวิสาหกิจชุมชน

1.รวมกลุ่มในชุมชนไม่น้อยกว่า 7 คน ไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน และไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกัน

2.เป็นกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ กิจการอื่นที่ทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน

3.ดำเนินกิจการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรายได้ พึ่งพาตนเองและประโยชน์สุขของคนในชุมชน 

4.ดำเนินกิจการโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ศิลธรรมอันดีของประชาชน

เอกสารประกอบสำหรับการจดวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้

กรณีไม่เป็นนิติบุคคล

-แบบ สวช.01 (ฉบับจริง)

-บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทน

-ทะเบียนรายชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทน และสมาชิก

-หนังสือให้ความยินยอมฉบับจริง หรือสำเนามติที่ประชุมมอบหมายผู้มีอำนาจทำการแทน

-สำเนาข้อบังคับของเครือข่ายฯ (กรณี จดทะเบียนเครือข่ายฯ)

-สำเนา ท.ว.ช.2 ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ (กรณี จดทะเบียนเครือข่ายฯ)

กรณีเป็นนิติบุคคล

-แบบ สวช.01 (ฉบับจริง)

-บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทน

-ทะเบียนรายชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทน และสมาชิก

-สำเนาเอกสารแสดงวัตถุประสงค์ ระเบียบ หรือข้อบังคับ

-สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการ

-สำเนามติคณะกรรมการดำเนินการ หรือมติที่ประชุมใหญ่ให้จดทะเบียน และมอบหมายผู้มีอำนาจทำการแทน

 

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังการจดวิสาหกิจชุมชน

จากการจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน (ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548) เพื่อเกษตรกร ประชาชนชุมชนนั้น ๆ มีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ประกอบด้วย

  1. ได้การรับรองตามกฎหมาย
  2. ขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากคณะกรรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
  3. มีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมตามมาตรการที่กำหนด ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติครบถ้วน เตรียมเอกสารประกอบเรียบร้อย ให้ไปยื่นขอจดทะเบียนฯที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่วิสาหกิจชุมชนตั้งอยู่

** กรณีจดทะเบียนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต้องมีการรวมตัวกันของวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป **

เตาประหยัดพลังงาน

เพื่อให้ผู้ประกอบการแปรรูปกล้วย ได้ประหยัดเชื้อเพลิงและประหยัดเวลา มีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมาก สามารถใช้งานได้ในระยะยาว ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงดีต่อสิ่งแวดล้อม และเตาประหยัดพลังงานนี้ ยังทำให้เกิดความร้อนได้ถึง 40% และยังช่วยลดพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 25% 

จุดเด่นของเตาประหยัดพลังงานนี้ คือ เราสามารถออกแบบก่อสร้างตามลักษณะภาชนะเดิมที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นทรงกลมหรือทรงเหลี่ยม จะเป็นกระทะขนาดใหญ่ ก็สามารถออกแบบประยุกต์ให้เหมาะสมได้ สำหรับกิจกรรมให้ความร้อน เช่น ต้ม นึ่ง ทอด คั่ว ได้หมด เนื่องจากมีการออกแบบที่ถูกหลักการไหลของอากาศ การถ่ายเทความร้อน มีห้องเผา 2 ชั้น ทำให้ควันน้อย ใช้เชื้อเพลิง ความร้อนสูง มีการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง ไม่มีฝุ่นฟุ้งจากขี้เถ้าไม้ ไม่แสบตาจากควันไฟ ไม่โดนความร้อนจากการทำงานหน้าเตา เพราะฟืนและช่องอากาศถูกย้ายไปไว้ด้านหลังทั้งหมด

ลักษณะรูปแบบของเตา

 

Tags: ,

อื่นๆ

เมนู