ข้าพเจ้านางสาวปภาดา กุสะรัมย์ บัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเพิ่มเติม แบบฟอร์ม (01,02 และ 06) ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1-14 มีนาคม 2564 ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจแบบบูรณาการ
ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนที่ยังตกค้างอยู่ให้ได้ 100% ทั้ง 11 หมู่บ้าน ก่อนลงมือปฏิบัติงานได้มีการประชุมวางแผนเพื่อให้การสำรวจเป็นไปอย่างรวดเร็ว หมู่ที่ 1 บ้านตะโกตาพิ มีสถานที่สำคัญ คือ วัดประชาสมนึก โรงเรียนวัดบ้านตะโกตาพิ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโกตาพิ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโกตาพิ มีจำนวน 285 ครัวเรือน หมู่ 2 บ้านชุมแสง มีสถานที่สำคัญคือ สำนักสงฆ์บ้านชุมแสงสว่างวนาราม และโรงเรียนบ้านชุมแสง มีจำนวน 150 ครัวเรือน หมู่ 3 บ้านศรีสุข มีสถานที่สำคัญคือ สำนักสงฆ์ศรีสุขพัฒนา มีจำนวน 154 ครัวเรือน หมู่ 4 บ้านโคกเห็ด มีสถานที่สำคัญ คือ วัดป่าบ้านโคกเห็ด และโรงเรียนบ้านโคกเห็ด มี 87 ครัวเรือน ใหมู่ 5 บ้านบาตร มีสถานที่สำคัญ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาตร มีจำนวนครัวเรื่อน 162 ครัวเรือน หมู่ 6 บ้านชัยพัฒนา มีสถานที่สำคัญ วัดบ้านชัยพัฒนา มี 112 ครัวเรือน หมู่ 7 บ้านโคกกระชาย มีสถานที่สำคัญคือ โรงเรียนบ้านเกษตรสมบูรณ์ วัดป่าโคกกระชาย และศูนย์เรียนรู้ ศพก.เครือข่ายด้านประมง มีจำนวน 169 ครัวเรือน หมู่ 8 บ้านเกษตรสมบูรณ์ มีสถานที่สำคัญคือ วัดบ้านเกษตรสมบูรณ์ มี 131 ครัวเรือน หมู่ 9 บ้านหนองสะเดา มีสถานที่สำคัญคือ โรงน้ำดื่มประชารัฐ และค่ายมวยเกียรติหมู่ 9 มี 105 ครัวเรือน หมู่ 10 บ้านบาตร มีสถานที่สำคัญ คือ วัดบ้านบาตร มี 258 ครัวเรือน และหมู่ 11 บ้านหนองปรง มีสถานที่สำคัญ คือ สำนักสงฆ์บ้านหนองปรง มี 63 ครัวเรือน เมื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชาวบ้านตำบลตะโกตาพิ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นทำ การทำนาปี ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้แก่ ถนน ไฟฟ้า น้ำปะปา
1. ถนนส่วนใหญ่ล้อมรอบหมู่บ้านด้วยถนนคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนน้อยที่จะมีเส้นที่มีหินคลุกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ไฟฟ้าทุกหลังคาเรือนจะมีไฟฟ้าเข้าถึงและใช้งานได้ปกติ
3. น้ำประปามีประปาใช้เพียงพอส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาหมู่บ้านส่วนน้อยจะเจาะบาดาลส่วนตัว
จากที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาชุมชน ปัญหาส่วนมากในตำบลตะโกตาพิ คือขาดแคลนน้ำในการทำนา บางปีแล้งหนักทำให้เกษตรกรไม่มีน้ำเพียงพอ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำ แต่ต้นทุนในการทำนาสูงแสงสว่างบนท้องถนนบางสายไม่เพียงพอ กลิ่นเหม็นจากโรงงานยางพารา เป็นต้น
ภาพการปฏิบัติงานการลงพื้นที่