ดิฉัน นางสาวชลันดา พงศ์ไพบูลย์ศิริ นักศึกษา ได้ลงสำรวจบ้านบาตรหมู่5 และหมู่10 ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับครัวเรือนที่ยังตกค้างให้ได้ 100% ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 14 มีนาคม 2564 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

     ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านใน ตำบลตะโกตาพิ โดยมีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านตะโกตาพิ หมู่2 บ้านชุมแสง หมู่ 3 บ้านศรีสุข หมู่ 4 บ้านโคกเห็ด หมู่ 5 บ้านบาตร หมู่ 6 บ้านชัยพัฒนา หมู่ 7 บ้านโคกกระชาย หมู่ 8 บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ 9 บ้านหนองสะเดา หมู่ 10 บ้านบาตร และหมู่ 11 บ้านหนองปรง ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ดิฉันและทีมงานได้ทำการประชุมเรื่องการลงพื้นที่  โดยกระผมและทีมงานได้ตกลงร่วมกันว่าจะทำการลงสำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชนด้วยกัน โดยได้แบ่งสมาชิกในการออกสำรวจหมู่บ้านละ 2 คน ในส่วนของดิฉันได้รับผิดชอบสำรวจหมู่ 5 และ หมู่10 บ้านบาตร ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำการติดต่อประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อขออนุญาตลงสำรวจพื้นที่ในหมู่บ้าน โดยดิฉันได้ขอความกรุณาชาวบ้านผู้ให้สัมภาษณ์ตอบข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาชุมชนในอนาคต 

     จากการลงพื้นที่สำรวจในช่วงเดือน มีนาคม 2564 นั้น ดิฉันได้รับผิดชอบหลักบ้านบาตร หมู่5 และ หมู่10 ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์โดยใช้แบบสอบถาม (แบบฟอร์ม 01) ซึ่งสำรวจข้อมูลระดับบุคคล และครัวเรือนชุมชน ของโครงการฯ และแบบสอบถาม (แบบฟอร์ม 02) สำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโรคโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) โดยบ้านบาตร แบ่งพื้นที่ออกเป็น หมู่ที่10 และหมู่ที่5 บ้านบาตรมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น หมู่ 5 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 143 ครัวเรือน และหมู่10 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 252 ครัวเรือน จำนวนประชากรมีทั้งหมด 1,854 คน โดยแบ่งจำนวนประชากรในหมู่ที่ 5 มีเพศชาย จำนวน 339 คน และเพศหญิง จำนวน 335 คน รวมจำนวนทั้งหมด 674 คน และจำนวนประชากรในหมู่ที่ 10 มีเพศชาย จำนวน 554 คน และเพศหญิง จำนวน 626 คน รวมจำนวนทั้งหมด 1,180 คน ภายในชุมชนมีสถานที่สำคัญได้แก่ โรงเรียน วัด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน นอกจากนี้ยังมีกองทุนหมู่บ้าน ที่เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า เป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนในหมู่บ้านสร้างเเหล่งเงินของตัวเอง จากการคิดเอง ตัดสินใจเอง และทำเอง เพื่อพึ่งพาตนเองในอนาคต

     จากการได้สอบถามข้อมูลบุคคลในชุมชนบ้านบาตรทั้ง2หมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วบางบ้านจะไม่มีอาชีพเสริม อาชีพรองลงมาคือรับจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้มีอาชีพรับจ้างจะไม่มีที่ดินเป็นของตนเองและรับจ้างทำงานทั่วไปในหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนน้อยที่ส่วนทอเสื่อเป็นอาชีพเสริม แต่จะมีชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นที่จะมีงานรับจ้างเป็นบางครั้งบางคราว ภาวะด้านรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงจำนวนเงินต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน รองลงมาอยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท ภาวะด้านรายจ่ายของครัวเรือน ค่าซื้ออาหารเพื่อบริโภคอยู่ในช่วง 2,000 บาทและ 3,000-6,000 บาทต่อเดือน ค่าน้ำค่าไฟฟ้าอยู่ในช่วง 400-1,000 บาทต่อเดือน ครัวเรือนส่วนมากมีหนี้สินจากการทำการเกษตร โดยกู้เงินจาก ธกส. และกองทุนเงินล้านเพื่อทำอาชีพ โดยส่วนใหญ่ครัวเรือนไม่มีการออมเงิน และไม่มีการทำบัญชีครัวเรือน

     ในด้านสภาพปัญหาของชุมชนในภาพรวม มีกลิ่นเหม็นจากโรงงานยางพาราที่เป็นมลพิษทางอากาศ ขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรกรรมในหน้าแล้ง สภาพของดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีป่าไม้ของชุมชน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งทำรายได้ให้กับชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ว่างงาน และหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านไม่มีอาชีพเสริม ไม่แหล่งทำมาหากินในชุมชน และยังขาดความรู้ที่ทันสมัยและเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน บ้างครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์ ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาใช้จ่ายในครอบครัว 

อื่นๆ

เมนู