ข้าพเจ้านางสาวปภาดา กุสะรัมย์ บัณฑิตจบใหม่ ต.ตะโกตาพิ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า​และทีมงานได้ลงพื้น​ที่​รณรงค์​วัคซีนป้องกันโควิด-19ในระหว่างวันที่ 20-30 พฤษภาคม 2564 จากผลการสำรวจพบว่าประชาชนในตำบลตะโกตาพิิ มีผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่ถึง ร้อยละ70 ดิฉันและทีมงานจึงได้ประสานงานกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโกตาพิ เพื่อที่จะเข้าไปรณรงค์และเชิญชวนประชาชนในตำบลตะโกตาพิฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการป้องกันโควิด-19 เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เครื่องวัดอุณหภูมิ เป็นต้น และจากที่ได้สอบถามประชาชนในตำบลตะโกตาพิสาเหตุที่ไม่ประสงค์ที่จะฉีดวัคซีนพบว่ามีประเด็นเรื่องความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีน โควิด-19 ในภาพรวมประชาชนในตำบลตะโกตาพิมีความกังวลใจเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังวันที่ 23 เมษายน 2564 ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 2,000 ราย ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลถึงร้อยละ 97.8 และความรู้สึกอยากฉีดวัคซีนได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดตามสถานการณ์ซึ่งพบแนวโน้มที่ต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงตลกชื่อดังและมีจำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 20 ราย ยิ่งเป็นความกังวลใจทำให้อยากฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

สำหรับการเตรียมตัวไปฉีดวัคซีนนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มี 7 ข้อแนะนำดังนี้
1) สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2) วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3) ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก
4) หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที
5) ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ดซ้ำได้ถ้าจำเป็นแต่ให้ห่าง6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด
6) การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือนและ
7) ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที

โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล
อาการทั่วไปของโควิด-19 มีดังนี้
-มีไข้
-ไอแห้ง
-อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนัก มีดังนี้
-ปวดเมื่อยเนื้อตัว
-เจ็บคอ
-ท้องเสีย
-ตาแดง
-ปวดศีรษะ
-สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
-มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
วิธีป้องกันโควิด-19
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

-สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่ได้ถึง 80%
– อยู่ห่างจากผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการไอ จาม อย่างน้อย 2 เมตร
-ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับหรือใช้ของสาธารณะ หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร

ขณะนี้ แม้ว่าประชาชนในตำบลตะโกตาพิจะมีความต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญ คือ การป้องกันตัวเองตามมาตรการ แต่จากที่ได้ลงสำรวจพื้นที่ ประชาชนในตำบลตะโกตาพิส่วนใหญ่มีการสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อไปในที่สาธารณะ ตรวจวัดไข้ก่อนเข้าออกในสถานที่ต่างๆ และล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ สำหรับพฤติกรรมสุขภาพที่ประชาชนในตำบลตะโกตาพิยังไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามมาตรการ คือ การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม นอกจากนี้ยังสำรวจการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เเต่ละหมู่บ้านด้วยโดยมีการเฝ้าเวรยาม จะผลัดเปลี่ยน อสม. ในหมู่บ้านเข้าเวรของทางเข้าหมู่บ้านเพื่อคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาดมายังหมู่บ้าน เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น

ภาพการปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู