ชื่อบทความ: การออกแบบลายทอเสื่อกกพื้นที่ หมู่ที่ 4,6สร้างอัตลักษณ์สู่ชุมชนบ้านแสลงโทนให้ยั่งยืน 
พื้นที่: ตำบลแสลงโทน  อำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาวธัญธารีย์   ธรรมวัฒน์กิตติ


การออกแบบลายเสื่อกก  หมู่ที่ 4,6  ชุมชนบ้านแสลงโทน
               ในชุมชนบ้านแสลงโทนมีกลุ่มชาวบ้านที่ทอเสื่อกกเป็นอาชีพเสริม   ชาวบ้านปลูกต้นกกเองและเก็บตามธรรมชาติบางส่วน
จากการลงพื้นที่พบว่ากลุ่มทอเสื่อกกได้เรียนรู้วิธีการทอสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ   มีความชอบและมีการเรียนรู้เพิ่มเติมแลกเปลี่ยนความรู้ของคนในชุมชนมีกลุ่มที่ทอส่วนมากเป็นแม่บ้านพอเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวก็จะพากันทอเสื่อกกสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
ดังนั้นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จึงได้จัดกิจกรรมการออกแบบลายเสื่อกกเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในชุมชน   ได้จัดกิจกรรมช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  โดยผู้เขียนภาคประชาชนลงพื้นที่ดูแล กลุ่มชาวบ้าน หมู่ที่  4,6 ให้ออกแบบลวดลายตามความชอบของแต่ละคน  ทุกคนได้ออกแบบลวดลายออกมาแล้ว ส่งมอบให้บัณฑิตนำมาออกแบบลวดลายต่อ  เพื่อให้เกิดลายที่ชัดเจนมากขึ้น แล้วนำมาทอเป็นเสื่อกกขั้นตอนต่อไป
               หลักในการออกแบบอาจารย์ที่ปรึกษาได้บอกแนวทาง ในการออกแบบ หลายอย่างเช่น ในชุมชนแสลงโทนมีอะไรที่โดดเด่นบ่งบอกถึงแสลงโทน   ยกตัวอย่างมีศาลตาปู่   ต้นแสลง   คูน้ำโบราณ   กำแพงดิน   สิ่งเหล่านี้ให้นำมาใช้ในการออกแบบ  ทุกคนมีความตั้งใจในการออกแบบมากและได้นำเสื่อกกที่ตนเองเคยทอมาดูแบบ   ชาวบ้านได้ออกแบบขึ้นมาจากจิตนาการที่ตนเองชอบผลงานที่ออกมาก็จะได้รูปแบบใหม่ๆเพื่อเป็นลายอัตลักษณ์ให้อยู่คู่กับชุมชนบ้านแสลงโทนให้ยั่งยืนสู่คนรุ่นใหม่ ที่จะได้สืบทอดต่อไปชั่วลูกชั่วหลานตราบนานเท่านาน


ภาพกิจกรรมชาวบ้านออกแบบลวดลายใหม่ๆของการทอเสื่อกก หมู่ที่ 4,6 ชุมชนบ้านแสลงโทน       

 


ภาพผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านเคยทอ


 ภาพกิจกรรมที่ทีมบัณฑิตนำลวดลายของชาวบ้านไปออกแบบต่อยอดเพิ่มเติมจะได้ลวดลายใหม่ๆ

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู