ชื่อบทความ:ชุมชนตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่:ตำบลแสลง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาว ชลธิชา แผนสมบูรณ์


ข้อมูลบริบทชุมชนตำบล:

         เทศบาลตำบลแสลงโทน เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอประโคนชัย เดิมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสภาตำบลเรียกว่า “สภาตำบลแสลงโทน” จัดตั้งครั้งแรกเมื่อ 29 กันยายน 2513 ต่อมาได้เลื่อนฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา

ประวัติเริ่มแรก

บ้านแสลงโทน เป็นเมืองที่มีการอาศัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือราวประมาณ 2,000 – 1,500 ปี และมีการทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จึงมีชุมชนในละแวกใกล้เคียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยซ้อนทับชุมชนเมืองโบราณเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 เริ่มมีการศึกษาจากกรมศิลปากร จากภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณแสลงโทนมีรูปวงกลมรี มีกำแพงดินและคูเมืองกั้นล้อมรอบเป็นกำแพงเมือง 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว และยังพบหลักฐานต่างๆทางโบราณคดี เช่น ใบเสมาในเขตเมืองโบราณแสลงโทน ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มคือ ภายในกำแพงเมือง 2 กลุ่ม ที่บริเวณศาลเจ้าพ่อแสลงโทน และโคกพระนอนหน้าโรงพักตำรวจ ส่วนอีกกลุ่มอยู่นอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ลักษณะใบเสมาทั้ง 3 กลุ่มเป็นหินทรายสีขาวและแดงแบบรูปทรงธรรมชาติ ปักกระจายทั่วบริเวณหนึ่ง โดยไม่กำหนดทิศทางมีทั้งที่ปักคู่และปักเดี่ยว และยังพบหินศิลาแลง หินทรายสีชมพูในบริเวณศาลเจ้าพ่อแสลงโทนและโคกพระนอนหน้าโรงพักตำรวจ และพระพุทธรูป เทวรูปเก่า ไหบรรจุโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และเศษภาชนะดินเผา เป็นต้น

จากหลักฐานร่องรอยที่ปรากฏ เมื่อเทียบเคียงเอกสารทางวิชาการและเมืองต่างในแถบประเทศไทยที่รับธิพลวัฒนธรรมทวารวดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบ้านแสลงโทน เป็นเมืองโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือ ประมาณ 2,000 – 1,500 ปี มาแล้ว และถูกทิ้งร้างไป (อ้างอิงจากกรมศิลปากร. 2532. “แผนที่ทางโบราณคดีจังหวัดบุรีรัมย์”. มปท. หน้า 97) และ (วารสารบทความทางวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร) 

ส่วนที่มาของชื่อ “แสลงโทน” ไม่ปรากฏหลักฐานทราบแน่ชัด น่าจะเป็นการเรียกชื่อภายหลังจากเริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานทับซ้อนเมืองโบราณเดิม โดยลักษณะชื่อ “แสลงโทน” นั้น จึงสันนิษฐานและศึกษาเปรียบเทียบกับชุมชนโดยรอบบริเวณนี้ ปรากฏว่ามาจากการตั้งชื่อตามต้นไม้ชนิดต่างๆ ที่ชุมชนบริเวณนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ซึ่งคำว่า “แสลงโทน” ก็น่าจะมาจากคำว่า “แสลง” คือต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ต้นแสลง ที่มีมากในบริเวณพื้นที่ของสมัยนั้น และคำว่า “โทน” อาจะเป็นคำเติมในภายหลัง

ประวัติปัจจุบัน

เดิมตำบลแสลงโทน เมื่อปี พ.ศ. 2443 ขึ้นกับตำบลบ้านไทร ต่อมาเมื่อ 29 กันยายน 2513 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองใหม่ จึงแยกพื้นที่บ้านแสลงโทน บ้านสี่เหลี่ยม(ปัจจุบันพื้นที่ ต.สี่เหลี่ยม อ.ประโคนชัย) และบ้านสำโรง(ปัจจุบันพื้นที่ ต.สำโรง อ.พลับพลาชัย) จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นตำบลแสลงโทน และต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอแสลงโทนขึ้น จึงแยกบ้านสี่เหลี่ยม และบ้านสำโรง จัดตั้งขึ้นเป็นตำบล เพื่อรองรับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ แต่ก็ถูกล้มเลิกไป เนื่องจากมีประชาชนบางตำบลคัดค้าน และเป็นผลทำให้เกิดการจัดตั้งอำเภอพลับพลาชัยขึ้นแทนในปัจจุบัน ตำบลแสลงโทน จึงมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอประโคนชัยตั้งแต่นั้นมา

ประวัติพื้นที่อณาเขต:

ลักษณะภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะพื้นที่เป็นเป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยลาดเอียงจากทิศเหนือลงไปทิศใต้ สภาพทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย โดยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 180 เมตร และพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประโคนชัย ไปทางทิศเหนือประมาณ 19 กิโลเมตร และห่างตัวจังหวัดบุรีรัมย์ไปทางทิศใต้ ตามทางหลวง หมายเลข 2445 ประมาณ 25 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 36.45 ตารางกิโลเมตร

ที่ตั้งภูมิประเทศ

เขตการปกครอง: พื้นที่รับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้าน ดังนี้

ทิศเหนือ จดเขตตำบลเสม็ด และตำบลเมืองฝาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์

ทิศใต้ จดเขตตำบลบ้านไทร อำเภอประโคนชัย

ทิศตะวันออก จดเขตตำบลสำโรงอำเภอพลับพลาชัย

ทิศตะวันตก จดเขตตำบลสี่เหลี่ยมอำเภอประโคนชัย

ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านแสลงโทน

หมู่ที่ 2 บ้านแสลงโทน

หมู่ที่ 3 บ้านแสลงโทน

หมู่ที่ 4 บ้านแสลงโทน

หมู่ที่ 5 บ้านหนองบอน

หมู่ที่ 6 บ้านแสลงโทน

หมู่ที่ 7 บ้านแสลงโทน

ประชากร 

           เทศบาลตำบลแสลงโทน มีประชากรตามสำเนาทะเบียนบ้านทั้งสิ้น 6,224 คน แยกเป็นชาย 3,158คน หญิง 3,066 คน จำนวน 1,810หลังคาเรือน แยกเป็นแต่ละหมู่บ้านดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านแสลงโทน ชาย 683 คน หญิง 649 คน รวมทั้งสิ้น 1,332 คน จำนวน 380 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 2 บ้านแสลงโทน ชาย 448 คน หญิง 444 คน รวมทั้งสิ้น 892 คน จำนวน 277 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 3 บ้านแสลงโทน ชาย 527 คน หญิง 529 คน รวมทั้งสิ้น 1,056 คน จำนวน 334 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 4 บ้านแสลงโทน ชาย 275 คน หญิง 258 คน รวมทั้งสิ้น 533 คน จำนวน 150 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 5 บ้านหนองบอน ชาย 533 คน หญิง 495 คน รวมทั้งสิ้น 1,028 คน จำนวน 245 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 6 บ้านแสลงโทน ชาย 409 คน หญิง 392คน รวมทั้งสิ้น 801 คน จำนวน 244 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 7 บ้านแสลงโทน ชาย 283 คน หญิง 299 คน รวมทั้งสิ้น 582 คน จำนวน 180 หลังคาเรือน

ลักษณะบ้านเรือน:บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านที่สร้างจากไม้

ด้านอาชีพ

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาข้าว แต่โดยศักยภาพด้านพื้นที่ที่อยู่ชานเมืองติดต่อกับเขตตัวเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดทำให้การขยายตัวด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ด้านเกษตร ปัจจุบันราษฎรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว

ด้านพาณิชย์ มีการประกอบกิจการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการจำนวนมาก อาทิเช่น ร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน

มีห้างสรรพสินค้า จำนวน 2 แห่ง

ห้างทวีกิจแสลงโทนสาขาที่1 ตั้งอยู่ที่ ริมถนนสาย 2445 หมู่ที่3 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย

ห้างทวีกิจแสลงโทนสาขาที่2 ตั้งอยู่ที่ ริมถนนสาย 2445 หมู่ที่7 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย

ภาษาที่ใช้

ประชาชนส่วนใหญ่เกือบ100เปอร์เซนต์เป็นชาวเขมรถิ่นไทย และใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ประเพณี

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีแห่ตาปู่แสลงโทนและประเพณีสงกานต์โบราณแสลงโทน

เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาเป็น 100 ปี ซึ่งพิธีบูชาศาลเจ้าพ่อแสลงโทน หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าตาปู่ หรือ กระท่อมเนี๊ยะตา จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือน เม.ย. – พ.ค. ของทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ ให้แก่ชาวบ้านรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับการเกษตรในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละปี เพื่อบันดาลให้ฝนตกมา น้ำท่าอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญเจ้าพ่อแสลงโทนหรือตาปู่ แห่รอบตัวหมู่บ้าน 3 วัน พร้อมทั้งมีการละเล่นที่สนุกสนานผนวกรวมกันกับประเพณีสงกรานต์โบราณ

อ้างอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิ่งที่น่าสนใจ/การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล:

ได้ลงพื้นที่หมู่บ้านแสลงโทนกับทีมงานในกลุ่มประชาชน ได้ลงปฏิบัติงาน ตำบลแสลงโทน ม.1 และ ม.4 ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02  เมื่อวันที่ 8 – 11 กุมภาพันธ์ 2564 ก่อนจะลงพื้นที่ในกลุ่มทีมงานเราจะไปขออนุญาติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 และ ม.4   สิ่งที่สังเกตุเห็นบุคคลส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และได้สอบถามข้อมูลกับ นาง เคย แผ้วพลสง อายุ 73 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 132 ม.1 ทำอาชีพทอเสื่อ  เป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำนา และนางยี่สุนเทศ  เกาประโคน อายุ  48 อาศัยบ้านเลขที่ 277 ม.4  ทำผลิตภัณฑ์พวงหรีดเพื่อจำหน่ายในชุมชนและบุคคลทั่วไปที่พบเห็น มีวัดที่สวยงามเช่นวัดบ้านแสลงโทน เป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน มีสระน้ำรอบๆหมู่บ้าน  มีกำแพงดิน    ถนนการคมนาคมไม่สะดวกขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ส่วนในแบบสอบถาม 02 เรื่องโควิด-19 ชาวบ้านมีความรู้ดีส่วนใหญ่ แต่จะมีบางกลุ่มที่ไม่รู้เรื่อง ถามตอบ ไม่สามารถอธิบายได้

ภาพจากการลงพื้นที่:        

 


อื่นๆ

เมนู