ชื่อบทความ : การลงพื้นที่เก็บข้อมูล หมู่ 2 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อหมู่บ้าน : 
ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ  :
นางสาวลักขณา ใจมาลา  ประเภท : นักศึกษา


ดิฉันนางสาวลักขณา ใจมาลา ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลของ หมู่ 2 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่


กิจกรรมและแผนดำเนินงานของโครงการ :

ในวันที่ 8 อาจารย์ได้นัดแนะชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงาน การลงพื้นที่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ในวันที่ 11 อาจารย์ได้นัดแนะให้ไปรับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ และบอกรายละเอียดเพิ่มเติมในการกรอกข้อมูล
ในช่วงวันที่ 12-14 ได้ลงพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมายโดยอย่างแรกได้ประสานงานไปทางผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ประชาสัมพันธ์ข่าวการลงพื้นที่ของนักศึกษาให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับทราบก่อนที่จะลงพื้นที่จริง
ในวันที่ 19 ได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลตามปกติ


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้งหมู่บ้าน :

ผลจากการสำรวจจากช่วงที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ทำนา ส่วนอาชีพรองลงมาก็จะเป็นการค้าขาย
และจากที่ได้สอบถามปัญหาที่ทางหมู่บ้านอยากให้เข้าช่วยแก้ไขก็จะเป็น การติดไฟตามถนนรอบหมู่บ้าน แล้วก็การทำรางระบายน้ำ


ผลการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 :

สำหรับที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน โรงเรียน ก็มีการป้องกัน สังเกตอาการ ของมาตรการการป้องกันโควิดเป็นอย่างดี โดยมีการใส่หน้ากากอนามัย การตรวจวัดอุณหภูมิทุกครั้งหลังจากเข้าออกตามสถานที่ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น


ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา :

มีปัญหาในการลงพื้นที่โดยที่ไม่รู้เส้นทาง เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยพื้นที่ วิธีการแก้ปัญหาก็จะเป็นการเดินสำรวจพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จะแบ่งพื้นที่ในการทำงานให้แต่ละคนได้รับผิดชอบ
มีปัญหาในการขอสำรวจข้อมูล เนื่องจากชาวบ้านบางกลุ่มคิดว่าหากให้ข้อมูลมาแล้วจะเอาข้อมูลไปทำอะไรที่ไม่ดีหรือผิดกฎหมายจึงไม่ค่อยอยากจะให้ความร่วมมือถึงจะมีผู้ใหญ่บ้านประกาศบอกก่อนล่วงหน้าแล้วก็ตาม ชาวบ้านบางกลุ่มก็ไม่ได้สนใจที่จะฟังเท่าไหร่ วิธีแก้ปัญหาก็จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่เราจะเอาไปทำอะไรเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจและยอมให้ความร่วมมือ


สิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่ :

1. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
2. ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม
3. ได้ทราบปัญหาของชุมชน


 

แผนการในการดำเนินงานต่อไป :

จะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลให้ครบทุกครัวเรือน และนำมาวิเคราะห์ สรุปผล


ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่ :

 

ที่มา : http://u2t.bru.ac.th/agricultural


 

อื่นๆ

เมนู