ชื่อบทความ : ศิลปะผ้าย้อมพิมพ์ลายจากเทคนิคการนึ่ง
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวจุลีพร อัมรารัมย์
Leaf Print หรือ Botanical Print คือการใช้สีธรรมชาติในการออกแบบลวดลายปลอดภัยจากสารเคมีและยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยกรรมวิธีกว่าจะได้ผ้าสีสันสวยๆจะต้องผ่านวิธีการนึ่งและใช้ระยะเวลากว่า 2-3วันถึงจะสำเร็จออกมาเป็นผ้าที่มีลวดลายสวยและปลอดภัย
เริ่มต้นจากการทำความสะอาดผ้าให้สะอาดหมดจดพร้อมกับการเตรียมผ้า (mordant) ผ้าที่จะใช้ต้องนำมาซักให้สะอาดก่อน แล้วนำมาต้มในน้ำสารส้มพอเดือดรุมๆ 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำสารส้มที่ร้อนพอเดือดแล้วยกลงก็ได้ ทิ้งให้เย็นแล้วนำมาพิมพ์สีธรรมชาติเพื่อให้สีธรรมชาติปรากฏบนผ้าอย่างคงทนมากขึ้น ก่อนจะเข้าสู่การออกแบบลายผ้าโดยการวางใบไม้หรือดอกไม้เพื่อพิมพ์ลาย ส่วนใหญ่เป็นพืชและสมุนไพรที่นำมาย้อมสีธรรมชาติได้ เช่น ยูคาลิปตัส สะเดา ใบสักทอง เป็นต้น แช่ใบไม้ในน้ำสนิมเหล็กเจือจาง 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่อใบไม้ เหมือนเป็นการดูดสีหรือให้ใบไม้ดอกไม้คายสีออกมาให้มากที่สุด
ขั้นตอนต่อไปคือการม้วนผ้า เพื่อให้ผ้ากับใบไม้แนบติดกัน จึงจะนำไปต้มหรือนึ่งตามกรรมวิธี โดยใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมง เวลาอาจคาดเคลื่อนได้ตามพรรณไม้ที่ใช้ ต่อมาคือการทิ้งผ้าให้เซ็ตตัวไว้ข้ามคืน ก่อนจะนำผ้ามาคลี่และซักออกในวันต่อมา จึงเป็นอันเสร็จพิธี
ใบไม้แต่ละประเภทต้องการระยะเวลาคายสี จึงทำให้อุณหภูมิที่ใช้ในการนึ่งไม่เหมือนกัน หากใช้เวลามากเกินไปจะส่งผลให้เม็ดสีในใบไม้เปลี่ยนเป็นโทนที่ไม่ตรงกับความต้องการ หรือเกิดขอบน้ำมันจากใบ้ไม้ทิ้งลายเลอะบนผ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก เพราะเสน่ห์ของ Eco-printing คือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลายผ้าที่ได้และลวดลายที่ไม่อาจคาดเดา
อุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ลาย
-น้ำสนิม ใช้เหล็กที่เป็นสนิม -ผ้าฝ้าย
-แผ่นพลาสติก -เชือกสำหรับมัด
-ใบไม้และดอกไม้สด
ภาพประกอบกิจกรรม
วีดีโอประจำตำบล