ชื่อบทความ : ศูนย์เรียนรู้ารเกษตรชุมชนตำบลแสลงโทน

ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวภัสรา อาษาภักดิ์

ศูนย์การเกษตรชุมชนบ้านแสลงโทน

ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังบุรีรัมย์

           บ้านแสลงโทน เป็นชุมชนที่มีการอาศัยอยู่ใน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ลักษะณะทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นดินร่วนปนทราย โดยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 150–180 เมตร และพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาข้าว แต่โดยศักยภาพด้านพื้นที่ที่อยู่ชานเมืองติดต่อกับเขตตัวเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดทำให้การขยายตัวด้านอุตสาหกรรมพาณิชย์กรรมและการบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว

          อาชีพทำนา ถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในชุมชนแสลงโทน ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีแหล่านั้นมาปรับใช้กับการทำนาและเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติที่ต่างจากเดิม เช่น การใช้เครื่องจักในการปักดำต้นข้าว การลดปริมาณข้าวในการหว่าน การใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช เป็นต้น

 

ต่อมาจึงได้มีการจัดทำกลุ่มอาชีพในชุมชนแสลงโทนขึ้น คือโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ระบบส่งเสริมการเกษตรที่ยึดพื้นที่เป็นหลักดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีประธานคือ นายกลม เพรชประโคนประธานที่ปรึกษา อาจารย์เกริยติ เข็มบุผา และที่ปรึกษาพัฒนาชุมชนตำบลแสลงโทน นาย สมศักดิ์ วัฒนานนท์พื้นที่ดำเนินงานจำนวณ 570 ไร่ เกษตร 34 ราย การเกษตรของตำบลแสลงโทนมีฐานเรียนรู้ที่หลากหลายอยู่หมู่ที่ 1 ณ หมู่ บ้านแสลงโทน ด้านการเกษตร ทั้งพืชและสัตว์น้ำสัตว์บก เป็นการเกรษยุคใหม่ที่ไม่ใช้สารเคมีเลยแม้แต่ทำนาปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ โดยใช้ปัจจัยในการผลิตที่เราเห็นในพื้นที่ชุมชนว่ามีอะไรบ้าง สังคมยุคใหม่จะต้องการอาหารที่ปลอดภัยส่งเสริมเกษตรปลอดภัยพื้นฐานชีวิตที่ปลอดภัย การส่งเสริมเกษตรกรให้รวมกลุ่มกันเพื่อผลิตโดยภาครัฐจะเข้ามาส่งเสริมการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว และกิจกรรมการเกษตรอื่นๆ พัฒนาให้เป็นจุดเรียนรู้ การบริหารจัดการ เชิงอุตสาหกรรมครบวงจร ด้วยการถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตข้าวที่ประณีตและเหมาะสมกับพื้นที่สู่เกษตรกรในชุมชนแสลงโทน

  1. ข้าวอินทรีย์ คือ เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เทคนิคที่ใช้ในการผลิตข้าว คือ ใช้วิธีปักดำ,ใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคข้าว,ตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต,ตัดข้าวปน
  2. การเพราะกล้าไม้ คือ มีการเพาะชำกล้าอ่อนโดยทำในเรือนเพาะชำและภายนอกเรือนเพาะชำเพื่อชำมะเมล็ดให้เป็นกล้าอ่อนพอถึงเวลาที่เหมาะก็นำต้นไม้ที่เราเพาะชำมาปลูก เช่น ต้นพริก ต้นมะเขือ ต้นน้อยหน่า ต้นมะม่วง และพืชผักกินได้ต่างๆ เป็นต้น
  3. การเลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำ การนำสัตว์บกมาเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร แรงงาน และเพื่อสวร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์บกที่นำมาเลี้ยงมีทั้งสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก สัตว์ปีก และสัตว์อื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น เพาะพันธุ์กบ เพาะพันธ์ปลา การเลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เป็นต้น
  4. ดินและปุ๋ย เป็นสิ่งสำคัญทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เนื่องจากในดินมีธาตุอาหารมีน้ำและอากาศให้รากพืชได้หายใจ  รากพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้น รากพืชต้องมีอากาศหายใจ ดังนั้นการไถพรวนดินในการปลูกพืชก็เพื่อช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

          นอกจากการทำข้าวนาแปลงใหญ่ที่บ้านแสลงโทนแล้ว ยังได้มีการทำสวนเกษตร ที่บ้านหนองบอนหมู่ที่ 5 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อสวนแสงงามฟาร์ม (หนองบอน) เป็นสวนของอาจารย์เกียรติ เข็มบุผา เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรมากมายหลายชนิด มีการปลูกแบบเกษตรผสมผสาน ที่มีการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ มีสัตว์หลายชนิดในพื้นที่ เช่นการเลี้ยงกบของอาจารย์ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากเพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องวิธีการเพราะเลี้ยงการประกอบอาชีพ  โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อม และเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

            ทั้งนี้ เมื่อเกิดผลผลิตจากกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลาย จึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันผลผลิตให้เพื่อนบ้าน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสามารถขยายเครือข่ายการทำการเกษตรดังกล่าวให้แพร่หลายไปสู่ระดับชุมชนได้ต่อ

 

 

 

Tags:

อื่นๆ

เมนู