ชื่อบทความ : การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ชุมชนแสลงโทน

ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวภัสรา อาษาภักดิ์

 

ความเป็นมา

             เสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งแรกเริ่มสมัยบรรพบุรุษจะเป็นการทอเสื่อกกไว้ใช้เองในครัวเรือน โดยใช้กกเหลี่ยมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในท้องทุ่ง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ นำกกมาตัด ตากให้แห้ง แล้วทอเป็นผืนเสื่อแบบหยาบๆ ไว้ใช้กันเองในครัวเรือนหรือแจกจ่ายในหมู่ญาติ ต่อมามีการพัฒนาเป็นใช้พันธุ์กกกลมเป็นวัสดุในการทอ ที่ปลูกในท้องนาหรือพื้นที่ที่มีความชื้น เช่น บริเวณริมแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะกกกลมจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่า คือมีความเหนียวและผิวละเอียดมากกว่ากกสามเหลี่ยม กกกลมเกิดและเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึง หลังน้ำลด พอกกเจริญเติบโตได้เต็มที่ก็ทำการตัด นำมาตัดแล้วตากให้แห้ง เก็บไว้ทอเสื่อต่อไปกกกลมพันธุ์ที่ปลูกโดยไม่ต้องอาศัยความชื้นมากนัก บางคนเรียกกกชนิดนี้ว่ากกราชินีปลูกได้โดยทั่วไป เช่น บริเวณสวนภายในหมู่บ้าน ปลูกรอบๆบริเวณบ้าน ร่องน้า

              การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนบทแสลงโทนที่ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาถักทอ บางส่วนทอเก็บไว้เพื่อทำบุญช่วงเทศกาลตามประเพณี โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือใช้ต้นกก คิดค้นลวดลายให้แปลกใหม่ เช่น ลายดอกลายน้อย ลายสมอคู่ และลายแพรวา ถักทอจนเป็นผืนสวยงาม พัฒนาต่อยอดโดยการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ จึงมีการรวบรวมผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายที่ต่างๆ  จึงนำเสื่อกกมาดักแปลงเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ  เช่น กระเป๋า หมอน ที่ใส่ซองจดหมาย ที่รองแก้วรองจาน กล่องใส่กระดาษเช็ดชู่

 

 

 

                                                                       

           จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น ประณีต สวยงาม มีหลากหลายชนิด ผลิตจากเส้นใยที่มีคุณภาพเหนียวแน่นทนนาน ผิวมันละเอียด ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และสามารถปลูกเองในพื้นที่

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
  2. เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี)

  1. เส้นกก
  2. เชือกไนล่อน (เอ็น)
  3. ผ้าที่นำมาตกแต่ง
  4. เส้นใยสงเคราะห์ (หมอน)
  5. สีย้อม

อุปกรณ์

  1. ฟืม-ไม้สอด
  2. กี่
  3. เตา ปี๊บ
  4. จักเย็บ
  5. ไม้พาย กาละมัง

กระบวนการ/ขั้นตอน

  1. การเตรียมเส้นกก ตัดกกนำมากรีดตากแดดให้แห้ง  นำมาย้อมสีตามที่ต้องการ
  2. การทอ นำเส้นกกมาทอ ตามสีสรร ลวดลายให้สวยงาม
  3. การแปรรูป เช่น เสื่อพับ  หมอน  กระเป๋า (เสื่อพับ นำมาตัดเป็นพับ แล้วใช้จักรอุตสาหกรรมเย็บ กุ้นริมด้วยผ้าให้สวยงาม) หมอน  ตัดเสื่อกกให้ได้ขนาดตามที่ต้องการเป็นรูปหมอน  ยัดด้วยเส้นใยสงเคราะห์ เย็บริมด้วยผ้าให้สวยงาม

           ชาวบ้านบ้านแสลงโทนมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย คือช่วยเหลือตนเอง พึ่งพาอาศัยกัน และจะมีการทำสิ่งของไว้ใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าไหม ผ้าพื้นเมือง หรือการทอเสื่อ ชาวบ้านแสลงโทนได้มีการปลูกต้นกกไว้ในบริเวณที่ว่างของบ้าน และนำกกที่ปลูกไว้ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทอเสื่อกก จำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยมีลวดลายในการทอเสื่อกกทั้งแบบโบราณและแบบประยุกต์

รูปภาพประกอบ

 

อ้างอิงจาก

http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km1_viewlist.php753238

วิดีโอประกอบ

Tags:

อื่นๆ

เมนู